ค่าพีเอชของดิน (pH) เป็นตัวชี้วัดระดับความเป็นกรด-ด่างที่ส่งผลโดยตรงต่อการเจริญเติบโตของพืชและการละลายแร่ธาตุในดิน โดยช่วงค่าพีเอชที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการปลูกพืชส่วนใหญ่คือ 5.8-6.3 ซึ่งถือว่าเป็นดินที่มีความเป็นกรดอ่อน ๆ
ทำไมค่าพีเอช 5.8-6.3 จึงเหมาะสมที่สุด?
การละลายแร่ธาตุและธาตุอาหารในช่วงค่าพีเอชนี้ แร่ธาตุและสารอาหารสำคัญ เช่น ไนโตรเจน (N), ฟอสฟอรัส (P), โพแทสเซียม (K), แคลเซียม (Ca) และแมกนีเซียม (Mg) จะละลายออกมาในรูปที่พืชสามารถดูดซึมได้ดีที่สุด หากค่าพีเอชต่ำเกินไป (กรดจัด) หรือสูงเกินไป (ด่างจัด) การละลายของแร่ธาตุเหล่านี้อาจลดลง ทำให้พืชขาดสารอาหารที่จำเป็น
การเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ในดิน ค่าพีเอชที่ 5.8-6.3 ส่งเสริมการทำงานของจุลินทรีย์ในดิน โดยเฉพาะจุลินทรีย์ที่ช่วยในการย่อยสลายอินทรียวัตถุและปลดปล่อยธาตุอาหารกลับสู่ดิน เช่น ไนโตรเจนในรูปของไนเตรต ซึ่งเป็นสารอาหารสำคัญสำหรับพืช
ลดความเป็นพิษจากโลหะหนักในดินในค่าพีเอชช่วงนี้ โลหะหนัก เช่น อลูมิเนียม (Al) และแมงกานีส (Mn) จะมีความสามารถละลายน้ำลดลง จึงช่วยลดความเป็นพิษที่อาจเกิดขึ้นต่อรากพืช
ผลกระทบของค่าพีเอชที่ไม่เหมาะสม ถ้าค่าพีเอชต่ำกว่า 5.8 (กรดจัด) จะทำให้ธาตุอาหารบางชนิด เช่น ฟอสฟอรัส และแคลเซียม ถูกตรึงในดินและไม่สามารถถูกดูดซึมได้ นอกจากนี้ยังอาจเพิ่มความเป็นพิษจากโลหะหนัก
ค่าพีเอชสูงกว่า 6.3 หรือมากกว่า 7 (ด่าง) ส่งผลให้ธาตุอาหารบางชนิด เช่น เหล็ก สังกะสี และแมงกานีส มีความสามารถละลายน้ำลดลง ทำให้พืชขาดธาตุอาหารที่จำเป็น
วิธีปรับค่าพีเอชของดินให้เหมาะสม
1. เพิ่มความเป็นกรด โดยใช้กำมะถัน (sulfur) ยิปซั่ม (Gypsum) หรือสารปรับสภาพดินที่มีฤทธิ์เป็นกรด ใช้ปุ๋ยที่มีองค์ประกอบของแอมโมเนียม เช่น แอมโมเนียมซัลเฟต (21-0-0) ใช้ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อปลดปล่อยกรดอินทรีย์ (organic acid) ในระยะยาว หรือจะใช้ภูไมท์ซัลเฟตถุงสีแดง
2. เพิ่มความเป็นด่างโดยใช้ปูนมาร์ล (Mark) ปูนขาว (lime) โดโลไมต์ (dolomite) ฟอสเฟต (Phosphate) เพื่อปรับค่าพีเอชให้สูงขึ้น หรือใช้ปุ๋ยที่มีแคลเซียม เช่น 15-0-0
การเตรียมดินหรือแปลงปลูกที่เหมาะสม ค่าพีเอชของดินที่อยู่ในช่วง 5.8-6.3 ถือว่าเป็นช่วงที่สมดุลที่สุดสำหรับการเจริญเติบโตของพืชและการละลายแร่ธาตุออกมาให้พืชนำไปใช้ การดูแลและปรับค่าพีเอชให้อยู่ในช่วงนี้จึงเป็นสิ่งสำคัญที่เกษตรกรควรให้ความใส่ใจ เพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพของพืชให้สูงสุดในระยะยาว การปรับค่าพีเอชของดินอย่างเหมาะสมไม่เพียงแค่ช่วยพืชเจริญเติบโตได้ดีเท่านั้น แต่ยังช่วยสร้างความสมดุลให้ระบบนิเวศในดินอีกด้วย ถือเป็นก้าวแรกที่สำคัญสู่การเกษตรที่ยั่งยืน!
ดร.มนตรี บุญจรัส
ประธานกรรมการ บริษัท ไทยกรีนอะโกร จำกัด
ประธานชมรมเกษตรปลอดสารพิษแห่งประเทศไท