ขี้ค้างคาว หรือที่เรียกในเชิงวิชาการว่า “กัวโน” (Guano) เป็นวัสดุธรรมชาติที่มีคุณค่ามากในด้านการเกษตร โดยเฉพาะการใช้เป็นปุ๋ยอินทรีย์สำหรับการปรับปรุงดินและส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช ในบทความนี้ เราจะสำรวจคุณประโยชน์ของขี้ค้างคาว รวมถึงข้อจำกัดในการใช้งาน และสิ่งที่สามารถนำมาใช้ทดแทนได้ในกรณีที่ขี้ค้างคาวไม่สามารถใช้งานได้
ในอดีตขี้ค้างคาวนับเป็นแหล่งธาตุอาหารที่สำคัญ โดยเฉพาะกลุ่มเกษตรกรหัวก้าวหน้า เนื่องจากขี้ค้างคาวเป็นวัสดุธรรมชาติ 100% มีคุณภาพสูงกว่ามูลสัตว์ทั่วๆไป จึงเป็นทางเลือกที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเมื่อเทียบกับปุ๋ยเคมี อีกทั้งขี้ค้างคาวยังมีสารอาหารที่จำเป็นสำหรับพืช เช่น ไนโตรเจน (N), ฟอสฟอรัส (P) และโพแทสเซียม (K) ซึ่งเป็นธาตุหลักที่ช่วยเสริมสร้างการเติบโตของพืช ช่วยเพิ่มผลผลิต และทำให้พืชมีความต้านทานต่อโรคมากขึ้น
ปัญหาในปัจจุบันคือ ขี้ค้างคาวมีการส่งออกและใช้ภายในประเทศอย่างมากและยาวนาน ขี้ค้างคาวจึงหาได้ยากและมีแหล่งที่จำกัด เนื่องจากต้องพึ่งถ้ำหรือแหล่งที่ค้างคาวอาศัยอยู่ ทำให้การจัดหาในปริมาณมากอาจไม่เพียงพอต่อความต้องการ กระบวนการเก็บรวบรวมที่ยุ่งยากการเก็บขี้ค้างคาวต้องอาศัยแรงงานและเวลา รวมถึงการระมัดระวังในพื้นที่ที่อาจเป็นอันตราย เช่น ถ้ำลึก หรือบริเวณที่มีเชื้อโรค ขี้ค้างคาวจึงกลายเป็นวัสดุที่หายากและต้องการการจัดการเฉพาะทาง ทำให้ต้นทุนในการผลิตและจัดจำหน่ายสูงกว่าปุ๋ยชนิดอื่น
ปัจจุบันทางชมรมเกษตรปลอดสารพิษแห่งประเทศไทย ได้พยายามหาสิ่งทดแทนขี้ค้างคาว นำมาปรับปรุง พัฒนาเพื่อให้เกิดนวัตกรรมอย่างง่ายต่อการนำไปใช้งานของเกษตรกรแบบไม่ยุ่งยากมากเกินไป โดยการ ปุ๋ยคอกทุกชนิด ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยชีวภาพ มาคลุกผสมร่วมกับหินแร่ภูเขาไฟในอัตรา 1 : 10 หมายถึง นำหินแร่ภูเขาไฟ อย่างเช่น ภูไมท์ ภูไมท์ซัลเฟต สเม็คไทต์ ไคลน็อพติโลไลท์ โมเดนไนท์ ชาบาไซท์ ฟิลิปไซส์ ฯลฯ 1 กิโลกรัม คลุกผสมกับปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกใดๆก็ได้ 10 กิโลกรัม คลุกเคล้าให้เข้ากันก่อนนำไปใช้ เตรียมแปลงปลูก หรือรองก้นหลุม จะมีคุณสมบัติใกล้เคียงกับปุ๋ยขี้ค้างคาวหรือมูลค้างคาวมากที่สุด แถมราคาประหยัดกว่ามามาก
มูลสัตว์หรือปุ๋ยคอกทั่วไปจะมีความแตกต่างตรงที่ไม่มีแคลเซียม กำมะถัน และไนโตรเจนในปริมาณที่เทียบเท่ากับขี้ค้างคาว ดังนั้นเมื่อนำมาทำงานร่วมกับหินแร่ภูเขาไฟที่มีคุณสมบัติเป็นหินเดือด พร้อมที่จะละลายแร่ธาตุสารอาหารออกมาเป็นประโยชน์ต่อพืชได้ทันที จึงทำให้เกิดประโยชน์ในการทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ เกิดการระบายถ่ายเทน้ำและอากาศได้ดี สร้างระบบนิเวศเป็นแหล่งอาหารและที่อยู่อาศัยของจุลินทรย์ ทำให้เกิดกิจกรรมย่อยสลายอินทรย์วัตถุให้กลายเป็นปุ๋ยมีประโยชน์ต่อพืชเพิ่มขึ้น
ขี้ค้างคาวและหินแร่ภูเขาไฟเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีคุณค่าในด้านการเกษตร ช่วยเพิ่มผลผลิตและปรับปรุงคุณภาพดินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตาม ในแง่ของขี้ค้างคาวการใช้งานอาจจะมีข้อจำกัดทั้งในด้านปริมาณต้นทุน และผลกระทบต่อระบบนิเวศบ้าง หากไม่สามารถหาใช้ได้ การเลือกใช้ปุ๋ยชนิดอื่น เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยชีวภาพร่วมกับหินแร่ภูเขาไฟ ก็เป็นทางเลือกที่เหมาะสมในการสนับสนุนการเกษตรแบบยั่งยืนต่อไป
ดร.มนตรี บุญจรัส
ประธานกรรมการ บริษัท ไทยกรีนอะโกร จำกัด
ประธานชมรมเกษตรปลอดสารพิษแห่งประเทศไทย