กำจัดโรครากเน่าโคนเน่า จากเชื้อรา ไฟทอปธอร่า (Phytophthora)
โรครากเน่าโคนเน่า เป็นโรคที่พบกันมากใน พืช ผัก ผลไม้ ไม่ว่าจะเป็น พริก มะเขือ คะน้า กวางตุ้ง กะหล่ำ มะนาว เงาะ ลำไย ทุเรียน ฯลฯ โดยโรครากเน่าและโคนเน่านั้นเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อรา ไฟทอปธอร่า (Phytophthora) เป็นเชื้อราที่กำจัดได้ยาก รุนแรงและสร้างความเสียหายให้กับพืชหลากหลายชนิด เกิดได้ทุกระยะการเจริญเติบโตของพืช ลักษณะอาการต้นพืชจะแสดงอาการเหี่ยวเฉา เหมือนรากขาดน้่ำ บริเวณโคนต้นจะเน่าเป็นสีน้่ำตาล โดยทั่วไปรากจะมีลักษณะเป็นสีน้ำตาล ช้ำ และเน่า ส่วนโคนต้น จะมีลักษณะเปลือกแตก มีเมือกเยิ้มออกมา และใบจะเหลืองและร่วงหล่น ทำให้ยืนต้นตายได้ โดยเชื้อรานี้สมารถระบาดไปกับดินและน้ำ โดยเฉพาะช่วงที่มีฝนตกชุก
วันนี้ผู้เขียนจะมาบอกเล่าถึงวิธีการป้องกันและรักษาโรครากเน่าโคนเน่าแบบปลอดสารพิษโดยใช้อินดิวเซอร์ (ไตรโคเดอร์ม่า)+ไบโอเซ็นเซอร์(บาซิลลัส ซับธิลิส)ทั้งสองตัวมีคุณสมบัติในการกำจัดเชื้อราและโรคบางชนิด เช่น โรครากเน่าโคนเน่า โรคเน่าคอรวง โรคผลเน่า โรคยางเปลือกแห้ง โรคราสนิม ฯลฯ วิธีใช้ ให้ใช้ในอัตรา50กรัมต่อน้ำ20ลิตร ฉีดพ่นให้ครอบคลุมบริเวณส่วนบนและส่วนล่างของใบพืชด้วยรวมถึงบริเวณโคนต้นด้วย จึงจะสามารถควบคุมเชื้อเราโรคพืชได้อย่างมีประสิทธิภาพ ฉีดพ่นทุกๆ7วันครั้ง ควรฉีดตอนแดดอ่อนๆ ช่วงเช้าตรู่ หรือตอนเย็น เพราะอินดิวเซอร์ (ไตรโคเดอร์ม่า)กับไบโอเซ็นเซอร์(บาซิลลัส ซับธิลิส)เป็นจุลินทรีย์ จะถูดแสงแดดทำลายได้ง่าย ไม่ควรผสมพร้อมกับยาฆ่าแมลง เพราะยาจะกินกัน ทำให้ลดทอนประสิทธิภาพ ถ้าพบระบาดมาก ควรฉีดพ่นติดต่อกัน 2 ครั้ง ใน 3-4 วัน โดยใช้อัตราส่วนผสมเท่าเดิม
ผู้เขียนขอแนะนำเพิ่มเติมว่า ก่อนที่จะนำเชื้อ อินดิวเซอร์ (ไตรโคเดอร์ม่า)กับไบโอเซ็นเซอร์(บาซิลลัส ซับธิลิส)ไปผสมกับน้ำฉีดพ่น ขอแนะนำให้ใช้ ม้อยเจอร์แพล้นท์(สารเปียกใบ) เติมผสมกับน้ำก่อน โดยใช้อัตรา 20 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร แล้วจึงค่อยนำเชื้อ อินดิวเซอร์ (ไตรโคเดอร์ม่า)กับไบโอเซ็นเซอร์(บาซิลลัส ซับธิลิส)ใส่ลงไปแล้วกวนผสมให้เข้ากัน ประสิทธิภาพของม้อยเจอร์แพล้นท์(สารเปียกใบ)ทำให้เชื้อ อินดิวเซอร์ (ไตรโคเดอร์ม่า)กับไบโอเซ็นเซอร์(บาซิลลัส ซับธิลิส)ทำงานและมีประสิทธิภาพในการดูดซึมเข้าทำลายโรครากเน่าโคนเน่าได้ดียิ่งขึ้น ผู้เขียนรับรองว่าถ้าใช้ อินดิวเซอร์ (ไตรโคเดอร์ม่า)กับไบโอเซ็นเซอร์(บาซิลลัส ซับธิลิส)ฉีดพ่นตามที่ผู้เขียนแนะนำโรครากเน่าโคนเน่าจะค่อยๆหมดไปจาก แปลง สวน ไร่ ของท่านเกษตรกรอย่างแน่นอน
บรรเจิด ยิ่งวงษ์
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com