การทำนาปรังนั้นถือเป็นการทำนานอกฤดูกาลโดยจะเริ่มทำตั้งแต่เดือนมกราคมและเก็บเกี่ยวไม่เกิดเดือนเมษายน
ปัจจัยโดยตรงในการทำให้ข้าวมีคุณภาพคือปริมาณที่เพียงพอ ดังนั้นจึงต้องเพาะปลูกในเขตคลองชลประทานรวมถึงบริเวณใกล้แม่น้ำคือในแถบภาคกลาง
ภาคเหนือตอนล่าง ภาคอีสานและ ภาคใต้โดยเราควรใส่ใจตั้งแต่การเตรียมแปลงและเมล็ดพันธุ์ก่อนปลูกเพื่อเพิ่มอัตราการงวอกและความแข็งแรงของกล้า
โดยการเตรียมแปลงนั้นจะเริ่มด้วยขั้นตอน“ไถ-หมัก-ย่ำ-ทำเทือก”การไถจะเป็นการไถดะ-ไถแปร
เพื่อพลิกหน้าดิน ย่อยดิน และ คลุกเคล้าเศษฟางวัชพืชลงไปในดินจากนั้นทำการตากดิน
และหมักด้วยอินทรียวัตถุต่างๆและเพื่อให้การย่อยสลายสมบูรณ์เวลาที่ใช้ประมาณ2
สัปดาห์ เพื่อไม่ให้เกิดแก๊สเน่าและให้ดินอ่อนตัว และทำการย่ำ
เศษฟาและวัชพืชต่างๆให้แหลก พร้อมปั่นดินให้เป็นเลนโดยใช้รถโรตารี
และขั้นตอนสุดท้ายคือการทำเทือก เป็นการปรับหน้าดินให้เรียบเสมอ
ไม่เป็นแอ่งเหมาะสำหรับการหว่านข้าว และก่อนการหว่านข้าวควรแช่เมล็ดพันธุ์ข้าวด้วยอินดิวเซอร์
50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร เป็นเวลา 1 คืนจากนั้นจะนำใส่กระสอบคลุมด้วยผ้าเรียกขั้นตอนนี้ว่าการบ่มข้าว
เมื่อเมล็ดข้าวเริ่มแตกตาตุ่มให้แข่กับไตโตซาน 20 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร แช่ทิ้งไว้ 1
คืน เพื่อกระตุ้นการงอกของเมล็ดข้าว เนื่องจากการทำข้าวนาปรังจะทำในช่วงอากาศหนาว
การงอกจึงไม่ค่อยงอก การแช่ด้วยไคโตซานจะช่วยการเดินราก ต้นแข็งแรงเมื่อทำการหว่านและต้นข้าวโตในระยะต้นกล้าแนะนำให้ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ทีจีเอโกลด์และภูไมท์ซัลเฟต
ในอัตราส่วน 1: 1 เพื่อเสริมความแข็งแรงแก่ต้นข้าว ป้องกันการเข้าทำลายของโรคและแมลง
เมื่อถึงระยะแตกกอเป็นช่วงที่ต้นข้าวต้องการธาตุอาหารเป็นอย่างมากเพราะจะนำธาตุอาหารเหล่านี้มาใช้ในการเจริญเติบโตของลำต้น
ใบ และ การขยายกอข้าว โดยข้าว 1 ต้น สามารถแตกกอได้ถึง 30-60 ต้น
ซึ่งหมายความว่าหากการแตกกอดีก็จะส่งผลต่อปริมาณผลผลิตข้าวนั้นเอง
การให้ปุ๋ยทางดินจึงแนะนำเป็นสูตร 46-0-0(ปุ๋ยยูเรีย)และหลังจากหว่านปุ๋ยครั้งแรกไม่เกิน
5 วันให้เริ่มฉีดพ่นฮอร์โมนบำรุงและสารป้องกันแมลงและหมั่นสำรวจแปลงหากเกิดโรคและแมลงเช่นโรคใบไหม้ที่จะพบบ่อยในข้าว
แนะนำให้ใช้ไบโอเซนเซอร์ที่ช่วยกำจัดเชื้อราที่เกิดทางใบ ในอัตรา 50 กรัม ต่อน้ำ
20 ลิตร ผสมให้เข้ากันฉีดพ่นในช่วงเย็นหรือช่วงเช้าที่มีแดดอ่อน
ฉีดให้ชุ่มทั้งลำต้นและใบ หากหนอนและแมลงระบาดแนะนำให้ใช้แบคเทียร์ในการกำจัดหนอน
และบูเวเรียที่ใช้สำหรับกำจัดแมลงปีกอ่อน(เพลี้ยต่าง) โดยใช้ในอัตรา 50 กรัม
ต่อน้ำ 20 ลิตร ผสมให้เข้ากัน
ฉีดพ่นในช่วงเย็นหรือช่วงเช้าที่มีแดดอ่อนฉีดให้ชุ่มทั้งลำต้นและใบและ
เมื่อถึงระยะการสร้างดอก จัดเป็นระยะที่สำคัญ เนื่องจากเป็นการสร้างรวงข้าว
สร้างเมล็ด จำนวนเมล็ดข้าวจะมากหรือน้อยจะขึ้นอยู่กับการบำรุง
หากต้นข้าวได้รับธาตุอาหารไม่เพียงพอผลผลิตจะต่ำดังจึงเริ่มบำรุงครั้งที่ 2 โดยการใช้ปุ๋ยยูเรีย
16-20-0 และหลังจากหว่านปุ๋ยไม่เกิน 5 วัน จะฉีดพ่นด้วยฮอร์โมนและสารป้องกันกำจัดโรคพืชต่อไปจะป็นระยะตั้งท้องและออกรวง
หลักจากการกำเนิดช่อดอกจะมีการพัฒนาช่อดอกใช้เวลาประมาณ 30 วัน และเข้าสู่ระยะออกรวงและดอกจะบานหลังจากออกรวง
1 วัน ดอกจะบานในช่วง 7.00- 12.00 ซึ่งปัจจัยที่มีผลต่อการบานขึ้นอยู่กับความชท้นในบรรยากาศ
อุณหภูมิ และความเข้มข้นของแสง และระยะสุดท้ายระยะการสุกแก่ของเมล็ด
หลังจากผสมเกสรเมล็ดข้าวจะพัฒนาในช่วง 7-10 วัน ด้วยการสร้างแป้งมีลักษณะเป็นของเหลว
เรียกว่านม จากนั้น 7-10 วันต่อมา แป้งจะแข็งตัวจนถึงระยะเก็บเกี่ยวโดยใช้เวลา
25-35 วันหลังออกรวงข้าวหากสนใจข้อมูลเพิ่มเติมหรือต้องการปรึกษาปัญหาด้านการเกษตรปลอดสารพิษ
ติดต่อสอบถามได้ที่ https://thaigreenagro.com/


Line Official: https://lin.ee/3M1NXzf
ช่อง Youtube: https://youtube.com/@thaigreenagro-tga847
เพจ Facebook: https://www.facebook.com/thaigreenagro?mibextid=LQQJ4d
Call Center: 084-5554205-9
ฝ่ายวิชาการ : 02-9861680-2
เว็บไซต์: www.thaigreenagro.com
Tiktok: https://bit.ly/3vr5zdo
Twitter: https://bit.ly/3q1DwQY
Shopee: https://shp.ee/kh94aiq