โรคดอกเน่าดาวเรือง
เกิดจาก เชื้อรา Alternaria sp. เชื้อรา Botrytis sp.
และเชื้อรา Colletotrichum sp. มักเกิดในช่วงที่
อากาศร้อนชื้นและมีฝนตก มักพบได้ในระยะติดดอกดาวเรือง
โดยจะพบแสดงอาการเริ่มแรกที่กลีบดอกมีลักษณะฉ่ำน้ำ ต่อมาเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล
จากนั้นจะเน่าลุกลามเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลทั่วทั้งดอก
หากเชื้อราเข้าทำลายในระยะดอกตูม ดอกจะไม่สามารถบานได้ โรคดอกเน่าเป็นโรคที่สำคัญ
และทำความเสียหายแก่ดอกดาวเรืองทำให้ไม่สามารถเก็บขายได้ เกษตรกรผู้ปลูกดาวเรืองควรเฝ้าระวังการระบาดของโรคดอกเน่า
สำรวจแปลงดาวเรืองอย่างสม่ำเสมอ หากพบว่ามีอาการของโรคภายในแปลงปลูกให้เก็บแล้วเผาทำลายเพื่อป้องกันการระบาดของโรคไปยังต้นอื่นๆ
วิธีป้องกันและกำจัดโรคดอกเน่าดาวเรืองนั้นเราควรป้องกันตั้งแต่เริ่มปลูก ให้ใช้
อินดิวเซอร์ (เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า) คลุกเมล็ดพันธุ์ก่อนปลูก ในอัตรา 50 กรัม
ต่อเมล็ดพืช 1 กิโลกรัม เพื่อป้องกัน เชื้อราที่อาจติดมากับเมล็ดพันธุ์ จากนั้นให้นำ
อินดิวเซอร์ (เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า) 0.5 ส่วน ผสมกับปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 50 ส่วน
ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากันก่อนนำไปใช้ โดยใช้รองก้นหลุมดินแปลงเพาะกล้า พอได้ต้นกล้าที่พร้อมปลูก
เราควรเริ่มตั้งแต่การทำให้ต้นดาวเรืองแข็งแรง แข็งแกร่ง
มีภูมิต้านทานด้วยตัวเอง โดยการใช้หินแร่ภูเขาไฟพูมิชซัลเฟอร์รองก้นหลุมตั้งแต่ก่อนปลูกเพื่อให้ดาวเรืองมีธาตุซิลิก้าจากพูมิชซัลเฟอร์กินตั้งแต่แรกเริ่ม
ช่วยให้ดาวเรืองมีภูมิคุ้มกันโรคและแมลงที่ดีตั้งแต่แรก พูมิชซัลเฟอร์ยังช่วย ทำให้ดินร่วนซุย ดินซึมผ่านน้ำได้ง่าย
ดินระบายน้ำได้ดีขึ้น แก้ดินที่เหนียวจัด แก้ดินดาน แก้ดินแน่นแข็ง
ช่วยไล่เกลือออกจากเนื้อดิน ช่วยเพิ่มอากาศในดิน ช่วยอุ้มน้ำของดิน
แก้อาการขาดปูนและกำมะถันในพืช แก้พืชแพ้หนาวและร้อน แก้พืชซีด เขียวตองอ่อน
แก้พืชโตช้า ฯลฯ หากปลูกไปแล้วเจอปัญหา ให้ใช้ อินดิวเซอร์ (เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า) บวกกับ ไบโอเซ็นเซอร์ (บาซิลลัส ซับทิลิส) ในอัตรา 25-50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทั้งแปลง ทั้งบนใบและใต้ใบ ทุกๆ7 วัน
ถ้าระบาดหนัก ก็ทุก3วันครั้งสลับกันฉีด พอเชื้อราหมดไปจากแปลง ก็ให้เอา พูมิชซัลเฟอร์ หว่านรอบพื้นที่ทรงพุ่ม แล้วลดน้ำ เพียงเท่านี้ โรคดอกเน่าดาวเรือง ก็จะลดลง และถ้าใช้เป็นประจำ โรคดอกเน่าดาวเรือง ก็จะหมดไปจากแปลงของผู้ปลูก
หากเกษตรกรท่านใดสนใจหรือต้องข้อมูลเพิ่มเติมสามารถโทรมาสอบถามรายละเอียดได้ที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
เขียนและรายงานโดย ทีมงานชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
สอบถามเพิ่มเติมที่ 02-9861680-2 หรือผู้เขียนคุณพรพรรณ ยิ้มสาระ ฝ่ายส่งเสริมการตลาด
092-7744902 Hotline สายด่วน 084-5554205 -9 หรือ @thaigreenagro
เสนอติชมได้ที่ Email : thaigreenago@gmail.com