สวัสดีค่ะวันนี้ผู้เขียนจะมาเอาใจคนปลูกกล้วยไม้กันค่ะก่อนอื่นเราต้องมาทำความรู้จักกล้วยไม้กันก่อนค่ะกล้วยไม้เป็นพืชที่มีส่วนต่างๆ สมบูรณ์ คือ มีราก ต้น ใบ ดอก และผล รากของกล้วยไม้ไม่มีรากแก้ว ลำต้นไม่มีแก่นไม้ ใบจัดเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวมีเส้นใบขนานกันตามความยาวของใบซึ่งมีรายละเอียดของส่วนต่างๆ ดังนี้
ราก กล้วยไม้มีระบบรากแบ่งเป็นหลายชนิดเช่น รากดิน รากกึ่งดิน รากกึ่งอากาศ และรากอากาศ
รากดิน จัดเป็นกล้วยไม้ที่มีระบบรากเกิดจากหัวที่อวบน้ำอยู่ใต้ดินตัวรากจะมีน้ำมาก เช่น กล้วยไม้สกุลนางอั้วกล้วยไม้ประเภทนี้พบมากบริเวณพื้นที่ที่มีสภาพอากาศในฤดูกาลที่ชัดเจน เช่น
ฤดูฝนมีฝนตกชุก และมีฤดูแล้งเมื่อถึงฤดูฝนหัวจะแตกหน่อใบอ่อนจะชูพ้นขึ้นมาบนผิวดิน และออกดอกในตอนปลายฤดูฝนเมื่อพ้นฤดูฝนไปแล้วใบก็จะทรุดโทรมและแห้งไปคงเหลือแต่หัวที่อวบน้ำและมีอาหารสะสมฝังอยู่ใต้ดินสามารถทนความแห้งแล้งได้
รากกึ่งดิน มีรากซึ่งมีลักษณะอวบน้ำ ใหญ่หยาบและแตกแขนงแผ่กระจายอย่างหนาแน่นสามารถเก็บสะสมน้ำได้ดีพอสมควร กล้วยไม้ประเภทนี้พบอยู่ตามอินทรียวัตถุที่เน่าเปื่อยผุพังร่วนโปร่ง
กล้วยไม้ที่มีระบบรากกึ่งดิน ได้แก่ กล้วยไม้สกุลรองเท้านารี สกุลสเปโธกล๊อตติสสกุลเอื้องพร้าว เป็นต้น
รากกึ่งอากาศ เป็นระบบรากที่มีเซลล์ผิวของรากมีชั้นเซลล์ที่หนาและมีลักษณะคล้ายฟองน้ำผิวนอกเกลี้ยงไม่มีขน มีลักษณะคล้ายฟองน้ำ เก็บและดูดน้ำได้มากสามารถนำน้ำไปใช้ตามเซลล์ผิวได้ตลอดความยาวของรากระบบรากกึ่งอากาศมักมีรากแขนงใหญ่หยาบอยู่กันอย่างหนาแน่นไม่มีรากขนอ่อนรากมีขนาดเล็กกว่ารากอากาศ กล้วยไม้ระบบรากกึ่งอากาศได้แก่ กล้วยไม้สกุลแคทลียา
สกุลออนซิเดี้ยม เป็นต้น
รากอากาศ กล้วยไม้ที่มีระบบรากแบบรากอากาศจะมีรากขนาดใหญ่ แขนงรากหยาบเซลล์ที่ผิวรากจะทำหน้าที่ดูดน้ำ เก็บน้ำและนำน้ำไปตามรากได้เป็นอย่างดีทำให้สามารถทนทานต่อความแห้งแล้งได้ดี รากอากาศไม่ชอบอยู่ในสภาพเปียกแฉะนานเกินไปนอกจากนั้นปลายรากสดมีสีเขียวของคลอโรฟีลล์สามารถทำหน้าที่ปรุงอาหารได้เช่นเดียวกับใบเมื่อมี่แสงสว่างเพราะฉะนั้นรากประเภทนี้จึงไม่หลบแสงสว่างเหมือนรากต้นไม้ดินทั่วๆ ไปกล้วยไม้ที่มีระบบรากอากาศได้แก่ กล้วยไม้สกุลแวนด้า สกุลช้าง สกุลกุหลาบสกุลแมลงปอ สกุลเข็ม
ลำต้น หมายถึงส่วนที่เป็นข้อบริเวณส่วนเหนือข้อและติดอยู่กับข้อจะมีตา ตาอาจจะแตกเป็นหน่ออ่อนกิ่งอ่อนหรือช่อดอกก็ได้ ส่วนที่เป็นข้อเป็นส่วนที่มีใบ กาบใบหรือกาบของลำต้นที่ไม่มีส่วนของใบเจริญออกมาได้ ส่วนที่อยู่ระหว่างข้อเรียกว่า
ปล้อง สำหรับลำต้นของกล้วยไม้ที่โผล่พ้นจากเครื่องปลูกแบ่งได้ 2
ประเภท คือ ลำต้นแท้ และลำต้นเทียม
ใบ กล้วยไม้เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว
คือเส้นใบจะอยู่ในลักษณะขนานกันไปตามความยาวของใบ
ใบของกล้วยไม้มีลักษณะที่แตกต่างกันออกไปตามชนิดของกล้วยไม้ นับตั้งแต่รูปร่าง
สีสัน ขนาด และการทรงตัวตามธรรมชาติ ลักษณะใบของกล้วยไม้มีหลายชนิด เช่น ใบแบน
ใบกลม และใบร่องซึ่งเป็นลูกผสมระหว่างพวกใบกลมกับใบแบน
แต่ใบกล้วยไม้ส่วนมากแล้วจะมีลักษณะแบน
การเรียงตัวจะมีทั้งเรียงสลับกันและเรียงซ้อนทับกัน
สีของใบส่วนมากมีสีเขียวอมเหลืองบางชนิดใบมีสีสันลวดลายสวยงาม หน้าที่ของใบ คือ
สังเคราะห์แสง โดยสารสีเขียวเรียกว่า คลอโรฟีลล์ที่อยู่ภายในใบร่วมกับแสงสว่าง
ช่วยให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากอากาศผ่านเข้าไปทางรูถ่ายก๊าซของใบทำปฏิกิริยากับน้ำเกิดเป็นน้ำตาล
นอกจากนี้ใบยังทำหน้าที่คายน้ำออกจากต้น ช่วยให้รากสามารถดูดน้ำและอาหารเข้าสู่ต้น
เป็นการแทนที่น้ำที่ระเหยออกจากใบ ทำให้ต้นได้อาหารหรือปุ๋ยผ่านเข้าทางรากได้
ดอก ดอกกล้วยไม้เป็นดอกสมบูรณ์เพศ คือ
เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน มีหน้าที่ในการสืบพันธุ์
ดอกมีลักษณะคือ กลีบรองดอก คือกลีบชั้นนอก เป็นส่วนที่ห่อหุ้มป้องกันส่วนต่างๆ
ในขณะที่มีสภาพเป็นตาดอกอยู่ มักมีลักษณะและสีสันคล้ายใบ กลีบดอก กล้วยไม้กลีบดอก 6
กลีบ แบ่งออกเป็น 2 ชั้น ชั้นนอก 3 กลีบ และชั้นใน 3 กลีบ
กลีบชั้นนอกอยู่ข้างบนหนึ่งกลีบ ข้างๆ หรือข้างล่าง 2 กลีบ
กลีบคู่ล่างนี้จะมีขนาดรูปร่างและสีสันเหมือนกัน แต่กลีบบนอาจแตกต่างออกไป
สำหรับกลีบชั้นใน 3 กลีบ กลีบหนึ่งอยู่ข้างล่าง อีก 2
กลีบอยู่ข้างบน กลีบคู่นี้จะมีขนาด รูปทรง สีสัน เหมือนกัน
ส่วนกลีบล่างจะเปลี่ยนไปโดยมีขนาดเล็กลงหรือโตขึ้น และมีสีสันผิดไปจากกลีบคู่บน
กลีบคู่ล่างมีชื่อเรียกเฉพาะว่า ปาก หรือ กระเป๋า
บทความนี้เราจะมาแนะนำสูตรปุ๋ยแบบชมรมเกษตรปลอดสารพิษในการบำรงต้นและบำรุงดอกกล้วยไม้กันค่ะ
รากดิน จัดเป็นกล้วยไม้ที่มีระบบรากเกิดจากหัวที่อวบน้ำอยู่ใต้ดินตัวรากจะมีน้ำมาก เช่น กล้วยไม้สกุลนางอั้วกล้วยไม้ประเภทนี้พบมากบริเวณพื้นที่ที่มีสภาพอากาศในฤดูกาลที่ชัดเจน เช่น ฤดูฝนมีฝนตกชุก และมีฤดูแล้งเมื่อถึงฤดูฝนหัวจะแตกหน่อใบอ่อนจะชูพ้นขึ้นมาบนผิวดิน และออกดอกในตอนปลายฤดูฝนเมื่อพ้นฤดูฝนไปแล้วใบก็จะทรุดโทรมและแห้งไปคงเหลือแต่หัวที่อวบน้ำและมีอาหารสะสมฝังอยู่ใต้ดินสามารถทนความแห้งแล้งได้
รากกึ่งอากาศ เป็นระบบรากที่มีเซลล์ผิวของรากมีชั้นเซลล์ที่หนาและมีลักษณะคล้ายฟองน้ำผิวนอกเกลี้ยงไม่มีขน มีลักษณะคล้ายฟองน้ำ เก็บและดูดน้ำได้มากสามารถนำน้ำไปใช้ตามเซลล์ผิวได้ตลอดความยาวของรากระบบรากกึ่งอากาศมักมีรากแขนงใหญ่หยาบอยู่กันอย่างหนาแน่นไม่มีรากขนอ่อนรากมีขนาดเล็กกว่ารากอากาศ กล้วยไม้ระบบรากกึ่งอากาศได้แก่ กล้วยไม้สกุลแคทลียา สกุลออนซิเดี้ยม เป็นต้น
รากอากาศ กล้วยไม้ที่มีระบบรากแบบรากอากาศจะมีรากขนาดใหญ่ แขนงรากหยาบเซลล์ที่ผิวรากจะทำหน้าที่ดูดน้ำ เก็บน้ำและนำน้ำไปตามรากได้เป็นอย่างดีทำให้สามารถทนทานต่อความแห้งแล้งได้ดี รากอากาศไม่ชอบอยู่ในสภาพเปียกแฉะนานเกินไปนอกจากนั้นปลายรากสดมีสีเขียวของคลอโรฟีลล์สามารถทำหน้าที่ปรุงอาหารได้เช่นเดียวกับใบเมื่อมี่แสงสว่างเพราะฉะนั้นรากประเภทนี้จึงไม่หลบแสงสว่างเหมือนรากต้นไม้ดินทั่วๆ ไปกล้วยไม้ที่มีระบบรากอากาศได้แก่ กล้วยไม้สกุลแวนด้า สกุลช้าง สกุลกุหลาบสกุลแมลงปอ สกุลเข็ม
วิธีใช้ ใส่แม่ปุ๋ยน้ำหนักเป็นกรัม ลงในน้ำสะอาด 200 ลิตรคนให้ละลายจนใสเรียงตามลำดับทีละตัวการใส่ไม่เรียงลำดับหรือใส่ลงไปพร้อมๆกันทั้งหมด อาจมีปัญหาเรื่องการตกตะถอน กรณีใช้แคลเซียมไนเตรทชนิดใส่ทางดินให้ละลายแคลเซียมไนเตรทในน้ำ 10 ลิตรก่อน แล้วกรองเอาไขออก โดยสับหญ้าขนเป็นท่อนสั้นๆเล็กๆ ใส่ลงไป กวนจนกว่าหญ้าขนดูดจับไขเหลือแต่น้ำยาใสๆ จึงกรองเอาหญ้าขนออก
หากเกษตรกรท่านใดมีปัญหาหรืออย่างได้ข้อมูลเพิ่มเติมในการปลูกหน่อไม่ฝรั่งสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
เขียนและรายงานโดย ทีมงานชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
สอบถามเพิ่มเติมที่ 02-9861680-2 หรือผู้เขียนคุณพรพรรณ ยิ้มสาระ (ฝ่ายส่งเสริมการขายส่วนกลาง)
084-5554210 Hotline สายด่วน 084-5554205-9 หรือ @thaigreenagro
เสนอติชมได้ที่ Email : thaigreenago@gmail.com