โรคใบไหม้ หรือใบติดในทุเรียน คือ โรคที่เกิดจากเชื้อรา Rhizoctonia solani Kuehn มีอาการ เกิดแผลคล้ายน้ำร้อนลวกบนใบ บริเวณกลางใบ หรือขอบใบต่อมาแผลจะค่อยๆขยายตัวลุกลาม และเริ่มเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล การแพร่ระบาดโดยปกติ เชื้อราสาเหตุของโรคจะอาศัยอยู่ในเศษซากใบทุเรียนที่หล่นอยู่บริเวณใต้โคนและวัชพืชบางชนิด เมื่อฝนตก เชื้อราจะกระเด็นขึ้นมาโดยเม็ดฝน ติดตามใบทุเรียนที่อยู่ต่ำๆก่อน เกิดอาการแผลคล้ายถูกน้ำร้อนลวก และเจริญสร้างเส้นใยลุกลามและแพร่ส่วนขยายพันธุ์ไปยังส่วนอื่นๆ หรือบางครั้งเชื้อก็ติดไปกับมดที่มีอยู่ทั่วไปในสวนทุเรียน ขึ้นไปยังส่วนบนๆของต้น เมื่ออากาศร้อนชื้น มีฝนตกเป็นระยะ ซึ่งเป็นสภาวะอากาศที่เหมาะต่อการพัฒนาของเชื้อราหลายชนิด โรคใบไหม้ของทุเรียน ก็เป็นเชื้อหนึ่งที่จะเจริญเติบได้อย่างรวดเร็วในสภาพแวดล้อมอย่างนี้ แนวทางการจัดการโรคใบติดหรือใบไหม้เกษตรกรส่วนใหญ่เมื่อเห็นว่าเริ่มแสดงอาการก็จะฉีดพ่นด้วยเคมีเพราะมองว่ารวดเร็วทันใจ แต่ปัญหาที่ตามมาคือ มีสารพิษตกค้างในดินแปลงปลูกของเกษตรกร ทำให้ดินเสีย ทำให้ที่มีทรัพยากรทางธรรมชาติโยชน์ต้องสูญเสียไป วันนี้ผู้เขียนจึงอยากแนะนำทางเลือกใหม่ให้กับเกษตรกรป้องกันกำจัดเชื้อราโรคใบไหม้ หรือใบติดในทุเรียน ด้วยชีวภาพ ไม่มีสารเคมีตกค้าง ไม่ส่งผลต่อผู้ใช้ผู้บริโภคสัตว์เลี้ยง ไม่ทำลายระบบนิเวศน์ และช่วยเกษตรกรลดต้นทุน คือใช้ จุลินทรีย์ ในการกำจัดเชื้อรา คือให้ใช้ไบโอเซ็นเซอร์(บาซิลลัส ซับทิลิส)กับอินดิวเซอร์(ไตรโคเดอร์ม่า)ในการปราบเชื้อราโรคใบไหม้ หรือใบติดในทุเรียน เชื้อสองตัวนี้ได้รับการคัดเลือกว่ามีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันกำจัดโรคใบไหม้ หรือใบติดในทุเรียน ที่เกิดจากเชื้อรา วิธีใช้ให้ใช้ไบโอเซ็นเซอร์(บาซิลลัส ซับทิลิส)กับอินดิวเซอร์(ไตรโคเดอร์ม่า) 50กรัม ต่อน้ำ20ลิตรฉีดพ่นให้ทั่วทั้งแปลง ทั้งใต้ใบและบนใบ ติดต่อกัน 3-4 ครั้ง หรือฉีดพ่นทุก ๆ 5-7 วัน/ครั้ง ควบคุมไม่ให้เชื้อราโรคใบไหม้ หรือใบติดในทุเรียน เกิดการระบาด ไบโอเซ็นเซอร์(บาซิลลัส ซับทิลิส)กับอินดิวเซอร์(ไตรโคเดอร์ม่า)ทำหน้าที่เสมือนทหารยามที่ค่อยเฝ้าระวังไม่ให้เชื้อราโรคใบไหม้ หรือใบติดในทุเรียน กลับเขามาอีก
บรรเจิด ยิ่งวงษ์
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com