โรคใบไหม้แผลใหญ่ในข้าวโพด
ข้าวโพด
เป็นพืชล้มลุกจำพวกหญ้า มีลำต้นสูงแข็งแรง และมีเมล็ดที่เรียงตัวกันเป็นแถวในฝัก
มีความสำคัญทางเศรษฐกิจอย่างมาก ทั้งใช้เป็นอาหารคนและสัตว์
รวมถึงเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมต่างๆ
ลักษณะของข้าวโพดมีดังนี้
- ลำต้น
:
ตั้งตรงและมีความแข็งแรง เห็นข้อและปล้องชัดเจน
ส่วนใหญ่ลำต้นจะมีสีเขียวยกเว้นบางสายพันธุ์ที่มีสีม่วง
และลำต้นของข้าวโพดจะสูงตั้งแต่ 30 เซนติเมตรขึ้นไป ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ที่ปลูก
- ใบ : ข้าวโพดเป็นใบเลี้ยงเดี่ยว เรียวแหลมคล้ายใบหญ้า
ยาวประมาณ 30–100 ซม. เส้นกลางของใบจะเห็นได้ชัด ตรงขอบใบมีขนอ่อน
ๆ มีเขี้ยวใบ สีของใบแตกต่างกันไปตามสายพันธุ์
- ดอก :
ข้าวโพดมีทั้งดอกเพศผู้และเพศเมียอยู่ภายในต้นเดียวกัน
ดอกเพศผู้จะอยู่ส่วนบนสุดของลำต้น เรียกว่า ช่อดอกตัวผู้(ตะปุ่ม) และ
ดอกเพศเมียจะอยู่กลางลำต้น เรียกว่า ฝัก
- ฝัก :
เมล็ดมีสีที่หลากหลาย เช่น สีเหลือง
สีขาว สีม่วง และขาดของฝักนั้นแตกต่างกันตามสายพันธุ์ที่ปลูก
- ราก : รากของข้าวโพดเป็นระบบรากฝอย
แผ่กว้างช่วยในการดูดซับแร่ธาตุและน้ำ
นอกจากนี้ยังมีรากยึดเหนี่ยวรอบๆข้อที่อยู่ใกล้ผิวดิน
โรคที่เกิดในต้นข้าวโพดในช่วงฤดูแล้ง
ได้แก่ โรคใบไหม้แผลใหญ่ในข้าวโพด
โรคใบไหม้แผลใหญ่เป็นหนึ่งในโรคพืชที่ส่งผลกระทบต่อการผลิตข้าวโพดอย่างมากโดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง
ซึ่งโรคนี้เกิดจากเชื้อรา Exserohilum turcicum เข้าไปทำลายใบข้าวโพดก่อให้เกิดแผล
ต่อมาแผลนั้นจะมีการขยายขนาดใหญ่สีเทาหรือสีน้ำตาลอ่อน คล้ายรูปกระสวย เมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสมจะทำให้แผลขยายขนาดและแห้งตายในที่สุด
สาเหตุของการเกิดโรคใบไหม้แผลใหญ่ในข้าวโพด
1. เชื้อรา Exserohilum turcicum เป็นสาเหตุหลักของโรคนี้
2. สภาพแวดล้อม : มีอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต
อยู่ที่ประมาณ 18-27 องศา และมีความชื้นสูง
3. การปลูกข้าวโพดในพื้นที่เดิมซ้ำๆ
อาจทำให้เกิดการสะสมของเชื้อรา
4. พันธุ์ของข้าวโพดที่ปลูก
อาจมีความต้านทานต่อโรคต่ำ
วิธีการป้องกันและกำจัดโรคใบไหม้แผลใหญ่ในข้าวโพด
1. การเลือกพันธุ์ข้าวโพดที่มีการต้านทานต่อโรคนี้
2. การปลุกพืชหมุนเวียน
เพื่อลดปริมาณการสะสมของเชื้อรา
3. การใช้สารป้องกันทางชีวภัณฑ์
อินดิวเซอร์ เป็นจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ในกลุ่มเชื้อราที่มีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันและกำจัดโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา
โดยใช้ไตรโคเดอร์ม่า (อินดิวเซอร์) อัตรา
50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ชุ่มในบริเวณที่ระบาด
และพ่นซ้ำทุกๆ 7 วัน จนกว่าจะมีการระบาดลดน้อยลง
แนะนำให้ใช้ร่วมกับ ซิลิสิค แอซิด อัตรา 5 กรัม ต่อน้ำ 20
ลิตรควรฉีดพ่นเป็นละอองเล็กๆพอเปียก ทั่วใบและทุกส่วนของพืช ควรฉีดทุก 7-10วัน
และควรฉีดอินดิวเซอร์และซิลิสิค
แอซิดในช่วงเย็นเพื่อประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น
