0

Your Cart

No products in the cart.
THAIGREENAGRO | ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
[agrikon_wc_ajax_search]

โรคใบจุดอินทผลัมกำจัดแบบปลอดสารพิษ

อินทผลัม จัดเป็นพืชตระกูลปาล์มชนิดหนึ่ง มีหลากหลายสายพันธุ์ เป็นพืชที่สามารถเจริญเติบโตได้เป็นอย่างดีในเขตที่มีอากาศร้อนและแห้งแล้งอย่างทะเลทราย โดยอินทผาลัมมีถิ่นกำเนิดในแถบตะวันออกกลาง อินทผลัม เป็นผลไม้ที่มีหลากหลายพันธุ์ แต่ละสายพันธุ์มีคุณสมบัติเด่นในด้านการนำไปบริโภคต่างกันอีก ทั้งเกรด ราคา รวมถึงทั้งรสชาติก็มีความแตกต่างกันด้วย ผลอินทผลัมสามารถรับประทานได้แบบผลสด หรือเมื่อผลสุกจัดมักนิยมนำไปตากแห้ง ทำให้เก็บไว้ได้เป็นเวลาหลายปี มีลักษณะเหมือนการอบแห้งแบบหวาน จึงมักเข้าใจผิดว่ารสหวานจัดของอินทผลัมนั้นเกิดจากการแปรรูปด้วยการนำไปเชื่อมด้วยน้ำตาล จนไม่กล้ารับประทาน เพราะเกรงว่าจะอ้วนหรือไม่ปลอดภัยต่อสุขภาพ แต่แท้จริงแล้วกลับเป็นผลไม้ที่ไม่มีคอเลสเตอรอลและมีไขมันต่ำ นอกจากนั้น ยังอุดมไปด้วยสารอาหารและวิตามินหลายชนิดที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย
      ด้านการขยายพันธุ์อินทผลัมสามารถทำได้ 3 วิธี คือ เพาะจากเมล็ด แยกหน่อจากต้นแม่ และการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ซึ่งแต่ละวิธีมีข้อดี/ข้อเสีย
ต่างกัน ต้นอินทผลัม มีลำต้นมีความสูงประมาณ 30 เมตร ขนาดของลำต้น 30-50 เซนติเมตร ลักษณะของใบเป็นแบบขนนกยาวแหลมติดอยู่บนต้นประมาณ 40-60 ก้าน แต่ละใบมีทางยาวประมาณ 3-4 เมตร เนื่องจากธรรมชาติของอินทผลัมเป็นพืชที่อยู่ในพื้นที่แห้งแล้งแบบทะเลทราย การนำมาทดลองปลูกในประเทศไทยของเราจึง มีปัญหาของโรคต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับความชื้นปรากฏให้เห็นอยู่บ้าง โดยเฉพาะโรคเชื้อรา การปลูกอินทผลัมนั้นเกษตรกรผู้ปลูกมักพบเจอโรคและแมลงหลากหลายกันไป เช่น โรคใบไหม้ โรคยอดเน่า โรคใบจุด หนอนหน้าแมว ด้วงกุหลาบ ด้วงแรดฯลฯ แต่วันผู้เขียนจะมาบอกวิธีป้องกันและกำจัด โรคใบจุด เป็นหลัก ส่วนโรคเชื้อราอื่นๆก็ใช้วิธีเดียวกันกับโรคใบจุดได้เหมือนกัน สาเหตุของโรคเกิดจากเชื้อรา Graphiola phoenicis แหล่งระบาดเชื้อราของโรคนี้สามารถเกิดได้ทุกภูมิภาคที่มีการปลูกพืชตระกูลปาล์ม อาการของโรคใบจุดสามารถสังเกตเห็นได้ง่าย คือ จุดสีเหลือง หรือสีน้ำตาล หรือสีดำ ทั้งสองข้างของใบ
      วิธีกำจัด โรคใบจุด
ก็คือให้ใช้ฟังก์กัสเคลียร์ 1.0-2.5 กรัม (หรือ ประมาณ 1ช้อนชา ) แซนโธไนท์ 2 ซีซี ต่อ น้ำ 20 ลิตรคนให้ละลายเข้ากัน นำไปฉีดพ่นให้ทั่วแปลงอินทผลัม ทั้งบนใบ และ ใต้ใบ ให้เปียกชุ่มโชกช่วงเช้าตรูก่อนแดดออก หลังฝนตกฟ้าครึ้มอากาศปิด หรือ ช่วงตอนเย็นแดดอ่อน เพิ่อทำลายหรือล้างสปอร์โรคใบจุด ที่ตกบนพื้นผิวใบอินทผลัม จากนั้นให้ฉีด ใช้ไบโอเซ็นเซอร์(บาซิลลัส ซับทิลิส)กับอินดิวเซอร์(ไตรโคเดอร์ม่า) 50กรัม ต่อน้ำ20ลิตรฉีดพ่นให้ทั่วทั้งแปลงอินทผลัมทั้งใต้ใบและบนใบ ติดต่อกัน 3-4 ครั้ง หรือฉีดพ่นทุก ๆ 5-7 วัน/ครั้ง ควบคุมและกำจัดไม่ให้โรคใบจุด เกิดการระบาด ไบโอเซ็นเซอร์(บาซิลลัส ซับทิลิส)กับอินดิวเซอร์(ไตรโคเดอร์ม่า)ยังทำหน้าที่เหมือนทหารยามที่ค่อยเฝ้าระวังไม่ให้โรคใบจุดกลับเข้ามาในแปลงอินทผลัมของเราได้อีกด้วย เพียงเท่านี้ผู้เขียนเชื่อว่าจะทำให้โรคใบจุดค่อยๆลดลงและหมดไปจากแปลงอินทผลัมของเกษตรกรผู้อินทผลัมอย่างแน่นอน

 

Line Official: https://lin.ee/3M1NXzf
ช่อง Youtube: https://bit.ly/3o1LAhK
เพจ Facebook: Thai Green Agro
Call Center: 084-5554205-9
ฝ่ายวิชาการ : 02-9861680-2
ไอดีไลน์: tga001-tga004
เว็บไซต์: www.thaigreenagro.com
#ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ

×