วันนี้เราจะมาพูดคุยกันเกี่ยวกับเรื่องของขิง ข่า เป็นเกี่ยวกับพวกโรคเหี่ยวในหัวข่าในแง่งของข่า ในพืชตระกูลขิงและข่าทั้งหลายเหล่านี้ พืชในกลุ่มตระกูลของขิงข่าเป็นพืชที่แบ่งแยกหน่อขยายตัวได้รวดเร็ว ผู้คนทั่วไปปลูกเพื่อจำหน่าย บางที่ส่งโรงงานเพื่อสกัดน้ำมันหอมระเหย ส่วนหนึ่งส่งไปเป็นเครื่องต้มยำ ส่วนขิงใช้เป็นส่วนประกอบในการทำยาโด๊ป เหมือนกับโสมของประเทศเกาหลี ตอนนี้มีบริษัทยักษ์ใหญ่จากมาเลเซีย กำลังรณรงค์ส่งเสริมอาจจะร่วมกับกรมส่งเสริมทางการเกษตรให้มีการเพาะปลูก
ข่านั้นมีประโยชน์มากมาย ส่วนใหญ่จะส่งทางไปทางยุโรป ใช้เป็นเครื่องต้มยำกับพวกโหระพา ตะไคร้ ใบมะกรูด ส่วนหนึ่งปลูกโซนพื้นที่ภาคกลางเพื่อส่งให้กับโรงงานเอาไปทำน้ำมันหอมระเหย เอาไปทำยาโด๊ป ข่าจะมีทั้งโรคใบลาย ใบด่าง ใบจุด ใบดำ โดยเฉพาะช่วงฝนตก ตกกลางวันร้อนชื้น ตกค่ำข้ามไปคืน 2 คืนก็จะมีใบเหลือง ใบไหม้ ใบดำ สาเหตุหลายคนคิดว่าเป็นโรคเชื้อราปกติทั่วไป แต่จริงๆมีสาเหตุที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียด้วยเหมือนกัน เป็นพวกไซโลโมแนด ข้อมูลที่พบเชื้อที่เกิดจากแบคทีเรียอาการเกิดของแบคทีเรียก็จะพอเข้ามาทำลาย ใบของข่าที่เกิดจากแบคทีเรียก็จะเหี่ยว และก็จะม้วนเป็นหลอด และจะค่อยๆมีอาการเหลือง จะลามจากล่างขึ้นบน มีอาการเหมือนขาดไนโตรเจนด้วยเหมือนกัน บางคนใส่ปุ๋ยแล้วทำไมมันยังเหลืองอันนี้ต้องดูว่าสาเหตุเกิดมาจากเชื้อรา พอปล่อยให้มีการรุกราน มันก็จะทำให้หัวหรือแง่งมีอาการฉ่ำน้ำเป็นวงจุด และจะรุกรานไปยังท่อน้ำท่ออาหารแล้วถ้าเรานำมาเปรียบดูใบจะเริ่มมีสีคล้ำและก็มีสีเข้มผ่าออกดูท่อน้ำท่ออาหารก็จะมีเมือกที่แบคทีเรียพวกนี้จะหลั่งเมือกออกมาทำปฏิกิริยากับพวกเซลล์พวกเนื้อเยื่อต่างๆทำให้เกิดเป็นเมือกสีขาวๆ เพราะฉะนั้นถ้าเราไปคิดว่าข่าของเรา ใบเหลือง ใบไหม้ จากการขาดสารอาหารก็จะทำให้เสียโอกาสในการรักษา อาการของข่าที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย แบคทีเรียมีลักษณะในการทำลายจากด้านในภายในหัวข่า ข่าที่ผ่ามาแล้วเป็นวงฉ่ำน้ำมีเมือกขาวสาเหตุเกิดมาจากแบคทีเรีย ถ้าเรานำไตรโครเดอร์ม่ามาใช้ บางทีเจ้าไตรโครเดอร์ม่าอาจจะสู้พวกแบคทีเรียพวกนี้ไม่ไหว หนามยอกต้องเอาหนามบ่ง แบคทีเรียอาจต้องเจอกับแบคทีเรีย เรามีบาซิลลัสซับทีลิส สายพันธุ์ที่ทำลายเชื้อแบคทีเรียและโรคพืชได้ดีมีชื่อว่าไบโอ-เซนเซอร์ อันนี้คือโรคของขิงและข่าที่เกิดจากแบคทีเรีย อันนี้หลายคนเข้าใจผิดว่ามันเป็นโรคใบไหม้ ใบจุด ใบด่าง ใบดำจำพวกเชื้อราทั่วไป เช่น ไฟทอปทอร่า ฟิวซาเรียม พิเทียม พิเทียมส่วนใหญ่จะพบในพื้นที่ดินเหนียว พวกฟิวซาเรียม ถ้า pH ต่ำกว่า 5.5 เป็นกรด กรดค่อนข้างมากที่เราพบบ่อย รวมถึงหนังสือตำราทั่วๆไป ส่วนใหญ่จะพบฟิวซาเรียม ไม่ใช่ว่าข่าขิงจะเจอแต่เชื้อแบคทีเรียอย่างเดียว แต่ส่วนใหญ่ 40 % เราจะพบเชื้อสาเหตุส่วนใหญ่มาจากแบคทีเรีย
การป้องกันรักษาอาการที่ใบห่อเหี่ยว เกิดจากแบคทีเรียเข้าไปทำลายในระบบเซลล์ของหัวข่าและขิงได้ ถ้าดินเป็นกรดจากพวกซิวฟาเรียม เป็นด่างก็จะเป็นพวกเชื้อราอื่นๆ ต้องปรับ pH ให้เหมาะสม ปรับให้ได้ 5.8-6.3 เป็นช่วงระยะที่เป็นกรออ่อนๆไม่เป็นด่างจัดจนเกินไปและก็ไม่เป็นกรดจัดเกินไป จะมีความเหมาะสมต่อการที่จะละลายแร่ธาตุ สารอาหารต่างๆ ที่มีอยู่ในดินเดิมรวมถึงสารอาหารที่เราไปซื้อมาเติม ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยสูตรเสมอ ยูเรีย ขิงข่าของเราก็จะดูดกินได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยทำให้ได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนก็ทำให้เจริญเติบโตสมบูรณ์แข็งแรง ยิ่งเติมพวกหินแร่ภูเขาไฟที่มีซิลิก้าที่ละลายน้ำได้ ตัวซิลิก้าจะทำให้ขิง ข่า มีเซลล์ที่แข็งแรง ตั้งแต่รากจนเป็นเง้าเป็นแง่งเป็นหัวและมาที่ลำต้น ลำเลียงไปสะสมที่ใบ สะสมเป็นเหมือนผนังเลเยอร์ของคอนกรีต หรือ ซีเมนต์ แบคทีเรียและราที่เข้าทำลายยิ่งทำลายได้ยาก การป้องกันที่ดีคืออย่าให้ดินเป็นกรดหรือด่างจัดใช้ซิลิก้าสะสมให้เง้า ราก หัวของขิงข่าและมีการลำเลียงขึ้นไปสู่ลำต้นใบ ทำให้เชื้อราเจาะเข้าทำลายได้ยาก ที่สำคัญกันพวกหนอนม้วนใบ ห่อใบ เพราะมีซิลิก้าทำให้ใบแข็ง โดยเฉพาะถ้านำไปใช้ในนาข้าว ทำให้ใบธงตั้งชูสู้แสง ข้าวจะรวงใหญ่ด้วยถ้าใบธงใหญ่ ใบธงเป็นแหล่งสะสมโพแทสเซียมในการสร้างแป้งและน้ำตาล ขิงข่าถ้ารักษาให้ดี ใบไม่ห่อ ม้วน ใบไม่รับแสง ก็ทำให้หัวแง่ง ขิง ข่า ไม่สมบูรณ์ลดน้อยลง เราจะใช้พวกหินภูเขาไฟรองพื้น คือ ใช้ภูไมท์ซัลเฟตในการรองพื้น ถ้าเจอช่วงที่ฝนตกหนัก เราจะใช้ซิลิก้อนที่สำเร็จรูปมีชื่อว่า ซิลิซิคแอซิด ใช้เพียงแค่ 5 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นร่วมกับผงจุลสีหรือฟังก์กัสเคลียร์ ฉีดเพื่อล้างใบทำลายสปอร์ กรณีใบจุด ใบด่างแล้ว อาจต้องใช้อินดิวเซอร์คือไตรโครเดอร์ม่า และถ้าเกิดจากเชื้อแบคทีเรียก็ใช้ไบโอ-เซนเซอร์ควบคู่ อัตราการใช้อยู่ที่ 50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตรฉีดพ่นอาจจะร่วมกับตัวซิลิสิคแอซิดลงไปก็ได้ ใช้วิธีการฉีดพ่นไปที่ใบข่าหรือฉีดพ่นไปทางรากลดลงสู่โคนต้นก็ได้เช่นเดียวกัน ก็สามารถที่จะทำให้ตัวเซลล์ของขิงข่าแข็งแรงแข็งแกร่ง
มนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปอลดสารพิษ www.thaigreenagro.com