โรคราน้ำค้าง (Downy mildew) เกิดจากการเข้าทำลายของเชื้อรา Pseudoperonospora
cubensis อาการเริ่มแรกจะอยู่ที่ใบด้านล่างของต้น บนใบจะมีแผลฉ่ำน้ำ
แล้วแผลจะขยายลุกลาม ทำให้เห็นแผลเหลี่ยมเล็กเปลี่ยนเป็นสีเหลือง
ถ้าตอนเช้าอากาศมีความชื้นสูง จะพบเส้นใยของเชื้อราเป็นขุยสีขาวถึงเทาตรงแผลใต้
จะพบพืชมีอาการของโรคมากช่วงที่มีความชื้นในอากาศสูง อากาศหนาว มีน้ำค้างลงจัด
และฝนตกชุก แพร่ระบาดมากในหน้าฝนและหนาว สามารถแพร่ระบาดได้ดีโดย น้ำ ลม
ติดไปกับแมลง สัตว์ เครื่องมือการเกษตรและมนุษย์ เช่น ด้วงเต่าแตง
ถ้าอาการรุนแรงจะทำให้ใบแห้งและเหี่ยวและอาจจะทำให้เถาแตงเหี่ยวตายหมดทั้งเถาได้ในเวลาที่อากาศชื้นในตอนเช้า
แต่เกษตรกรผู้ปลูกพืชตระกูลแตงไม่ต้องถึงกับกุมขมับเครียดจนเกินไป
ผู้เขียนได้มีวิธีพิชิตโรคราน้ำค้างมาช่วยแนะนำ วิธีการป้องกันโรคราน้ำค้าง
สิ่งแรกที่ต้องทำคือสำรวจแปลงอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง
เก็บใบหรือส่วนที่เกิดโรค นำไปเผาทำลาย ให้ไกลจากแปลง
หลังจากนั้นให้ใช้ฟังก์กัสเคลียร์ 1.0-2.5 กรัม (หรือ ประมาณ 1ช้อนชา ) แซนโธไนท์
2 ซีซี ต่อ น้ำ 20 ลิตรคนให้ละลายเข้ากัน นำไปฉีดพ่นให้ทั่วแปลงทั้งบนใบ และ ใต้ใบ
ให้เปียกชุ่มโชกช่วงเช้าตรูก่อนแดดออก หลังฝนตกฟ้าครึ้มอากาศปิด หรือ
ช่วงตอนเย็นแดดอ่อน
เพิ่อทำลายหรือล้างสปอร์โรคราน้ำค้างหลังล้างใบพืชแล้วควรฉีดพ่นน้ำส้มควันไม้
ในอัตรา 10 ซีซี ต่อน้ำเปล่า 20 ลิตร ฉีดพ่นจากบนลงล่าง คลุมให้ทั่วทรงพุ่มของพืช
ทุกๆ 7-10 วัน จากนั้นให้ฉีด ใช้ไบโอเซ็นเซอร์(บาซิลลัส
ซับทิลิส)กับอินดิวเซอร์(ไตรโคเดอร์ม่า) 50กรัม ต่อน้ำ20ลิตรฉีดพ่นให้ทั่วทั้งแปลง
ทั้งใต้ใบและบนใบ ติดต่อกัน 3-4 ครั้ง หรือฉีดพ่นทุก ๆ 5-7 วัน/ครั้ง
ควบคุมและกำจัดไม่ให้โรคราน้ำค้าง ไบโอเซ็นเซอร์(บาซิลลัส ซับทิลิส)กับอินดิวเซอร์(ไตรโคเดอร์ม่า)ยังทำหน้าที่เสมือนทหารยามที่ค่อยเฝ้าระวังไม่ให้เชื้อรากลับเขามาอีก
ผู้เขียนเชื่อว่าเมื่อปฏิบัติเป็นประจำแล้วจะไม่มีปัญหาเรื่องโรคราน้ำค้างมารบกวนหรือลดน้อยลงอย่างแน่นอน
บรรเจิด ยิ่งวงษ์
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com