ฟักทองจัดเป็นพืชฤดูเดียว ซึ่งจะจัดอยู่ในวงศ์แตง(CuCurbitaceae) ซึ่งในประเทศไทยมีพื้นที่ในการปลูกฟักทองกว่า 34,000 ไร่ ซึ่งพันธุ์ฟักทองในประเทศไทยจะแบ่งตามลักษณะทางพันธุกรรม ขนาดผลและ ชนิด ซึ่งพันธุ์ฟักทองที่มีการปลูก จะแบ่งเป็น ฟักทองพันธุ์หนัก, ฟักทองพันธุ์เบา และ ฟักทองพันธ์เล็ก โดยลักษณะของฟักทองพันธุ์หนักนั้นคือจะมีขนาดใหญ่ ลักษณะผิวด้านนอกจะขรุขระมีสีเขียวเข้มจนเกือบดำ บางสายพันธุ์อาจมีลวดลายสีเหลือง สีเขียวอ่อนแซม น้ำหนักประมาณ 5-8 กิโลกรัม ผลแป้น เป็นพู เนื้อหนาสีเหลืองและสีเหลืองอมเขียว รสชาติจะหวาน มันและเหนียว ซึ่งได้แก่ ฟักทองทองอำไพ 342(เจียไต๋), ฟักทองทองอำไพ 426(เจียไต๋), ฟักทองทองอำพัน 346(เจียไต๋), ฟักทองประกายเพชร, ฟักทองลายข้าวตอกลูกใหญ่จะเป็นพวก ฟักทองประกายเงิน และฟักทองคางคก ได้แก่ ฟักทองทองเนื้อ4, ฟักทองทองเนื้อ9 ส่วนลักษณะของฟักทองพันธุ์เบา คือจะมีผลขนาดกลาง น้ำหนัก 2-3 กิโลกรัม รูปทรงจะเป็นทรงแป้น เป็นพู เนื้อหนาสีเหลืองและสีเหลืองอมส้ม รสชาติจะหวาน มัน และเหนียว ได้แก่ ฟักทองอัสนี, ฟักทองศรีเมือง 016 และ ฟักทองฟักทองลายข้าวตอกลูกกลาง ได้แก่ ฟักทองทองคำ 443, ฟักทองข้าวตอก 573 และฟักทองบัตเตอร์นัท และสุดท้ายฟักทองพันธุ์เล็ก จะมีลักษณะเล็กกะทัดรัด น้ำหนักอยู่ที่ 0.8-1.5 กิโลกรัม รุปทรงของผลจะมีลักษณะ0แป้น เป็นพู เนื้อหนา สีเหลือง ได้แก่ ฟักทองบึงกาฬ 021 และฟักทองญี่ปุ่น
ฟักทองเป็นพืชยอดนิยมและมีคุณค่าทางโภชนาการสูงประกอบไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น วิตามินเอ วิตามินบี1,2,3,5และ6 วิตามินซี ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุแคลเซียม ธาตุโพแทสเซียมและ ธาตุเหล็ก ซึ่งพันธุ์ที่นิยมนำมาประกอบอาหารจำพวกแกง ผัด คือพันธุ์ฟักทองทองอำไพ 426(เจียไต๋) และฟักทองที่นำมาทำขนมหวานเช่นฟักทองสังขยาจะเป็น ฟักทองญี่ปุ่นและฟักทองบึงกาฬ021 นอกจากนี้ ฟักทองยังเป็นอาหารลดน้ำหนักได้อีกด้วยเนื่องจากมีกากใยที่สูงมาก มีแคลอรีและไขมันน้อย
แต่ฟักนั้นเป็นพืชที่อ่อนแอต่อโรคและเชื้อราต่างๆ ซึ่งส่งผลให้ผลผลิตนั้นลดน้อยลง โดยโรคที่เกิดจากในฟักทอง ได้แก่ โรคราน้ำค้างในฟักทอง, โรคราแป้ง, โรคใบด่าง
โรคราน้ำค้างในฟักทอง เกิดจากเชื้อรา Peronospora parasitica โดยเชื้อรานี้จะเจริญเติบโตได้ดีในสภาพอากาศหนาวและมีความชื้นสูง และสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกระยะของการเจริญเติบโตของต้นฟักทอง ลักษณะของโรคนี้ได้แก่
- ใบ เกิดจุดสีเหลืองขนานดเล็กบนใบด้านบน และจะขยายเป็นแผลสีน้ำตาลเข้มหรือเทาดำ ส่วนในใบด้านล่างของใบเราจะพบเส้นใยสีขาวหรือสีเทาของเชื้อรา
การป้องกันโรคราน้ำค้างในฟักทอง
1.การเลือกพันธุ์
: เลือกพันธ์ที่ทนทานต่อโรคราน้ำค้าง
2.การกำจัดวัชพืช
:ควรกำจัดวัชพืชที่อยู่ในแปลง เพื่อลดการอาศัยของเชื้อรา
3.การใช้สารชีวภาพ : ใช้ไบโอเซ็นเซอร์ (บาซิลัสซัพทิลิส) ในอัตราส่วน 50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดป้องกันทุกๆ 7-10 วัน ทั้งใต้ต้นและบนใบ เพื่อควบคุมไม่ให้เกิดการระบาดของเชื้อรา และหากใครที่ต้องการที่จะประหยัดในการใช้เชื้อก็สามารถนำเชื้อมาขยายได้ โดยวิธีการขยายเชื้อไบโอเซนเซอร์นั้นจะมีของที่ต้องใช้ คือ 1.น้ำ 20 ลิตร 2.แป้งข้าวโพด1/2 กิโลกรัม(สามารถใช้ แป้งมัน,แป้งข้าวเหนียวและแป้งข้าวจ้าวได้) 3.ไบโอเซนเซอร์ 100 กรัม
โดยววิธีการขยายเชื้อก็สามารถทำได้ง่ายๆคือ 1.นำแป้งข้าวโพดผสมกับน้ำ จากนั้นผสมให้เข้ากันนำไปเคี่ยวให้น้ำมีลักษณะคล้ายน้ำราดหน้า เมื่อได้แล้วตั้งทิ้งไว้ให้อุ่นหรือเย็น นำเชื้อไบโอเซนเซอร์ใส่ลงไปในอัตรา 100 กรัม ผสมให้เข้ากัน จากนั้นปิดฝาและบ่มไว้ 3-7 วัน หากนำมาใช้ เราจะใช้ในอัตรา 100 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร และฉีดพ่นในช่วงเช้าแดดอ่อนหรือช่วงเย็น
ธารหทัย จารุเกษตรพร
(ตำแหน่งนักวิชาการ บริษัทไทยกรีนอะโกร จำกัด)