0

Your Cart

No products in the cart.
THAIGREENAGRO | ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
[agrikon_wc_ajax_search]

โรคยางตายนึ่งพึงระวังป้องกันให้ทันเวลา

สำหรับเกษตรกรที่ปลูกยางพารา เชื่อว่าทุกท่านต้องเคยเจอปัญหาอย่างหนึ่งคือ “ปัญหาหน้ายางตายนึ่ง” จะมาให้ข้อมูลแบบเจาะลึกว่า หน้ายางตายนึ่งมีกี่ระดับ และจะมีวิธีการจัดการ ป้องกัน แก้ไขอย่างไร

หน้ายางตายนึ่งมีอาการอย่างไร?

ก่อนอื่นเราต้องรู้จักลักษณะอาการหน้ายางตายนึ่งก่อนว่าเป็นอย่างไร อาการที่เด่นชัดก็คือ เมื่อกรีดไปแล้ว ไม่มีน้ำยางออก ให้สังเกตบริเวณหน้ายางที่เรากรีดไป จะเห็นว่ามีน้ำยางออกน้อยมาก ซึ่งก่อนที่จะมีลักษณะน้ำยางที่ออกผิดปกติแบบนี้ อาจจะประมาณ 1 เดือนก่อนเปิดกรีด  เมื่อกรีดไปแล้วน้ำยางออกเยอะผิดปกติ พอออกเยอะก็เราก็กรีดไปเรื่อยๆ จากนั้นจากที่ออกเยอะก็จะเปลี่ยนเป็นไม่ออก แล้วน้ำยางจะเปลี่ยนเป็นจุดๆตามบริเวณผิวหน้าที่เรากรีด  หากเกิดอาการแบบนี้แนะนำให้ใส่ปุ๋ยบำรุงไว้ คือปิดหน้าไปเลย พอเดือนพฤษภาคม ให้ลองมาเปิดกรีดอีกที ถ้าตายนึ่งชั่วคราวโอกาสที่น้ำยางไหลจะไหลเป็นปกติก็ยังมีอยู่

หลังจากรู้จักอาการตายนึ่งชั่วคราวกันไปแล้ว คราวนี้มาถึงอาการตายนึ่งแบบถาวร ซึ่งจะมีอาการรุนแรงกว่า วิธีสังเกตคือ เปลือกจะมีการกะเทาะร่อนออกมา น้ำยางไม่ออก ถึงเราจะปิดหน้าไป 1 ปี หรือ 2 ปี แต่เมื่อมา

กรีดอีก จะเห็นว่าน้ำยางออกนิดเดียว ประมาณ 10-15 มีด จากนั้นก็จะไม่มีน้ำยางออกมาอีกเลย

เพราะอะไรจึงเกิดอาการหน้ายางตายนึ่ง?

อาการหน้ายางตายนึ่งเกิดจากหลายปัจจัย คือ

ปัจจัยที่เกิดจากสายพันธุ์ โดยเฉพาะสายพันธุ์กลุ่ม BPM24 เป็นสายพันธุ์ที่พอเปิดกรีดหน้าสอง จะเจอตายนึ่งเยอะมาก

ปัจจัยจากระบบกรีด เราเปิดกรีดด้วยระบบครึ่งลำต้นที่เป็นหน้ายาว หรือเปิดกรีด 1 ใน 3 หรือ 1 ใน 4 อย่างครึ่งลำต้น การกรีดที่เหมาะสมคือวันเว้นวัน แต่ถ้าลากไป 2 วันหยุด 3 วันหยุด จะเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมให้หน้ายางตายนึ่งได้มากขึ้น

เกี่ยวข้องกับการใช้สารเร่งน้ำยางที่มากเกินไป ?

เกี่ยวข้องกับลักษณะของพื้นที่ที่ปลูก หากปีไหนแล้งเยอะ หรือพื้นที่ปลูกเป็นพื้นที่แห้งแล้ง หรือหนาวจัด ยางจะมีโอกาสตายนึ่งได้มากกว่าในพื้นที่ที่มีความชุ่มชื้นดี

ปัจจัยด้านความอุดมสมบูรณ์ของดิน โดยเฉพาะดินทราย ดินลูกรัง ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ พอเราปลูกยางไป ก็มีโอกาสที่หน้ายางจะตายนึ่งได้ง่าย

การกรีดผ่าแล้ง การกรีดต้นที่ไม่ได้ขนาดก็จะมีโอกาสเกิดหน้ายางตายนึ่งได้ง่ายขึ้น

ปัจจัยอื่นๆ เช่น ตายางที่เราเอามาติดไม่เข้ากับต้น หรือลักษณะสภาพดินฟ้าอากาศ เช่น หนาวเกินไปก็มีส่วน

เราจะเห็นว่าหน้ายางตายนึ่ง ไม่ได้เกิดจากปัจจัยใดปัจจัยหนึ่ง แต่อาจเกิดจากหลายปัจจัยรวมกัน

 

วิธีแก้ไขและป้องกันอาการหน้ายางตายนึ่งด้วยผลิตภัณฑ์ทีจีเอ

ใส่ปุ๋ยสูตร21-7-14คู่กับ ภูไมท์ซัลเฟตเหลือง ที่มีบทบาทสำคัญ อย่าลืมว่าเวลาที่เรากรีดน้ำยาง ธาตุอาหารก็ออกไปกับน้ำยางด้วยและใช้อินดิวเซอร์ (จุลินทรีย์ไตรโคเดอร์ม่า)ราดรดโคนต้น ถ้าเราใส่ปุ๋ยบำรุงอย่างต่อเนื่องมาเรื่อยๆ ความอุดมสมบูรณ์ของดินมี ยางได้รับธาตุอาหารที่เหมาะสม การใส่ปุ๋ยและสารปรับปรุงบำรุงดิน จะช่วยลดปัญหาหน้ายางตายนึ่งได้

ต่อมาขอแนะนำปุ๋ยที่ใช้สำหรับยางเริ่มปลูกจนถึงก่อนเปิดกรีด ในระยะแรกมีความจำเป็นมากที่เราต้องใส่ปุ๋ย เพื่อให้ยางแตกฉัตรไว ยอดใหม่มาเร็ว และต้นสมบูรณ์ ขอแนะนำให้ใช้ปุ๋ยสูตร25-7-7 ใส่สลับกับสูตร16-11-14  เพราะถ้าใช้สูตร 25-7-7 ต่อเนื่อง ยอดจะได้รับไนโตรเจนเยอะเกิน มันจะเฟ่อ จึงควรใช้สลับกัน พอถึงปีที่ 6 เราจะได้ยางต้นใหญ่ พร้อมเปิดกรีดในปีที่ 6 หรือปีที่ 7

พอถึงช่วงเปิดกรีด แนะนำปุ๋ยสูตร21-7-14 คู่กับภูไมท์ซัลเฟตเหลือง สูตรนี้จะทำให้เปลือกนิ่ม เปอร์เซ็นต์น้ำยางข้นและน้ำยางออกต่อเนื่อง ทำให้พี่น้องเกษตรกรได้ผลผลิตน้ำยางเพิ่มมากขึ้น

ผลิตภัณฑ์ไทยกรีนอะโกร ทางเลือกที่ดีสำหรับเกษตรกรสนใจผลิตภัณฑ์ดูแลและควบคุมกำจัดโรคแมลงสามารถสอบถามข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถกดไปที่ลิงค์นี้ได้เลยค่ะ https://thaigreenagro.com/

เพจ Facebook: https://www.facebook.com/thaigreenagro?mibextid=LQQJ4d

Call Center: 084-5554205-9

ฝ่ายวิชาการ : 02-9861680-2

เว็บไซต์: www.thaigreenagro.com

IG: https://bit.ly/3cDGB44

Tiktok: https://bit.ly/3vr5zdo

Twitter: https://bit.ly/3q1DwQY

Shopee: https://shp.ee/kh94aiq

×