0

Your Cart

No products in the cart.
THAIGREENAGRO | ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
[agrikon_wc_ajax_search]

โรคตายพรายในกล้วย

วันนี้เราจะคุยเกี่ยวกับเรื่องของโรคตายพรายในกล้วย ถือว่าเป็นโรคที่เกษตรกรส่วนใหญ่นั้นมีปัญหาพูดถึงกล้วยกับคนไทยนั้นปลูกได้ทั่วภูมิภาค เป็นพืชเศรษฐกิจ เป็นพืชที่ใช้เป็นอาหาร เป็นยาเด็ก ป้อนเด็ก เลี้ยงเด็กตั้งแต่แรกเกิดหลังจากที่เริ่มเบื่อนม เราจะใช้ประโยชน์จากกล้วย กล้วยบ้านเราก็มีเยอะแยะมากมาย กล้วยน้ำหว้า กล้วยหักมุก กล้วยหอม กล้วยไข่อะไรต่างๆเหล่านี้ ปัญหาที่สำคัญก็คือเรื่องของตัวโรค ตัวโรคพืชนั้นก็ที่มีปัญหากับกล้วย

ในวันนี้คือเรื่องโรคตายพราย อาการของโรคตายพรายส่วนใหญ่มารบกวนหรือระบาดในกล้วยที่มีอายุ 4-5 เดือนขึ้นไป การเกิดโรคตายพรายในกล้วยนี้ก็มีมากมายหลายสาเหตุ นั่นก็คือว่าถ้าเอาหน่อ หรือ ต้นพันธุ์ ที่มีเชื้อโรคปนเปื้อนมาตั้งแต่เริ่มแรก อันนี้พอตั้งหลักได้ สปอร์ของเชื้อราฟิวเซอเรียม ออกซีสปอตัม เบนคูเซ่ ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคตายพราย เขาก็ฝังอยู่ในเง้าเมื่อสภาพแวดล้อมเริ่มนิ่ง หมายความว่ากล้วยก็ตั้งตัว ความชื้นเหมาะสม เชื้อที่ติดมาตั้งแต่หน่อหรือต้นพันธุ์นั้นเขาก็สามารถที่จะค่อยๆปรับตัวก็นอกจากสปอร์และก็เข้าทำลายเซลล์หรืออีกทางหนึ่งสมมติว่าได้หน่อกล้วยที่ผู้ปลูกมีความรู้ เกษตรกรมีความรู้ นำหน่อกล้วยมาจุ่ม มาชุบ ในน้ำที่แช่สปอร์ของไตรโคเดอร์ม่า หรือแช่ในน้ำที่มีบาซิลลัส ซับทิลิส ของไทยกรีนอะโกรมีชื่อว่าอินดิวเซอร์ เป็นไตรโคเดอร์ม่าที่มีใบรับรองจากกรมวิชาการการเกษตร หรือ บาซิลลัส ซับทิลิส อีกตัวหนึ่งเป็นแบคที่เรียที่ปราบโรคก็คือตัว ไบโอเซ็นเซอร์ คือชื่อการค้า เราสามารถใช้ตัวไตรโคเดอร์ม่าหรืออินดิวเซอร์หรือเลือกเป็นตัวบาซิลลัส ซับทิลิส อย่างละ 50 กรัม อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ เอามาผสมน้ำ 20 ลิตร และใช้จุ่มหน่อกล้วย เพื่อป้องกันไม่ให้สปอร์ของฟิวเซอเรียมที่เป็นสาเหตุของโรคตายพรายเข้ามาระบาดในหลุมปลูก ในแปลงปลูกกล้วยของเรา กรณีที่ 1 ก็คือติดมากับต้นพันธุ์ กรณีที่ 2 คือ เรามีความรู้ เราเข้าใจ เราทำลาย หรือเราเอาจุลินทรีย์ที่เป็นปฏิปักต่อเชื้อตัวนี้เอามาคุมมันก่อนจะสู้ไหวหรือไม่ไหวอีกเรื่องหนึ่ง เราเอาจำนวนมากมาข่ม ให้มีไตรโคเดอร์ม่า ให้มีบาซิลลัส ซับทิลิส อยู่ที่เน่าของกล้วยเยอะๆไว้ก่อนยังไงจุลินทรีย์ที่นิสัยไม่ดีเขาก็จะค่อยๆอพยพโยกย้ายไป เราคุยถึงสาเหตุที่ 3 สมมติว่าต้นพันธุ์ก็เลือดดีแล้ว ป้องกันจุลินทรีย์แล้ว มันก็ยังมีการเกิดโรคที่ดินได้ ถ้าดินบริเวณนั้นมีหลุมปลูก รดน้ำ เปียกแฉะ ฉ่ำ คือ ถึงแม้ว่ากล้วยจะชอบความชุ่มชื้นแต่ไม่ได้หมายความว่าเปียกแฉะ เพราะฉะนั้นดินบริเวณหลุมปลูกของกล้วยนั้นไม่แฉะจนนำพาหรือสร้างสภาพแวดล้อมให้เกิดโรคตายพรายได้ง่ายๆอันนี้ต้องไปสังเกต เฝ้าระวัง กรณีที่ 4 สาเหตุที่โรคตายพรายจะเกิดบางทีถ้าเราไปแหวก ไปขุดดูที่โคนของต้นกล้วย เราไปขุด แหวก เจาะ ดูปรากฏว่ามีพวกหนอนกอ ด้วง ด้วยเหมือนกันที่ทำให้เกิดสาเหตุของโรคตายพราย พวกหนอนกอ พวกด้วงที่กัดกินราก ทำให้เกิดบาดแผล เมื่อมีบาดแผล เชื้อฟิวเซอเรียมก็เข้าไป ฟิวเซอเรียมเป็นขาโหดถือว่ามีความแข็งแกร่งจนบางตำรา ครูบารอาจารย์ที่บอก ไม่สามารถที่จะใช้เชื้อจุลินทรีย์ชีวภาพเข้าไปป้องกันหรือ กำจัดได้ แต่เนื่องด้วยว่า เราก็ต่อสู้กับเรื่องนี้ในแนวทางที่ไม่ใช้สารพิษแม้แต่หยดเดียวมายาวนาน เรารู้ว่าการเติมประชากรของจุลินทรีย์ที่นิสัยดีๆ เช่น ไตรโคเดอร์ม่า บาซิลลัส ซับทิลิส สายพันธุ์ที่มันยับยั้ง ทำลายพวกเชื้อโรค ก็มีประชากรจุลินทรีย์ที่นิสัยดีๆ เชื้อโรคก็เข้ามาอาศัยอยู่ไม่ได้ เรารู้สาหตุของการเกิดโรค หรืออาจจะเป็นในห้วงช่วงที่ผ่านร้อนแล้งยาวนานสปอร์ของเชื้อราฟิวเซอเรียม ออกซีสปอตัม เบนคูเซ่ ก็ปลิวมาร่วงหล่นในช่วงฝนแรกของฤดู ในช่วงที่หมอกจัด น้ำค้างเยอะ ตัวนี้เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้สปอร์ของเชื้อราฟิวเซอเรียม สายพันธุ์ที่ทำให้เกิดโรคตายพรายนั้นเกิดในแปลงกล้วยของเราได้เช่นเดียวกัน วิธีการที่เราจะป้องกันรักษา ตามสไตล์ของไทยกรีนอะโกร หรือ ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ เราจะเน้นในเรื่องของการล้างใบ ทำลายสปอร์ จากสารสกัดจากเปลือกมังคุด จากกลุ่มของพวกจุลสีบวกซิลิสิคบวกทองแดง สามารถใช้ตัวนี้และสารสกัดจากเปลือกมังคุด ผงจุลสีชื่อ ฟังก์กัสเคลียร์ สารสกัดจากเปลือกมังคุดชื่อแซนโธไนท์ ถ้าท่านปลูกกินกันเองในครัวเรือน ก็หมักเองก็ไม่ต้องเสียตัง และเอาผงจุลสี ทองแดง แมงกานีส ซิลิสิคแอซิด เอามารวมและผสมน้ำฉีด ตัวนี้จะช่วยทำลายสปอร์ที่ร่วงหล่นในระยะแรก ให้สปอร์แตก มันจะทำลายสปอร์ ถ้ามันยังเล็ดลอดอยู่บ้าง สมมติถ้ามา 100 % สปอร์มีแน่นอนเพราะธรรมชาติการปลูกกล้วยนั้นยิ่งปลูกเชิงเดี่ยวยังไงก็หนีให้พ้นจากโลกแมลงศัตรูพืชรบกวนได้ยาก เมื่อเป็นเซลล์แบ่งตัวมาทำลายเราก็ต้องใช้พวกจุลินทรีย์ไตรโคเดอร์ม่าหรือบาซิลลัสซับทิลิส ฉีดเพื่อตามไปยับยั้งตัวที่มันนอกจากสปอร์เป็นเซลล์อีกทีหนึ่ง หรือบางคนอาจจะใช้วิธีเทคนิคที่ทำให้กล้วยมีความแข็งแรงเหมือนนักมวย เหมือนไก่ชนก็ได้ คือทำให้ดูแลตั้งแต่ดิน ปรับค่าความเป็นกรดและด่างของดินให้ได้ PH หรือค่าความเป็นกรดด่างอยู่ระหว่าง 5.8-6.3 คือต้องเป็นกรดเล็กน้อย ไม่ใช่เป็นกรอต่ำกว่า 5.8 กรดจัดก็ไม่ดี ด่างจัดก็ไม่ดี เขาก็จะละลายพวกกลุ่มจุลธาตุ ทองแดง แมงกานีส ออกมามากเกินไป จับตรึงฟอสฟอรัส กล้วยดูดขึ้นมาใช้งานไม่ได้ เมื่อดินเป็นกรดหรือด่างจากไนโตรเจนก็ระเหยรวดเร็วกล้วยก็กินไม่ได้ ทำให้กล้วยไม่ได้รับสารอาหารที่เพียงพอ ก็ทำให้อ่อนแอเหมือนคนโตมาด้วยการกินไขมันเยอะก็อ้วนเกินไป กินไม่กินผักไม่กินวิตามินก็ผอมแห้งตัวเหลืองซีด เลือดออกตามไรฟัน ผมร่วง ก็ได้เช่นเดียวกันนั่นคืออ่อนแอตั้งแต่โดยธรรมชาติ คือการกินอาหารที่ไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ จะให้ดีต้องใช้พวกหินแร่ภูเขาไฟ ที่มี ซิลิก้าที่ละลายน้ำได้ อย่างพวกภูไมท์ ภูไมท์ซัลเฟต ถ้าเป็นพวกเกรดพรีเมี่ยม พวกพูมิช พูมิช-ซัลเฟอร์ ความแตกต่างคือค่าความสามารถในการจับตรึงหรือแลกเปลี่ยนประจุ C.E.C ค่าความสามารถในการจับตรึงแร่ธาตุสารอาหารประจุต่างๆเก็บเป็นอาหารเป็นตู้เย็นไว้ให้กับกล้วย กล้วยมีความแข็งแรง ต้านทานต่อโรค ขนาดหนอนยังเข้าทำลายได้ยาก ถ้าเป็นพวกเชื้อราทั่วๆไปก็ยิ่งทำลายได้ยากกว่า ทำให้กล้วยเรานั้นมีโอกาสเจ็บป่วย ได้น้อยกว่ากล้วยที่ไม่มีหินแร่ภูเขาไฟ ที่สำคัญ กล้วยที่ได้รับหินแร่ภูเขาไฟ ได้รับแร่ธาตุสารอาหารที่ครบถ้วน สมบูรณ์ เขาก็จะมีรสชาติที่หอมหวาน อร่อย สีสวยเหมือนกับข้าวหอมมะลิที่ปลูกบนพื้นที่ภูเขาไฟ แถว จ.บุรีรัมย์ จ.สุรินทร์ จ.ศรีสะเกษ หอม หวาน อร่อยเหมือนทุเรียนภูเขาไฟ ที่ศรีสะเกษ สุรินทร์ ก็เป็นโซนภูเขาไฟ อีกเรื่องหนึ่งถ้าเรามีปัญหาในเรื่องของหนอนเราจะใช้เชื้อ บีที ราดไปที่โคนถ้ามีปัญหาเรื่องหนอน ด้วงแรดจะต้องใช้พวกบูเวเรีย เมธาไรเซียม โดยที่เรามีมาตรฐานออแกนิคไทยแลนด์ มาตรฐานไอโฟม มีทะเบียนรับรองจากกรมวิชาการเกษตร คือบูเวเรีย เมธาไรเซียมจะชื่อว่า ฟอร์แทรน 2 ตัวนี้ถ้าเราใส่ไว้ที่โคนต้น และ บีทีหรือแบคเทียร์ จะเป็นตัวช่วยทั้งเรื่องหนอน ด้วงแรด ไม่ให้เข้ามาอาศัยอยู่ที่โคนต้นกล้วย ความเสี่ยงในเรื่องของการรากกล้วยถูกทำลาย ก็ลดน้อยถอยลง โอกาสเกิดแผลและทำให้เชื้อราฟิวเซอเรียม เข้าทำลายก็น้อยลง สิ่งต่างๆเหล่านี้เราจะทำเอาจุลินทรีย์ชีวภาพที่เป็นปฏิปักต่อแมลง หนอน ศัตรูของกล้วยทำให้เกิดบาดแผลและนำไปสู่การติดเชื้อฟิวเซอเรียม คือต้องเติม ฉีด พ่น ถ้าเราสังเกตบริบทสภาพแวดล้อมสวนข้างๆ สวนเพื่อนบ้าน หรือในพื้นที่นั้นมีการระบาด เราต้องรีบเข้ามาบริหารจัดการในส่วนของเราหากเกษตรกรท่านใดสนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ

เขียนและรายงานโดย ทีมงานชมรมเกษตรปลอดสารพิษ

สอบถามเพิ่มเติมที่ 02-9861680-2 หรือ โทร 084-5554210 Hotline สายด่วน 084-5554205 -9 หรือ @thaigreenagro

เสนอติชมได้ที่ Email : thaigreenago@gmail.com

 

 

Line Official: https://lin.ee/3M1NXzf
Call Center: 084-5554205-9
ฝ่ายวิชาการ : 02-9861680-2
เว็บไซต์: www.thaigreenagro.com
Lazada: https://bit.ly/2XkPgUr

×