นอกจากโรคที่ต้องระวังในสวนของมะยงชิดแล้วต้องระวังแมลงที่จะเข้ามาทำลายผลและลำต้นของมะยงชิดอีกด้วย
วันนี้ทางชมรมจะมาพูดเกี่ยวกับแมลงศัตรูที่สำคัญที่พบเจอในสวนมะยงชิดนั้นเอง โดยตัวแรกได้แก่
เพลี้ยไฟ (Thrips) เป็นแมลงขนาดเล็ก
ลำตัวยาว 1-2 มิลลิเมตร
ตัวอ่อนจะมีสีเหลืองและตัวแก่จะมีสีน้ำตาลปนเหลืองปีกมีขนเป็นแผง
และมักจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม
โดยลักษณะการเข้าทำลายนั้นตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะใช้ปากเจาะดูดน้ำเลี้ยงจากพืชบริเวณใบอ่อน
ยอดอ่อน ตาใบ ช่อดอก ฐานรองดอก และ ขั้วของผลอ่อน
บริเวณที่โดนทำลายจะมีอาการใบหงิก มีสีขาวซีด
ถ้ามีการเข้าทำลายที่รุนแรงบริเวณนั้นจะเป็นรอยด่างสีน้ำตาล เหี่ยวแห้ง น้ำยางไหล
ผิวเปลือกขรุขระ โดยจะแพร่ระบาดในฤดูร้อนหรือสภาพอากาศแห้งแล้ง
โดยเฉพาะในระหว่างเดือนมีนาคม-พฤษภาคม เพลี้ยจักจั่น (Hopper) เพลี้ยจักจั่นมะปรางส่วนหัวจะโตและป้าน ลำตัวเรียวแหลมมาทางด้านหาง
ลำตัวสีเทาปนดำหรือสีน้ำตาลปนเทา เคลื่อนไหวได้รวดเร็วเพราะมีขาคู่หลังที่แข็งแรง
ลักษณะการเข้าทำลาย จะเข้าทำลายใบอ่อน ยอดอ่อน และ ช่อดอก ซึ่งระยะที่จะสร้างความเสียหายในมะยงชิดคทอช่วงกำลังออกดอก
โดยจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากช่อดอกส่งผลให้ช่อดอกแห้ง ดอกร่วง ติดผลน้อยในระหว่างที่ดูดกินน้ำเลี้ยงจะถ่ายสารที่มีความเหนียวซึ่งจะทำให้เกิดราดำ
ส่งผลทำให้พื้นที่ใบถูกทำลายและลดการสังเคราะห์แสง ใบบิดโค้งและมีอาการปลายใบแห้ง
มักจะระบาดในช่วงฤดูฝน แมลงค่อมทอง เป็นตัวเต็มวัยของด้วงงวงขนาดกลาง
มีเส้นแบ่งกลางหัว อก ปีกที่ชัดเจน ส่วนหัวสั้นทู่ยื่นตรงไม่หุ้มเข้าใต้อก
เพศผู้มีขนาดเล็กกว่าเพศเมีย แมลงค่อมจะอยู่เป็นคู่หรือรวมเป็นกลุ่ม
เมื่อต้นมะยงชิดได้รับความกระทบกระเทือนแมลงค่อมทองจะทิ้งตัวลงสู่พื้น
ลักษณะการเข้าทำลาย เมื่อโตเต็มวัยจะเข้าทำลายพืชได้หลายชนิดทั้งมะยงชิด มะปราง
มะม่วง โดยจะกัดกินใบพืชช่วงแตกใบอ่อนซึ่งจะมีลักษณะกัดเป้นเว้าๆแหว่งๆ
แต่ถ้ารุนแรงมากๆจะเหลือแต่ก้านใบ จะระบาดหนักในช่วงที่มีอากาศเย็นและมีหมอก ด้วงงวงกัดใบมะปราง (Leaf cutting
weevil) เป็นแมลงขนาดเล็ก ลำตัวยาวประมาณ 3-4 มิลิเมตร กว้างประมาณ
1.2-1.5 มิลลิเมตร งวงยาวมากเกือบครึ่งลำตัว หัวและอกสีส้ม ตากลมใหญ่สีดำ
ตัวเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ ปีกแข็งสีน้ำตาลปนขาว โดยลักษณะเข้าทำลายจะกัดกินเฉพาะใบอ่อนเท่านั้น
โดยตัวเมียนั้นจะวางไข่ด้านบนของใบอ่อนเมื่อวางไข่เสร็จแล้วจะกัดใบให้ห่างจากขั้วใบ
1-2 เซนติเมตร เพื่อให้ใบอ่อนที่มีไข่ติดร่วงลงสู่ดิน
โดยจะแพร่กระจายในช่วงที่มะยงชิดแตกใบอ่อน สามารถพบได้ตลอดทั้งปี
โดยวิธีการกำจัดแมลงเหล่าสามารถใช้ บูเวเรียที่ใช้สำหรับแมลงปีกอ่อน เช่น เพลี้ยไฟ
เพลี้ยจักจั่น แมลงค่อมทอง และ ฟอร์แทรนสำหรับกำจัดแมลงปีกแข็ง เช่น
ด้วงงวงกัดใบมะปราง โดยใช้ในอัตรา 50 กรัม ต่อ น้ำ 20 ลิตร ผสมให้เข้ากัน
ฉีดพ่นในช่วงเช้าที่มีแดดอ่อนหรือช่วงเย็นเพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น
หากสนใจข้อมูลเพิ่มเติมหรือต้องการปรึกษาปัญหาด้านการเกษตรปลอดสารพิษ
ติดต่อสอบถามได้ที่ https://thaigreenagro.com/
บทความโดย นางสาวธารหทัย จารุเกษตรพร
ตำแหน่งนักวิชาการเกษตร
บริษัทไทยกรีนโกร จำกัด

