0

Your Cart

No products in the cart.
THAIGREENAGRO | ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
[agrikon_wc_ajax_search]

เทคนิคการทำมะม่วงนอกฤดูปลอดสารพิษ

มะม่วงมีสารแพคโคลบิวทราโซลสารแพคโคลบิวทราโซลเป็นสารที่ทำหน้าที่ในการควบคุมการทำงานของสาร GA ทำให้หยุดสร้างยอดอ่อน เมื่อหยุดการสร้างยอดอ่อนก็ทำให้เกิดการสะสมแป้งและน้ำตาล ส่วนใหญ่เราจะเก็บมะม่วงในช่วงเดือนเมษายน  หลังจากเก็บเกี่ยวแล้วก็อาจจะต้องใส่ปุ๋ยบำรุงต้น กิ่ง ก้าน ใบ ตามสภาพแวดล้อมของมะม่วงในแต่ละท้องที่ ในแต่ละพื้นแผ่นดิน ที่มีความแตกต่างกัน แน่นอนครับว่าหลังที่เก็บเกี่ยวไปแล้ว ความอุดมสมบูรณ์ดินถูกดูดกินไปใช้เลี้ยงดอกผลและก็ถูกเก็บเกี่ยวผลผลิตออกไป ต้นละร้อยกิโลแปดร้อยกิโล สามร้อยกิโลก็ว่าไป ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ ผลผลิตที่ออกจากสวนจากแปลงไป นำเอาปุ๋ย อาหารและความอุดมสมบูรณ์นั้นออกไปด้วยเมื่อเก็บเกี่ยวมะม่วงแล้วก็ต้อง บำรุง คนที่ทำมะม่วงเป็นสวนอินทรีย์ ทำแบบโคกหนองนาเล็กๆน้อยเนี้ยก็จะต้องบำรุงด้วยปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก ปุ๋ยน้ำชีวภาพที่มีส่วนประกอบของไนโตเจน ที่ค่อนข้างสูง แต่ถ้าเป็นดินทรายแล้วทำธุรกิจเกษตรทำเป็นอาชีพ เก็บ 5ไร่ 10 ไร่ ยังต้องบำรุงปุ๋ยยังชัดเจน อย่างก็ต้อง ต้องใช้ปุ๋ยสูตรเสมอ 15-15-15 , 16-16-16 รวมกับปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก หรือรวมกับ 46-0-0 หลังจากที่เราได้มีการเก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้ว เราต้องบำรุงต้นให้มีความอุดมสมบูรณ์พร้อมที่จะได้ทำการตัด แต่ง กิ่ง  การตัด แต่ง กิ่ง มะม่วงนอกฤดูมีความสำคัญ เพราะว่าเรามีความมุ่งมั่นที่จะได้ผลผลิตที่เต็มเม็ดเต็มหน่วย อาหารทุกหยดทุกเม็ดต้องไม่ศูนย์เสียไปกับกิ่ง ก้าน ใบ ที่เป็นส่วนเกิน หรือเป็นกาฝากเพราะว่าจะทำให้เราสินเปลืองปุ๋ยไปโดยปล่าวประโยชน์ เพราะฉะนั้นการบำรุงหลังเก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้ว เราต้องตัดแต่ง กิ่ง ทรงพุ่ม ให้อยู่ในร่มเหงา กิ่งกระโดน กิ่งน้ำค้าง ก็ต้องตัดออกให้หมด เพื่อให้แสงแดดนั้นส่องถึงใบที่มีคอลลาซิวสีเขียว ช่วยในเรื่องของการสังเคราะห์ เปลี่ยนพลังเป็นคอนบอน คาร์โบไฮเดรท และก็สังเคราะห์เป็นกรดอะมีโนต่างๆ ไปเลี้ยงส่วนต่างๆของมะม่วงเรา หลังจากที่เราตัด แต่ง กิ่ง และก็ดูแลก็ฉีดพ่นพวกจุลธาตุทางใบ 7 วัน/ครั้ง หรือ 15วัน/ครั้ง ก็ขึ้นอยู่กับความพร้อมความอุดมสมบูรณ์ของต้นและที่สำคัญผมก็คิดว่าองค์ความรู้และประสบการณ์ของเกษตรกรผู้ปลูกมะม่วงนั้นก็มีความสำคัญ ไม่ใช่หลับหูหลับตาฉีดบำรุง พ่น ปุ๋ยยาฮอร์โมน เป็นนกแก้วนกขุนทองตามที่เซลล์ได้แนะนำ  หรือนั้นอาจจะทำให้กำไรของเรานั้นลดน้อยถอยลงได้ เพราะฉะนั้นการจะใส่ปุ๋ยในรอบต่อๆไปก้ต้องสังเกตุสีใบว่ามันเหลือง มันซีด หรือเซลล์มันขาดแคลนอะไรหรือเปล่า แต่ถ้าใส่ปุ๋ยทางดินไปเรียบร้อยแล้ว ถ้าเราปลูกมะม่วงเป็นมืออาชีพปลูกเป็นทำธุรกิจเพื่อขายเนี้ย การให้กลุ่มของธาตุลอง ธาตุเสริมอย่างพวกเหล็ก ทองแดง แมกกานีท สังกะสี โบรอน ลิคเกิน ทองแดง ไคโตซาน ซิลิก้า ก็มีความจำเป็นก็ต้องฉีดพ่นด้วย เช่นเดียวกัน เราก็จะบำรุงล่อเลี้ยงไปประมาณสักเดือน กรกฎาคม สิงหาคม ในช่วงนี้ก็จะมีใบอ่อนแตกสร้างแม่ครัวปลุงอาหารขึ้นมาอาจจะเป็นสักรุ่นสองรุ่น เราก็ต้องทำการบำรุงฉีดพ่นสูตร 1-1-4 ในช่วงที่เดือนกรกฎาคมกับสิงหาคม เพื่อสะสมอาหารหรือฉีดสูตร พวก 0-52-34 ในที่นี้ผมยังไม่อยากให้ใช้พวก ไพโอยูเรีย หรือพวกสารอื่นๆที่ทำให้ออกนอกฤดูแบบที่ประชาชนคนทั่วไปทำ เราสามารถทำในรูปแบบที่ปลอดภัยได้ สูตร 1-1-4 เรามีสัดส่วน อัตราที่ใช้แจก สูตรสะสมใบแก่ให้พร้อมกันทั้งสวน เราต้องใช้ตั้งแต่ช่วงเดือนกรกฎาคมกับสิงหาคม ในช่วงถ้าเพื่อนๆได้อ่านในครั้งก่อนเกี่ยวกับการเรื่องเปิดดอกให้ติดตั้งยอดถึงโคน ก็จะใช้หลักการเดียวกันว่าเราก็ต้องทำความสะอาดโคนต้น ทำไมต้องใช้สูตรเรโช ไนโตรเจน 1 ฟอสฟอรัส 1  เคหรือโพแทสเซียม 1 เพราะว่าเราต้องการให้ มะม่วงนั้นมีการออกดอกพร้อมเพียงกันทั้งสวน แล้วถ้าบังเอิญมีฝนนอกฤดู เราอาจจะต้องใช้สูตรยับยังใบอ่อนป้องกันผลร่วงเพราะว่าในช่วงนี้บางทีก็มีฝนหลงฤดู เกิดขึ้น เพราะฉะนั้นเวลาที่เราทำมะม่วงเป็นอาชีพ  สูตรยังยังใบอ่อนเนี้ยก็จะมี สูตร 0-52-34 โพแทสซียม ฟอสเฟต นั้นเอง  อัตราประมาณสัก 30 กรัม  และก็ 0-0-50 โพแทสเซียมซัลเฟต 50 กรัม แล้ว บวก น้ำตาลทราย 50 กรัม ฮอร์โมนไข่  50 ซีซี และไคโตซาน ประมาณ 10 ซีซี แล้วก็ผสมในน้ำ 20 ลิตร เวลาเราเจอฝนหลงฤดู ส่วนทางดินเราจะใช้ปุ๋ยละลายช้า 1-1-4  แล้วเราก็แดบำรุงทางใบด้วยโยการใช้ กลุ่มของจำพวกจุลธาตุ หรือสารสกัดจากเปลือกกุ้ง กระดองปู แกนปลาหมึก เผื่อบำรุงใบให้ได้รับทั้งธาตุรองธาตุเสริม ช่วงนี้เราอาจจะบำรุงถ้ามีช่อดอกเกิดขึ้นจะมีปัญหามากถ้าในกรณีที่มี เพลี้ยไฟ ไรแดง เพลี้ยไฟไรแดงของแนวชีวภาพเราจะใช้พวกบูเวเรียกับเมธาไรเซียม บูเวเรียกับเมธาไรเซียมนั้นชื่อการค้าจะชื่อว่า บูเวเรีย,ฟอร์แทรน ประมาณสัก 45 วัน มักเกิดช่อดอกสิ่งที่เราจะระมัดระวังหรืออ่อนประสบการณ์ช่วงนี้จะมีเพลี้ยไฟไรแดง เราอาจจะต้องฉีดพ่นด้วยสารสกัดจากกระเทียมพริกไทยดำหรือน้ำหมักจากข่าแก่เพื่อป้องกันเพลี้ยไฟไรแดง สูตรป้องกันเพลี้ยไฟไรแดงของเราก็จะมี กระเทียม 2 ขีด พริกไทยดำ 1 ขีด พริกป่น 1 ขีด น้ำส้มสายชู 500 ซีซี และก็หมักกับแอลกฮอร์หรือเหล้าขาว500สี เอามาฉีดในการป้องกันเพลี้ยไฟที่เราไม่สามารถมองได้ด้วยตาป่าวเห็น ในระยะที่สร้างช่อดอกแล้วก็ดูแลไปจนผลมะม่วง ถ้ามีเพลี้ยโรคแมลงราไร แต่ถ้าเป็นแฟนชมรม เราก็รู้จักกันดีในกลุ่ม 5 เสือจุลินทร์ชีวภาพ ในการป้องกันกำจัดโรคและแมลงหรือว่ามีปัญหาของแมลงศัตรูพืชเข้ามาวางไข่ก็ป้องกันด้วยขมิ้นชัน ไพร่ ฟ้าทะลายโจร ตระไคร้หอม ก้านพลู เอามาใส่ เอามาฉีดพ่นเพี่อไม่มีให้มีโรคแมลงศัตรูพืชมารบกวนพอติดผลเท่าไข่เป็ด ในช่วงนี้มีความสำคัญเช่นเดียวเราอาจจะต้องใช้กระดาษหรือถุงกระดาษในการห่อเราก็จะสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตมะม่วงนอกฤดูในช่วงสิงหาคมกับกันยายนได้หนึ่งรุ่นได้เก็บเกี่ยวผลมะม่วงที่ออกนอกฤดุกาลได้แล้วเนี้ย เราก็จะสามารถนำปุ๋ยสูตรเสมอหรือยูเรียพรมน้ำพอชื้นเป็นปุ๋ยละลายช้าคลุกผสมกับตัวภูไมท์หรือพูมิช หว่านลงไปบำรุงรอบที่สอง ถ้าปีนั้นบังเอิญในช่วง พฤศจิกายน ธันวาคม  มกราคม มีความหนาวมากเพียงพอมะม่วงชุดที่เก็บเกี่ยวนอกฤดูกาลนี้ เข้าก็จะมีความสามารถในการสะสมอาหารในความหนาวเย็นและก็ไปผลิดอกออกผล ในช่วงมกราคม กุมภาพันธ์ การดูแลบำรุงป้องกันรักษาก็จะเหมือนในช่วงที่เราทำให้เกิดการออกดอกนอกฤดูกาลในช่วงกรกฎาคมกับสิงหาคม หากเกษตรกรท่านใดสนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ

เขียนและรายงานโดย ทีมงานชมรมเกษตรปลอดสารพิษ


สอบถามเพิ่มเติมที่ 02-9861680-2 หรือ โทร 084-5554210 Hotline สายด่วน 084-5554205 -9 หรือ @thaigreenagro

เสนอติชมได้ที่ Email : thaigreenago@gmail.com

Line Official: https://lin.ee/3M1NXzf
ช่อง Youtube: https://bit.ly/3o1LAhK
เพจ Facebook: Thai Green Agro
Call Center: 084-5554205-9
ฝ่ายวิชาการ : 02-9861680-2
ไอดีไลน์: tga001-tga004
เว็บไซต์: www.thaigreenagro.com
IG: https://bit.ly/3cDGB44
Tiktok: https://bit.ly/3vr5zdo
Twitter: https://bit.ly/3q1DwQY
Shopee: https://shp.ee/kh94aiq
Lazada: https://bit.ly/2XkPgUr

×