พื้นที่ในการปลูกต้นมะยงชิดนั้นควรเป็นแหล่งที่มีฤดูฝนและฤดูร้อนที่เด่นชัดเนื่องจากต้นมะยงชิดนั้นช่วงหน้าร้อนมีความสำคัญต่อการออกดอกของมะยงชิด ช่วยชะงักการเจริญเติบโตทางใบและกิ่ง และ เมื่อมีอากาศเย็นจะช่วยให้มะยงชิดออกดอกติดผลได้ดีรวมถึงพื้นที่นการปลูกนั้นควรมีปริมาณน้ำฝนกระจายตัวและตกตามฤดูกาลหากใครที่พื้นที่นั้นมีปริมาณน้ำฝนตกน้อย ก็ควรเลือกพื้นที่ที่ใกล้แหล่งน้ำ พื้นที่แหล่งชลประทาน หรือ สร้างบ่อเก็บน้ำ เพราะว่าในระยะของการแทงช่อดอก ติดผลคือเดือน พฤศจิกายน-ธันวาคม ปริมาณฝนจะน้อยมะยงชิดนั้นต้องการน้ำเพื่อเจริญเติบโตของผลหากขาดน้ำจะทำให้ผลมีขนาดเล็ก ผลร่วง และ ผลผลิตต่ำกว่าปกติ นอกจากนี้อุณหภูมิก็สำคัญโดยอุณหภูมิเฉลี่ย 20-30 องศาเซลเซียส จะทำให้เกิดช่อดอก โดยลักษณะของช่อดอกนั้นจะเกิดบริเวณปลายกิ่งแขนงที่อยู่ภายใต้ทรงพุ่มและนอกพุ่ม ช่อดอกนั้นจะยาวประมาณ 8-15 เซนติเมตร ซึ่งจะบานในช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคมของทุกปี
การเลือกพื้นที่ในการปลูกมะยงชิดนั้นเป็นตัวกำหนดคุณภาพของผลผลิตหากปลูกในพื้นที่นาหรือพื้นที่ลุ่มใหญ่ ผิวของมะยงชิดจะเป็นสีเหลือง เนื้อนิ่มออกเละ รสชาติไม่เข้มข้นเนื่องจากดินนานั้นเป็นดินเหนียวมีน้ำและความชื้นอยู่นานทำให้ผลผลิตไม่เข้มข้น หากปลูกในพื้นที่ดินลูกรัง รสชาติจะเข้มข้น สีเปลือกจะออกส้มเข้ม สิ่งที่ต้องทำก่อนจะปลูกคือการกำหนดระยะปลูกในแปลงให้เหมาะสมคือขนาด 8*8 เมตร โดยปกติแล้วชาวสวนที่ปลูกกันจะมีเทคนิคที่แตกต่างเพื่อให้การออกดอกนั้นไม่เหมือนกัน ซึ่งจะเริ่มตัดแต่งกิ่งในช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน โดยจะติดกิ่งที่แห้งตาย กิ่งที่เบียดดกัน หรือกิ่งที่อยู่ในร่มเงาไม่โดนแสงแดด เมื่อตัดแต่งกิ่งเสร็จจะใส่ขี้วัวเก่าต้นละ 2-3 กระสอบ ปุ๋ยสูตร 8-24-24 ต้นละ 1-2 กิโลกรัม ภูไมท์ซัลเฟตเหลือง ต้นละ 1-2 กิโลกรัม ใช้ควบคู่กับ ไวตาไลเซอร์ ซึ่งตัวนี้จะช่วยในเรื่องของการเปิดตาดอก โดยจะใช้ 10 ซีซี ต่อ น้ำ 20 ลิตร โดยใส่ในช่วงเดือนกรกฎาคม-กันยายน เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนออกดอก และเมื่อถึงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม และ อากาศหนาวเย็นติดต่อกัน 7-10 วัน ยอดของมะยงชิดจะพัฒนาไปเป็นตาดอก ในแต่ละปีมะยงชิดนั้นจะออกดอก 2-3 รุ่น โดยรุ่นแรกจะออกดอกในช่วงเดือนพฤศจิกายนและเก็บผลผลิตในช่วงเดือนมกราคม รุ่นที่สองจะออกดอกในช่วงเดือนธันวาคมและเก็บผลผลิตในช่วงมกราคม และช่วงสุดท้ายจะออกดอกในช่วงต้นมกราคมและเก็บผลผลิตในช่วงมีนาคม หลังจากเริ่มแทงช่อดอกช่วงนี้จะต้องดูแลดินเป็นพิเศษ โดยจะให้น้ำ 5-7 วันต่อครั้ง จนกว่าผลอ่อนของมะยงชิดมีขนาดเท่าหัวแม่มือจะเริ่มงดน้ำ เราจะเริ่มสารกำจัดโรคและแมลงตั้งแต่ระยะเริ่มแทงช่อดอก โดยศัตรูที่จะพบมากที่สุดคือ เพลี้ยไฟ และ โรคที่พบมากที่สุดคือแอนแทรคโนสสามารถใช้ บูเวเรียในการกำจัดเพลี้ยไฟได้รวมถึงแมลงปีกอ่อน และใช้ไบโอเซนเซอร์ในการกำจัดโรคแอนแทรคโนสรวมโรคที่เกิดจากเชื้อราทางใบ โดยใช้ในอัตรา 50 กรัม ต่อ น้ำ 20 ลิตร ผสมให้เข้ากันและฉีดพ่นในช่วงเช้าที่มีแดดอ่อนหรือช่วงเย็น เมื่อถึงเวลาที่ต้องเก็บผลผลิตนั้นจะต้องใช้กรรไกรตัดผล หรือ ใช้มือเก็บเท่านั้นโดยผู้เก็บนั้นต้องมีความชำนาญและประณีตต้องดูลักษณะว่าผลแก-ผลอ่อนต้องทำงานด้วยความระมัดระวัง เพราะถ้าเก็บแรงผลจะช้ำ กว่าจะถึงผู้บริโภคผลจะเละ เรื่องการเก็บผลผลิตหลายสวนใช้ตระกร้อสำหรับสอยมะม่วงมาเก็บผลมะยงชิด ทำให้ผลช้ำ สีผิวไม่สวย เวลาขายไม่ค่อยได้ราคา เพราะผลมีตำหนิ หากสนใจข้อมูลเพิ่มเติมหรือต้องการปรึกษาปัญหาด้านการเกษตรปลอดสารพิษ ติดต่อสอบถามได้ที่ https://thaigreenagro.com/
บทความโดย นางสาวธารหทัย จารุเกษตรพร
ตำแหน่งนักวิชาการเกษตร บริษัทไทยกรีนโกร จำกัด

