หนอนกพระทู้ข้าวโพดลายจุด เป็นศัตรูที่สำคัญของข้าวโพด เดิมมีการแพร่ระบาดในทวีปอเมริกา และแพร่ระบาดเข้าสู่พื้นที่ปลูกในแอฟริกา อินเดีย และไทย
โดยวงจรชีวิตของหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด นั้นใช้เวลา 30-40 วัน เมื่อผสมพันธุ์เสร็จผีเสื้อตัวเมียจะวางไข่ในเวลากลางคืน โดยวางไข่เป็นกลุ่ม ประมาณ 100-200 ฟอง มีขนปกคลุมไข่ ผีเสื้อเพศเมียหนึ่งตัววางไข่ได้ประมาณ 1,500-2,000 ฟอง ระยะไข่ 2-3 วัน หนอนมี 6 วัย ระยะหนอน 14-22 วัน หนอนที่โตเต็มที่มีขนาดลำตัวยาว 3.2-4.0 เซนติเมตร จะทิ้งตัวลงดินเพื่อเข้าดักแด้ ระยะดักแด้ 7-13 วัน จึงเป็นตัวเต็มวัย มีชีวิต 10-21 วัน สามารถบินเคลื่อนย้ายระหว่างแปลง และอพยพระยะไกลระหว่างประเทศ หรือภูมิภาคได้
ลักษณะการทำลายของหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด
ผีเสื้อหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด เริ่มวางไข่บนต้นข้าวโพด ตั้งแต่ข้าวโพดงอก อายุ 2-3 วัน เป็นต้นไป โดยพบกลุ่มไข่ทั้งด้านบนใบ ใต้ใบ และที่ลำต้น หลังจากฟักจากไข่ หนอนขนาดเล็กจะรวมกลุ่มกัดกินผิวใบ เริ่มเห็นรอยทำลายสีขาวที่ผิวใบเมื่อข้าวโพดอายุ 6-7 วัน (10-11 วันหลังปลูก) ลักษณะเป็นจุดหรือเป็นแถบสีขาว หนอนตัวเล็กที่เพิ่งฟักสามารถกระจายไปยังต้นข้างเคียงโดยปลิวไปกับลม หนอนวัย 3-6 เป็นระยะที่ทำความเสียหายมาก กัดกินอยู่ในยอดข้าวโพด ทำให้ใบขาดเป็นรู เว้าแหว่ง ยอดกุด ระยะก่อนที่ดอกตัวผู้จะโผล่หนอนจะกัดกินเกสรตัวผู้ หลังจากใบยอดคลี่ทั้งหมด ดอกตัวผู้โผล่พ้นใบที่หุ้มอยู่ หนอนจะย้ายไปที่ฝัก กัดกินไหม และเจาะเปลือกหุ้มฝักเข้าไปกัดกินภายในฝัก ปกติหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด จะทำลายใบ อยู่ในยอดข้าวโพด ในกรณีที่อากาศร้อนจัด ก่อนเข้าสู่ฤดูฝน (เดือนกุมภาพันธ์-เมษายน) อุณหภูมิ 36-41 องศา หรือ ในช่วงที่มีอากาศร้อน แห้งแล้ง ฝนทิ้งช่วง สภาพดังกล่าวนี้ จะพบหนอน อยู่ใต้ผิวดิน กัดกินเนื้อเยื่อเจริญส่วนโคนต้น ทำให้เกิดอาการยอดเหี่ยว (dead heart) ต้นตาย ต้นข้าวโพดที่ยอดตายบางต้นมักจะมีการแตกหน่อข้าง หากดินมีสภาพเปียก แฉะ หรือ ถ้าช่วงที่มีอากาศเย็นที่ปลูกข้าวโพดฤดูแล้งหลังนา
หนอนมักจะไม่ลงมาทำลายใต้ดินบริเวณโคนต้น มักไม่พบอาการยอดเหี่ยว หรือพบน้อยกว่า
การปลูกข้าวโพดในฤดูฝน หากมีการกระจายฝนดี และสม่ำเสมอ สามารถลดความรุนแรงของการแพร่ระบาดของหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุดได้ เนื่องจากฝนจะชะล้างกลุ่มไข่ หรือหนอนที่พึ่งฟัก หรือทำให้หนอนที่อยู่ในดินที่กำลังจะเข้าระยะดักแด้ รวมทั้งระยะดักแด้ที่อยู่ในดินมีอัตราการรอดชีวิตที่น้อยลง ทำให้สามารถเว้นระยะห่างในการพ่นสารและจำนวนในการฉีดสารลดลงได้ อย่างไรก็ตามควรมีการสำรวจแปลงอย่าสม่ำเสมอ
นอกจากนี้ยังพบว่าผีเสื้อหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด มาวางไข่บนข้าวโพดอย่างต่อเนื่อง โดยจะวางไข่มากในช่วงระยะ 3 สัปดาห์แรกหลังจากข้าวโพดงอก เกษตรกรที่ปลูกข้าวโพดจึงควรหมั่นสำรวจแปลงหลังจากข้าวโพดงอก โดยสามารถสังเกตุได้จากกลุ่มไข่ และรอยทำลายสีขาวที่ผิวใบ หรือพบต้นที่โดนทำลายโดยการกัดขาดเป็นรู
วิธีการป้องกัน
ใช้สารชีวภัณฑ์ ได้แก่ จุลินทรีย์ บาซิลลัส ทูริงเยนซิส ชื่อทางการค้าแบคเทียร์ สายพันธุ์ที่ผ่านการคัดสรรในด้านการทำลาย หนอนและไข่หนอนโดยตรง สามารถปราบหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุดได้ โดยใช้ แบคเทียร์ 50กรัม ผสมกับน้ำ 20ลิตรจากนั้นผสมให้เข้ากัน ฉีดในช่วงเช้าที่แดดอ่อนหรือช่วงเย็น
หรือจะใช้ ทริปโตฝาจซึ่งเป็นหัวเชื้อจุลินทรีย์ ที่นำมาป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืช โดยอัตราการใช้คือ ใช้ทริปโตฝาจ 50 กรัมผสมกับน้ำ 20 ลิตรจากนั้นผสมให้เข้ากัน จากนั้นผสมน้ำยาล้างจาน เพื่อให้ตัวสารนั้นเคลือบกับต้นข้าวโพด
บทความ ธารหทัย จารุเกษตรพร
ตำแหน่งนักวิชาการ บริษัทกรีนอะโกร จำกัด