0

Your Cart

No products in the cart.
THAIGREENAGRO | ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
[agrikon_wc_ajax_search]

สารสกัดเปลือกมังคุด…หยุดยับยั้ง…เชื้อราที่ต้นเหตุ

วันนี้จะมาพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องของการใช้เปลือกมังคุดในการนำมาดูแลแก้ปัญหาเกี่ยวกับเรื่องของโรคที่เกิดในช่วงหน้าฝนโดยเฉพาะทุเรียน เกษตรกรที่ปลูกทุเรียนเวลามีภาวะฝนชุก ฝนชื้นดินแฉะทุเรียนจะมีปัญหาเรื่องของไฟทอปทอร่าเรื่องของไรซอฟโทเนีย ทิเทียม ฟิวซอเรียม อันนี้เป็นชื่อสามัญหรือชื่อวิทยาศาสตร์ของจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดปัญหาโรคพืชต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโรครากเน่าโคนเน่า โรคใบติด โรคขอดใบไหม้ โรคราดำ เยอะแยะมากมาย ทุเรียนนั้นถือว่าเป็นราชาผลไม้ของประเทศไทย ส่วนราชินีคือมังคุด ต้องยอมรับว่าเราส่งเสริมทุเรียนให้คนจีนได้กิน และทำให้การส่งออกทุเรียนสูงเป็นอันดับต้นๆที่ทำรายได้ให้กับประเทศไทยและสะดุดนิดหน่อยในช่วงโควิด-19 ทุเรียนตอนนี้คนจีนมีพฤติกรรมการบริโภคส่วนใหญ่เรียนแบบคนฮ่องกง คนฮ่องกงชอบทานอะไร คนจีนก็จะทานแบบนั้นด้วยเช่นเดียวกัน ถ้าแยกเป็นพฤติกรรมคนจีนตอนเหนือจะทานผลทุเรียนที่มีรสชาติหวานน้อย ถ้าเป็นคนจีนทางตอนใต้จะรับประทานทุเรียนที่มีรสชาติหวานมาก

เปลือกมังคุดเมื่อเรากินแล้วจะมีเปลือกเยอะมาก เราจึงนำมาคิดค้นวิธีเอามาทำประโยชน์ บางคนเอาไปทำยา บางคนเอาไปทำปุ๋ย บางคนเอาไปสกัดเจือจางเยอะแยะมากมาย แต่ในที่นี้เราจะนำมาใช้ในเรื่องของการป้องกันรักษาโรคในพืช ทีนี้เรามาดูว่าฝนมันชุกชื้น ดินแฉะ ที่สำคัญในช่วงดินเปียกแฉะ เราไม่ควรไปเดินย่ำเหยียบโคนต้นโดยเฉพาะทุเรียน กินทุเรียนเยอะๆอาจจะเกิดร้อนในก็ต้องตามด้วยมังคุดทานมังคุดเหลือก็เอาเปลือกผึ่งลมให้แห้งเพื่อจะได้กลับมาดูแลแก้ปัญหาลำไยที่ ใบติด ใบจุด ใบด่างใบดำ เวลาฝนตกเขาจะพาเอาสปอร์ของเชื้อโรคที่ร่องลอยอยู่ในอากาศ สปอร์เชื้อโรคก็จะมีขนาดเพียงแค่ 2-4 ส่วน 1000 มิลลิเมตร เขาสามารถปลิวร่องลอยไปตามที่ต่างๆแพร่กระจายขยายพันธุ์ไปเรื่อยๆฝนตกก็ชะลงมาที่พืช กิ่ง ก้าน ใบ ลำต้น ทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับเรื่องของเชื้อราโรคพืช เราต้องมาคิดค้นหาวิธีแก้ไข เวลากินมังคุดเสร็จนำเปลือกมาผึ่งลมให้แห้งไม่ตากแดด จะมีสารฝาดแซนโธนิน การใช้สารสกัดจากเปลือกมังคุดต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง ควรใช้แค่เพียงอัตรา 2 ซีซี การหมักขยายนั้นก็เอาเปลือกมังคุด 100 กรัม หรือ 200 กรัม เอามาสับโขกบดตำควรเป็นเปลือกมังคุดแห้งแล้ว แห้งจากการผึ่งด้วยลม เปลือกมังคุดสดไม่ดี ใช้เปลือกมังคุดที่แห้งแล้วจะบดให้เป็นผงก็ได้แล้วเก็บไว้ในตู้เย็น เวลาจะนำมาใช้เราก็เอามาสกัด จะสกัดได้ดีต้องสกัดด้วยแอลกอฮอ ใช้ได้ทั้งเมทิลแอลกอฮอและเอทิลแอลกอฮอ เวลานำมาใช้งานต้องระมัดระวัง หรือเหล้าขาวก็ได้ เมื่อเปลือกมังคุดผึ่งลมแห้งแล้วมาบด 1 ขีดหรือ 2 ขีดตามด้วยแอลกอฮอพอท่วมหรือประมาณ 500 ซีซี หมักไว้สัก 7 วัน  แล้วกรองด้วยผ้าขาวบาง เอามาใช้ครั้งละ 2-5 ซีซี ถ้าใช้อัตรามากเกินไป ยางจะไปพันตายอด เราจะฉีดตัวสารสกัดเปลือกมังคุดเพื่อไปล้างใบทำลายสปอร์เวลามีปัญหาฝนตก ฝนแฉะ ฝนชุก ฝนหลงฤดู ฝนพรำใช้ได้ทั้งในพืชไร่ ไม้ผล ผักผลไม้ นาข้าว ไร่อ้อย ไร่ข้าวโพด ไร่มัน ถั่วฝักยาว บวบ มะระ มะม่วง ลองกอง มังคุด สารฝาดจะไปช่วยล้างใบเวลาเราฉีดไปมันก็ทำให้ให้สปอร์ต่างๆหลุดล่วง ก็ไปทำลาย ถ้านำไป +ร่วมกับตัวผลจุลสี ผงจุลสีถ้าเป็นของชมรมก็จะชื่อว่า ฟังก์กัสเคลียร์ มันจะมีสารประกอบพวก ทองแดง แมงกานีส และซิลิสิคด้วย ถ้าไม่มีก็ใช้ผงจุลสีอย่างเดียวเอามาร่วม 2 กรัม ทองแดงหรือคอปเปอจะไปทำลายสปอร์ของเชื้อราโรคพืช ทำให้แตก ถูกทำลาย ลดการระบาด รุกรานของเชื้อโรคที่มากับน้ำฝนได้ดี หลักการนี้ในพื้นที่ที่ปลูกขิง ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูดต่างๆ เครื่องต้มยำทั้งหลาย ก็สามารถใช้สูตรสารสกัดจากเปลือกมังคุด 2 ซีซีกับผงจุลสีหรือฟังก์กัสเคลียร์ 2 กรัม ร่วมกับน้ำ 20 ลิตร ฉีดหลังฝนตก ทุกครั้งที่ฝนตกก็จะฉีด ตัวนี้เข้าไป จะลดการเกิดโรคเชื้อราต่างๆได้ 60-70 % ถ้าโชคดีก็จะไม่มีปัญหาเรื่องเชื้อราเลย ถ้ามีการปลูกพืชแล้วใช้หินแร่ภูเขาไฟ พวกภูไมท์ ภูไมท์ซัลเฟต หรือ พูมิช พูมิชซัลเฟอร์ รองพื้นไว้ 20-40 กิโลกรัม ต่อไร่ หรือ 1-2 กระสอบ ต่อไร่ เพียงเท่านี้ก็จะทำให้พืชต่างๆนั้นมีความแข็งแรง   หากเกษตรกรท่านใดสนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ

เขียนและรายงานโดย ทีมงานชมรมเกษตรปลอดสารพิษ

สอบถามเพิ่มเติมที่ 02-9861680-2 หรือ โทร 084-5554210 Hotline สายด่วน 084-5554205 -9 หรือ @thaigreenagro

เสนอติชมได้ที่ Email : thaigreenago@gmail.com

 

 

Line Official: https://lin.ee/3M1NXzf
Call Center: 084-5554205-9
ฝ่ายวิชาการ : 02-9861680-2
เว็บไซต์: www.thaigreenagro.com
Lazada: https://bit.ly/2XkPgUr

×