ปัญหาราสีชมพูในทุเรียนเกิดจาก เชื้อรา
คอติเซียม (Corticium Salmonicolor) ลักษณะอาการของโรคในระยะแรกพบอาการ
เชื้อราเขาทําลายกิ่งต้นทุเรียนและพบเส้นใยสีขาวบริเวณใต้ท้องกิ่งแผ่ขยายเป็นวงกว้าง
และเมื่อสปอร์พัฒนาเต็มที่จะเห็นลักษณะเส้นใยเป็นสีชมพูทำให้ใบมีสีเหลืองรวงหล่นไปคล้ายกับอาการกิ่งแห้ง
และใบร่วงและลุกลามเข้าไปทำลายท่อน้ำ ท่ออาหารของต้นทุเรียน
ทำให้กิ่งของทุเรียนบริเวณนั้นแห้งเหี่ยว และตายไปในที่สุด เชื้อราจะแพร่ระบาดโดยอาศัยลมและน้ำฝน และจะระบาดรุนแรงเมื่อมีความชื้นที่เหมาะสม วันนี้ผู้เขียนแนะนำทางเลือกใหม่ให้กับเกษตรกรป้องกันกำจัดเชื้อราสีชมพูด้วยชีวภาพ
ไม่มีสารเคมีตกค้าง
ไม่ส่งผลต่อผู้ใช้ผู้บริโภคสัตว์เลี้ยงไม่ทำลายระบบนิเวศน์
และช่วยเกษตรกรลดต้นทุนเพราะสามารถหมักขยายเชื้อได้
ชีวภัณฑ์ที่แนะนำคือ อินดิวเซอร์ (ไตรโคเดอร์ม่า)กับไบโอเซ็นเซอร์(บาซิลลัส
ซับธิลิส)ทั้งสองตัวมีคุณสมบัติในการกำจัดเชื้อราและโรคบางชนิด เช่น ราสีชมพู โรครากเน่าโคนเน่า
โรคเน่าคอรวง โรคผลเน่า โรคยางเปลือกแห้ง โรคราสนิม ฯลฯ วิธีใช้
ให้ใช้ในอัตรา50กรัมต่อน้ำ20ลิตร
ฉีดพ่นให้ครอบคลุมบริเวณส่วนบนและส่วนล่างของใบพืชด้วยรวมถึงบริเวณโคนต้นด้วย
จึงจะสามารถควบคุมเชื้อเราโรคพืชได้อย่างมีประสิทธิภาพ ฉีดพ่นทุกๆ7วันครั้ง
ควรฉีดตอนแดดอ่อนๆ ช่วงเช้าตรู่ หรือตอนเย็น เพราะอินดิวเซอร์
(ไตรโคเดอร์ม่า)กับไบโอเซ็นเซอร์(บาซิลลัส ซับธิลิส)เป็นจุลินทรีย์
จะถูดแสงแดดทำลายได้ง่าย ไม่ควรผสมพร้อมกับยาฆ่าแมลง เพราะยาจะกินกัน
ทำให้ลดทอนประสิทธิภาพ ถ้าพบระบาดมาก ควรฉีดพ่นติดต่อกัน 2 ครั้ง ใน 3-4 วัน
โดยใช้อัตราส่วนผสมเท่าเดิม
ผู้เขียนขอแนะนำเพิ่มเติมว่า ก่อนที่จะนำเชื้อ อินดิวเซอร์ (ไตรโคเดอร์ม่า)กับไบโอเซ็นเซอร์(บาซิลลัส
ซับธิลิส)ไปผสมกับน้ำฉีดพ่น ขอแนะนำให้ใช้ ม้อยเจอร์แพล้นท์(สารเปียกใบ)
เติมผสมกับน้ำก่อน โดยใช้อัตรา 20 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร แล้วจึงค่อยนำเชื้อ อินดิวเซอร์
(ไตรโคเดอร์ม่า)กับไบโอเซ็นเซอร์(บาซิลลัส ซับธิลิส)ใส่ลงไปแล้วกวนผสมให้เข้ากัน
ประสิทธิภาพของม้อยเจอร์แพล้นท์(สารเปียกใบ)ทำให้เชื้อ อินดิวเซอร์
(ไตรโคเดอร์ม่า)กับไบโอเซ็นเซอร์(บาซิลลัส
ซับธิลิส)ทำงานและมีประสิทธิภาพในการดูดซึมเข้าทำลายโรคราสีชมพูได้ดียิ่งขึ้น
บรรเจิด ยิ่งวงษ์
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com