วันนี้เรามาพูดถึงเรื่องของปุ๋ยหมัก
เราจะมาบอกเทคนิคเคล็ดลับการทำปุ๋ยหมักไม่กลับกอง
อย่างน้อยก็สิ่งที่ผมต้องการก็คืออยากให้เพื่อนๆนั้นได้มีแนวทางในการผลิตปุ๋ยหมัก
ปุ๋ยคอก ปุ๋ยอินทรีย์เอาไว้ใช้เอง เพื่อจะได้ลดต้นทุน
เพื่อจะได้เป็นทางเลือกหรือทดแทนในการใช้ปุ๋ยเคมี
จึงคิดว่าถ้าเราเอาเทคนิคการทำปุ๋ยหมักมาพูดมาคุยน่าจะได้ประโยชน์กับเพื่อนพ้องน้องพี่ไม่มากก็น้อย
ตอนนี้ปุ๋ยเคมีเรามีราคาแพง
ดังนั้นการที่เราจะใช้วัสดุที่หาได้ง่ายๆใกล้ตัวจากการประกอบอาชีพเกษตรกรรมโดยเฉพาะเศษตอซังฟางข้าว
เศษข้าวโพด พวกข้าวฟ่าง
เศษเปลือกมันอินทรียวัตถุอะไรต่างๆที่มีก็ควรที่จะเอามาปรับประยุกต์ใช้ให้มันเกิดประโยชน์
เรามีตัดแต่งกิ่ง เวลาตัดแต่งกิ่งจากการทำสวน ทำไร่ ปลูกมะม่วง ลำไย ทุเรียน
ลองกอง มังคุด รังสาด ไม้ผล ไม้ยืนต้นอะไรต่างๆ ถ้าเป็นสมัยก่อนใช้มีด ใช้เหรียญ
ฟันฉับๆหล่นลงมาที่โคน แล้วก็โกยจากโคนอาจจะทิ้งไว้วัน 2 วันให้แห้ง สัปดาห์ 2
สัปดาห์แล้วก็โกยจากในสวนแล้วก็มาสุมรวมไว้ แล้วก็เผาทิ้ง
เศษกิ่งไม้ใบหญ้าต่างๆเหล่านั้นมันคือเงิน เงินอยู่ในรูปของปุ๋ยถ้าเราหมัก
เราทิ้งไว้สักระยะหนึ่ง แต่ถ้าเราไม่เผา เราเก็บหอมรอมริด ฝากเหมือนเป็นธนาคาร
เรียกว่าธนาคารปุ๋ยหมัก เรื่องธนาคารปุ๋ยหมักเคยเขียนไว้เมื่อ 7-8 ปี ที่แล้ว
รณรงค์ส่งเสริมให้เพื่อนๆได้มาใช้
ถ้าท่านมีพื้นที่มุมใดมุมหนึ่งถ้าจะให้เก็บเป็นธนาคารปุ๋ยหมักไว้เยอะๆ ก็ทำการสับ
หั่น บด ย่อย ให้มันเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยแล้วก็เอามากองรวม
ทีนี้กองรวมธรรมดาบางทีมันอาจจะนาน เวลาที่เราจะนำมาใช้ เราอาจจะแยกไปเป็นกองๆ
ทีนี้เวลาเราทำปุ๋ยหมักกองแบบโบราณ โบราณก็ปล่อยให้มันเปื่อย ผุ พัง ย่อยสลาย
เราก็น่าจะเป็นเทคนิคแบบชมรมเกษตรปลอดสารพิษหรือไทยกรีนอะโกร
ของเราจะมีแนวทางที่เมื่อก่อนก็จะแจกเป็นเอกสารให้เพื่อนๆ
เมื่อก่อนนี้ใครมาที่ชมรมเราตั้งแต่หน้าโรงเรียนสารวิทยา หรือหน้า ม.ศรีปทุม
เราก็จะมีเอกสารแจกให้ วิถีของชมรมหรือเทคนิคของเรา เราก็จะแยกเป็นกอง
เราอาจจะทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ปุ๋ยอินทรีย์ กองละ 1 ตัน คือใช้เศษวัสดุประมาณ 1 ตัน
หรือ 1,000 กิโลกรัม แล้วก็หาร 3 หรือทำเป็น 4 ชั้น 3 ชั้น ชั้นหนึ่งอาจจะหนา 30 หรือ 50 เซนติเมตร
ทำยังไงก็ได้ให้กองเฉลี่ยละ 1,000 กิโลกรัม หรือ 1 ตัน 1
ตันใช้กว้าง x ยาว ประมาณ
2x3 เมตรแล้วก็ทำเป็นชั้นไปแล้วขึ้นไปเหยียบไปย่ำแล้วก็จะใช้มูลสัตว์อาจจะสัก
200-300 โล ก็เอามาถ้าทำ 3 ชั้นก็หาร 3 ทำ 4 ชั้นก็หาร 4 อาจจะชั้นละประมาณ 50-60
โล ถ้าทำ 4 ชั้นก็ชั้นละ 50 โล สำหรับตัวมูลสัตว์
ใครมีปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกอะไรก็โรยไปบนอินทรีย์วัตถุที่หนาประมาณ 30-50 เซนติเมตร
30-50 เซนติเมตรก็มาจากมวลสารหรืออินทรียวัตถุ เศษตอซังฟางข้าว
เศษไม้ใบหญ้าถ้ามันมีอินทรียวัตถุ เพราะว่ามีประโยชน์มากๆ
การใช้ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกมันทำให้เนื้อดินรวมตัว การระบายถ่ายเทน้ำดี
แล้วก็ช่วยเป็นบัพเฟอร์ในการที่จะเปลี่ยนสถานะความเป็นกรดและด่างได้ง่ายช่วยสร้างประจุกักเก็บเป็นบ้านให้กับจุลินทรีย์แล้วก็ในระยะยาวถ้าเราใช้นานๆ
3-5 ปีขึ้นไป
โอกาสที่จะไม่ต้องใช้ปุ๋ยเคมีก็ได้
ดังนั้นควรที่จะต้องทำเป็นปุ๋ยหมักเวลาเราทำกองถ้าไม่อยากจะกลับกองแล้วก็ให้มันได้ผลเร็วมันต้องให้อากาศ
flow ใต้ด้านล่าง ถ้าอากาศ flow ผมเคยคุยให้ฟังหรือได้ส่งเสริมไปหลายปี เป็น 10
กว่าปีมาแล้วให้ใช้ท่อ pvc เจาะรูหรือถ้าสะดวกเป็นวิถีต่างจังหวัดจริงๆส่วนใหญ่แล้วแต่ละหมู่บ้านมีไผ่สีสุกลำใหญ่ๆโตๆ
หรือไผ่ตง ไผ่อะไรก็ได้เอามาวางเรียงที่พื้นก่อนกว้าง x ยาว
ถ้าเอากองละ 1 ตัน ก็ 2x3 เมตร แต่ถ้าลำไม้ไผ่มันยาวไม่ใหญ่จะตัด
เราก็เอา 2x6x12 คูณอะไรก็ว่าไป ข้อไม้ไผ่ทำยังไงให้อากาศมัน
flow ในลำ เราอาจจะใช้มีดสับในรู ให้อากาศมัน flow ทั้งลำไม้ไผ่ ใช้มีดอีเหน็บเซาะปล้องเซาะท่อ แล้วก็วางเป็นรูปบวก
แล้วก็เอาอินทรียวัตถุวางไว้ด้านบนชั้นละ 50 เซนติเมตร
แล้วก็ใส่ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกและถ้าจะกระตุ้นให้มันเร็วก็ใช้ปุ๋ยยูเรีย ปุ๋ยยูเรียก็
46-0-0 หรือจะเป็น 21-0-0 ก็ได้ หรือ 15-0-0 ก็ได้
สูตรยิ่งตัวเลขน้อยหมายความว่ายิ่งแพงขึ้น ก็มียูเรียก็ง่ายๆใช้ยูเรียในช่วงนี้ถ้าใครมีปุ๋ยอินทรีย์
ปุ๋ยหมักจะเอาเป็นหัวเชื้อมาใส่ถ้าใครซื้อปุ๋ยอินทรีย์ทีจีเอของไทยกรีนอะโกรไปก็อาจจะมาโรยบางๆชั้นละ
1 โลก็ได้เพราะปุ๋ยหมักที่มันหมักสมบูรณ์แล้วมันจะมีพวกแอสซิโนไมซิส
พวกจุลินทรีย์ที่ย่อย พวกบาซิลลัสซับทิลิส ไตรโคเดอร์มา คีโตเมี่ยม
พวกพอลิสทีเซียม มันมาโดยธรรมชาติพวกนี้และก็พวกแบคทีเรียแกรมลบ
แต่ถ้าเป็นหน่วยงานรัฐ กรมที่ดิน หรือ กรมพัฒนาที่ดินเขาก็จะมีหัวเชื้อ พด
ต้องไปดูว่าเป็นตัวไหน
แต่ความจริงก็คือมีปุ๋ยหมักอยู่แล้วเอามาเติมได้แต่ถ้าจะเอาแบบมีคุณภาพหน่อยก็ต้องปุ๋ยอินทรีย์ตราทีจีเอ
ของเขาดี แต่โดยสรุปก็คือจะใส่หัวเชื้อหรือไม่ใส่ก็ได้แต่ปุ๋ยยูเรียใส่แล้วกระตุ้นไนโตรเจนได้เร็วกว่าหน่อย
ก็ชั้นละ 50 เซนติเมตร จากอินทรีย์วัตถุ 1,000 โล
เอาไม้ไผ่หรือท่อ pvc เจาะรูให้มีความโปร่ง
เป็นแกรมรูปบวกแล้วก็เอาอินทรียวัตถุ 1,000 โล หาร 3 ชั้นละ
50 เซนติเมตร ใส่ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก 200 กิโลกรัม หาร 3 มีมากกว่านี้ก็ไม่เป็นอะไร
ถ้าทำจะเอา 300 โล ชั้นละ 100 โล ก็ได้ ถ้ามันไม่ถึงก็ประมาณ 70 โล 60 โล
ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก แล้วก็ใส่ปุ๋ยยูเรีย ปุ๋ยยูเรียเอา 2 กิโลกรัมต่อกอง ก็เอา 2
กิโลกรัม หาร 3 ผสมน้ำราดก็ได้แล้วก็จะใส่หัวเชื้อปุ๋ยหมัก ปุ๋ยอินทรีย์
ก็คือปุ๋ยอินทรีย์ที่สำเร็จรูปแล้ว
คำว่าปุ๋ยอินทรีย์สำเร็จรูปแล้วไม่ต้องซื้อก็ได้ ที่ทำไว้แล้วมาโรยกระตุ้นมันหน่อย
แล้วก็ทำชั้นที่ 2 ชั้นที่ 3 ถ้ามีตัวหัวเชื้อปุ๋ยหมักปุ๋ยอินทรีย์จะใส่ชั้นละโล
ปุ๋ยอินทรีย์ชั้นละโล แล้วก็เอาอินทรียวัตถุมาทับบนมันอีก 50 เซนติเมตร แล้วก็ทำเหมือนกันชั้นที่
2 ก็ขึ้นไปเหยียบย่ำมันหน่อย จะให้ดีถ้าจบชั้นที่ 1
หรือจะรอราดทีเดียวตอนสุดท้ายก็ได้ก็คือจุลินทรีย์ขี้ควาย
หัวเชื้อจุลินทรีย์ขี้ควายสุดยอดการย่อยสลายอันดับ 1 ของประเทศไทยตามหลักการที่ว่าถิ่นใครถิ่นมัน
จุลินทรีย์ประเทศไทยก็ย่อยสลายเก่งในประเทศไทย
คนไทยก็ทำมาหากินถนัดที่สุดในประเทศไทย คงไม่ไปจับปลาใกล้น้ำแข็งเก่งเหมือนยุโรป
อเมริกา และแคนาดา ถิ่นใคร ถิ่นมัน
ราดรดด้วยจุลินทรีย์ขี้ควายทำไม่เป็นก็เอาน้ำสะอาดมา 20 ลิตร เอามูลวัวสด
มูลสัตว์เคี้ยวเอื้องสด ละลายน้ำสะอาด 2 กิโล กากน้ำตาล 10 ลิตร กวนให้เข้ากันกับน้ำสะอาดก่อนก็ได้
แล้วใส่มูลวัว มูลควาย มูลสัตว์เคี้ยวเอื้อง 2 โล
อยากจะฆ่าเชื้อหน่อยก็ใส่ลูกแป้งข้าวหมาก
แป้งข้าวหมากเป็ฯตัวควบคุมจุลินทรีย์ตัวร้ายไม่ให้เข้ามาเหมือนแป้งข้าวหมากไปอยู่ในข้าวหมาก
ไปอยู่ในปลาเจ่า ปลาจ่อม จุลินทรีย์ตัวร้ายก็ไม่เข้ามาหมักไว้ 7 วัน เรามาราดรด
1-2 ลิตรต่อชั้นก็ได้ปุ๋ยจะย่อยสลายได้เร็วจริง แล้วก็ทำชั้นที่ 2 อีก 50
เซนติเมตร แล้วก็ใส่ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกจาก 200 โลทั้งกอง 1 ตัน ใช้ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก
200 แต่หาร 3 ก็ 60-70 โล แล้วก็ปุ๋ยยูเรีย 200 โล หาร 3 ให้ได้ 3 ชั้น ผสมน้ำ 3
แล้วก็หัวเชื้อปุ๋ยหมัก 1 โล
ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ทีจีเอก็ได้ถ้าหาไม่ได้แล้วก็ทำชั้นที่ 3 ชั้นที่ 3 ก็ทำเหมือนเดิม
ราดรดจุลินทรีย์ขี้ควายชั้นที่ 2 เรียบร้อย ชั้น 3 ทำเหมือนเดิม
แต่ชั้นบนเอาปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกมาคลุม โปะเลย
แล้วก็ราดจุลินทรีย์ขี้ควายให้เปียกชุ่มโชกไม่ต้องกลับกอง
หมักไว้จนได้ที่คำว่าได้ที่คือต้องมีลักษณะอุณหภูมิเอามือซุกเข้าไปต้องไม่ร้อนจนชักออกคืออยู่ได้
คือต้องใกล้เคียงกับอุณหภูมิภายนอกแล้วก็ไม่มีกลิ่นเหม็น กลิ่นจะต้องคล้ายดินเลย
แล้วก็มีลักษณะเป็นสีน้ำตาลเข้ม แล้วก็เศษอินทรียวัตถุต้องจับฉีกแยกย่อยออกต่อกันได้ง่าย
อัตราส่วน cn-ratio อยู่ที่ 20 ต่อ 1 cn-ratio คือคาร์บอนต่อไนโตรเจนจึงจะได้เป็นสูตรปุ๋ยแต่ถ้าจะให้ดีสังเกตว่ามีเมล็ดพืชอะไรมันงอกขึ้นมาได้แสดงว่าค่อนข้างใกล้เคียงโดยรวมมาตรฐานของตัวปุ๋ยที่เราหมักไว้ได้คือ
cn-ratio 20 ต่อ 1 แล้วก็ได้สัดส่วน N P K ถ้าเอาไปตรวจแล็ปจะต้องไม่ต่ำกว่า 0.5 หรือตัว K จะต้องไม่ต่ำกว่า
1 N=0.5 P=0.5 K=1 ต้องไม่ต่ำกว่า 1 เหมือนที่เคยบอก
เราเคยไปหาขี้หมู มีฟอสฟอรัสเยอะ ขี้วัวนม ขี้ค้างคาว เอามาหมักหวังจะได้เป็นปุ๋ยอินทรีย์ชั้นเลิศ
เราก็ทำไม่เกิน 5 % สักที เพื่อนๆทำก็โอเครแล้วครับ
ความจริงผมว่าเราไม่ต้องไปฟิคตามบริษัทจำหน่ายปุ๋ยก็ได้ เอาให้มันได้ตามนี้
ออแกนิกส์ metter เราได้ตามมาตรฐานกฎหมาย 20% ส่วนใหญ่ที่เราทำเองไม่ได้ไปมิกซ์ไปอะไรเยอะเราจะได้ประมาณ 35% ความชื้นก็ไม่เกิน 35 เหมือนกัน ค่าอีซีหรือค่าการนำประจุไฟฟ้าไม่เกิน 35
เดซิซิเมน ต่อ เมตร pH อยู่ประมาณ 6 หรือ 6.8
ตัวนี้ก็เวลาจะไปใช้เราไม่อยากให้มันเฝือใบงามใบ
เพียงเท่านี้เราก็จะได้ตัวปุ๋ยหมักปุ๋ยอินทรีย์ที่มีมาตรฐาน มีความชื้น 35 %
มี cn-ratio 21 ต่อ 0 ค่า pH 6 – pH 6.8 ออแกนิกส์
metter หรือ อินทรียวัตถุประมาณ 35 แล้วก็ N P K อย่าให้ต่ำกว่า 0.5 ปกติแล้วต้องอยู่ประมาณนี้ ทีนี้เวลาเอาไปใช้
อยากให้เพื่อนๆทำเป็นธนาคารปุ๋ยหมักเป็นยาสามัญประจำบ้าน
ไม่ว่าเพื่อนจะปลูกอะไรใส่ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก ปุ๋ยอินทรีย์ทุกครั้ง
ทำให้มันเหมือนป่าเขาลำเนาไพรที่มีเศษกิ่งไม้ใบหญ้าร่วงหล่นมาสู่ดินทุกวัน
ทำไมป่าเขาลำเนาไพรไม่ต้องมีมนุษย์คนไปรดน้ำ พรวนดิน ใส่ปุ๋ยอยู่ทุกเมื่อ
ทำไมเขาผลิดอก ออกผล ให้ลิง เก้ง กวาง ชะนี มันกินได้ตลอด ก็เขามีกิ่งไม้แห้งหล่น
ใบไม้แห้งหล่น ผลไม้หล่น ไม้ระดับสูง ระดับกลาง ระดับล่าง ใต้ดิน บนดิน ผิวดิน มันสับเปลี่ยนแลกเป็นปุ๋ยให้กันนี่คือเขาเรียกว่าวงจรชีวิต
สัตว์ล้มตาย เกิดพืช เกิดหญ้า สลับกัน สัตว์ก็มากินพืชกินหญ้า
สัตว์ตายหญ้าก็กินสัตว์ มันก็เป็นอย่างนี้ แต่ที่สำคัญ เราใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก
ปุ๋ยอินทรีย์อยู่เป็นมิตร เป็นอาจิน มันจะลดการใช้ปุ๋ยเคมีที่มีราคาแพงได้
ดินที่มีอินทรียวัตถุ มันเหมือนสมัยโบราณ ทำไมเมื่อก่อนเราทำนาปีละครั้ง
เรียกข้าวนาปี นาปลัง ข้าวนาปี ปีหนึ่งเขาไม่เผา เกี่ยวข้าวเสร็จตอซังฟางข้าวต้นใหญ่อวบอ้วน
เวลาจะเกี่ยวต้องนาบไปทางเดียวกัน พอเกี่ยวเสร็จก็ปล่อยทิ้งสู่ภาวะหน้าแล้งจนฟางมันเปื่อย
ผุ ย่อยสลาย ทำรอบต่อไปรุ่นปู่รุ่นย่าไม่ใส่ปุ๋ยเคมีข้าวก็ดี
แต่เรามาเร่งจนลืมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2503 ก่อนถึงปี 2504 เรามี พรบ.
เศรษฐกิจสังคมแห่งชาติฉบับแรก แล้วเราก็ค่อยๆต่อมาเป็นใช้อุตสาหกรรม
ใช้การผลิตแบบรวดเร็วโดยใช้ปุ๋ยเคมีเป็นอาจิน ปุ๋ยอินทรีย์ใช้มากๆ
อินทรียวัตถุมันน้อย มันไม่มี ดินก็เป็นกรดเป็นด่าง
ทำให้เหมือนปลูกพืชในดินที่มันเป็นแก๊ส มันเป็นหินแร่ มันไม่มีความเป็นชีวิต ชีวา เพราะฉะนั้นถ้าเราใช้ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก
ร่วมกับปุ๋ยเคมี มันลดต้นทุนได้เยอะ ดินก็ดี ผลผลิตก็ไม่ลด แต่ถ้ายังมีหนี้มีสินอยู่อย่าพึ่งหยุดปุ๋ยเคมีทันที
ต้องใช้อย่างละ 50/50 แต่ถ้าจะหยุดปุ๋ยเคมีเพื่อนๆต้องปลูกใช้อินทรียวัตถุเกิน 3
ปีไปแล้ว 3
ปีก็ยังจะหยุดได้ต้องดูคุณภาพดินในช่วงนั้นด้วยว่าสะสมอินทรียวัตถุที่เป็นประโยชน์ได้
5% หรือยัง อันนั้นคือสิ่งสำคัญทีนี้หลายคนอาจจะห่วงใช้ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกมันจะเปิดดอก
อันนี้เราคุยกันบ่อยไว้ว่างๆเอาไว้ให้เพื่อนๆที่จะใช้มาถามว่าไนโตรเจนมันไม่เว่อไปหรอแต่เบื้องต้นจะบอกว่าถ้าไม่อยากให้ไนโตรเจน
overdose หรือมีผลทำให้พืชเฝือใบงามใบก่อนเอาปุ๋ยอินทรีย์ที่หมักได้ให้ไปผสมกับภูไมท์หรือพูมิช
1 ต่อ 10 ส่วน หมายถึงปุ๋ยอินทรีย์ 10 ส่วน เอาภูไมท์หรือพูมิช 1 ส่วน
มันจะกลายเป็นปุ๋ยอินทรีย์ละลายช้า ใช้ดี ใช้ยังไงใบก็ตั้งชูสู้แสงเขียว เขียวนวล
ไม่เขียวปี๋ ไม่เขียวแบบอมโรค ผสม 1 ต่อ 10 ภูไมท์ 1 ส่วน ปุ๋ยอินทรีย์ 10 ส่วน
รับรองใช้เมื่อไหร่ดินก็ดีเมื่อนั้น
มนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com