ในยุคที่ผู้คนหันมาใส่ใจสุขภาพมากขึ้น ผักสลัดปลอดสารพิษจึงกลายเป็นสินค้าที่มีความต้องการสูงในตลาด ทำให้เกษตรกรที่ปลูกผักสลัดปลอดสารพิษมีโอกาสสร้างรายได้มหาศาลได้ ไม่ใช่เรื่องยากเลยที่จะทำรายได้หลักแสนบาทต่อปี
เหตุผลที่ผักสลัดปลอดสารพิษขายดี
เนื่องจากปัจจุบันผู้บริโภคมีความกังวลเรื่องสารเคมีตกค้างในผัก ทำให้ผักสลัดปลอดสารพิษเป็นตัวเลือกแรกๆ ในการคำนึงถึงความปลอดภัยและหันมาใส่ใจสุขภาพ และผักสลัดปลอดสารพิษมักจะมีรสชาติที่สดชื่นและอร่อยกว่า มีความนุ่มของเนื้อผักที่ไม่หยาบแข็งกระด้างเหมือนผักที่ใส่สารเคมีในปริมาณมาก ผักสลัดปลอดสารพิษมีต้นทุนการผลิตที่สูงกว่าจึงมีราคาขายสูงตามมานั้นเอง ทำให้ได้กำไรมากขึ้น อีกทั้งตลาดในการส่งขายกว้าง ทั้งร้านอาหาร โรงแรม ซูเปอร์มาร์เก็ต และ โรงพยาบาล ผู้บริโภคทั่วไป ต่างต้องการผักสลัดปลอดสารพิษ
เคล็ดลับในการปลูกผักสลัดปลอดสารพิษให้ประสบความสำเร็จ
เลือกพันธุ์ผักสลัดที่แข็งแรง ทนทานต่อโรค และให้ผลผลิตสูง ขั้นตอนต่อมาที่สำคัญมากคือการเตรียมดินอย่างดี เนื่องจากดินเป็นบ้านของผัก การใช้ปุ๋ยควรใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพ ปุ๋ยอินทรีย์ ทีจีเอโกลด์ เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับดิน และใส่ภูไมท์เพื่อช่วยทำให้เซลล์พืชมีความแข็งแรงช่วยป้องกันโรคและแมลงเข้ามาทำร้ายได้อย่างดีเนื่องจากมีธาตุซิลิก้าที่ละลายน้ำได้ ทำให้ระบบน้ำที่ใช้มีการจัดการได้ง่ายและสะดวกมากขึ้นลดปริมาณการให้น้ำต่อวันได้ด้วยเนื่องจากดินจะมีความชื้นและมีอินทรีย์วัตถุในการช่วยรักษาความชื้นในดินให้เหมาะสม
สำหรับการป้องกันกำจัดศัตรูพืชใช้สารสกัดจากธรรมชาติหรือแมลงตัวห้ำตัวเบียนในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช โดยโรคเชื้อราที่พบได้บ่อยในผักสลัด
- โรคใบจุด: เป็นโรคที่พบได้บ่อยมากในผักสลัด เกิดจากเชื้อราหลายชนิด เช่น Cercospora, Alternaria ทำให้เกิดจุดสีน้ำตาลหรือดำบนใบ อาจทำให้ใบไหม้และร่วงหล่นได้
- โรคราแป้ง: เกิดจากเชื้อรา Oidium ทำให้เกิดผงสีขาวคล้ายแป้งบนใบ ทำให้ใบเหลืองและร่วง
- โรคโคนเน่า: เกิดจากเชื้อรา Pythium หรือ Rhizoctonia ทำให้โคนต้นเน่าและตาย
- โรคใบจุดวงแหวน: เกิดจากเชื้อรา Phytophthora ทำให้เกิดแผลช้ำน้ำบนใบ และลุกลามไปทั่วใบ
วิธีการป้องกันและควบคุมโรคเชื้อราในผักสลัด
การใช้สารชีวภัณฑ์: สารชีวภัณฑ์สามารถช่วยควบคุมโรคเชื้อราได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่าง เชื้อบาซิลลัส ซับทิลิส (Bacillus subtilis) โดยมีกลไกการทำงานของเชื้อคือ ผลิตสารปฏิชีวนะ เชื้อบาซิลลัส ซับทิลิส สร้างสารปฏิชีวนะที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราและแบคทีเรียได้ แข่งขันเพื่อแย่งอาหาร เชื้อบาซิลลัส ซับทิลิส แข่งขันแย่งอาหารและพื้นที่ในการเจริญเติบโตกับเชื้อโรคพืช ทำให้เชื้อโรคพืชไม่สามารถเจริญเติบโตได้ดี
กระตุ้นภูมิคุ้มกันของพืช เชื้อบาซิลลัส ซับทิลิส ช่วยกระตุ้นให้พืชสร้างสารป้องกันตัวเอง ทำให้พืชมีความต้านทานต่อโรคมากขึ้น
สำหรับวิธีการและปริมาณการใช้คือ ใช้เชื้อบูเวเรีย 50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นในช่วงเช้า และเย็นแดดอ่อนๆ ทุก 7-15 วันค่ะ
นอกจากนี้ข้อดีขของการทำผักสลัดปลอดสารพิษสามารถขอรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตร GAP ( Good Agricultural Practices ) เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับผลิตภัณฑ์ได้อีกด้วย
ตัวอย่างความสำเร็จจากการปลูกผักสลัดปลอดสารพิษปัจจุบันมีอยู่มากมายทั้วโลกและมีการเติบโตทางสายงานธุรกิจนี้เรื่อยๆ จึงมีกระแสการรักสุขภาพเพิ่มมากขึ้น มีเกษตรกรหลายรายที่ประสบความสำเร็จจากการปลูกผักสลัดปลอดสารพิษ และสามารถสร้างรายได้หลักแสนบาทต่อเดือนได้ ตัวอย่างเช่น เกษตรกรที่ใช้ระบบไฮโดรโปนิกส์ในการปลูกผักสลัด หรือเกษตรกรที่เน้นการตลาดออนไลน์นั้นเองค่ะ เกษตรปลอดภัยต้องไทยกรีนอะโกร เชื่อมั่นในคุณภาพและใส่ใจทุกกระบวนการผลิต สู่ผลผลิตที่มีคุณภาพของเกษตรกร