ดินกับน้ำถือว่ามีความสำคัญเป็นอันดับต้นๆในหลายๆปัจจัยของการทำเกษตร
ถ้าปล่อยให้ดินและน้ำเป็นกรดมากๆหรือด่างมากๆ ปุ๋ยไม่ว่ามันจะมีราคาแพงมากมายเพียงใดมันไม่ได้เกิดประโยชน์ต่อต้นไม้ของเราเลย
ดินที่มันเปรี้ยวจัด กรดจัด ค่าที่เป็นกลาง คือ 7
แต่ถ้าไปวัดด้วยแผ่นเทียบสีหรือว่าเข็มชี้วัดที่เป็นตัวจิ้มดิน ถ้ามันต่ำกว่า 5.5
หรือ 5.8 ลงมา ดินตรงนั้นเขาจะทำให้พืชไม่สามารถดูดกินปุ๋ยได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย
แล้วก็ปริมาณไนโตรเจนก็สูญสลายหายไปกับสายลม แสงแดด อย่างมาก ถ้าพืชกินจริงๆ
ก็ได้ประมาณ 30% อีก 60%-70% ก็สูญสลายหายไปกับสายลม
อากาศ แสงแดด ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญที่เกษตรกรต้องใส่ใจ ให้ความสำคัญ
เกี่ยวกับการของเรื่องการตรวจวัดค่าความเป็นกรด ด่าง ของดินเสียก่อน
การที่เราจะปลูกพืชให้มีการเจริญเติบโตนั้น
ไม่ใช่ว่ามีเงินอย่างเดียวแล้วก็ไปซื้อปุ๋ยมาใส่ได้
ค่าที่ดีที่สุดในการปลูกพืชอาจจะไม่ใช่อยู่ที่เลข 7 หรือ ค่าเป็นกลาง
เพราะว่าลำไส้ของพืช สามารถที่จะดูดกินลำเรียงอาหารได้ จะต้องอยู่ในรูปที่เป็นกรดอ่อนๆ
ลำไส้พืชคือท่อน้ำท่ออาหาร ถ้าเราปล่อยให้ค่าดินต่ำกว่า 5.8 ลงไปเป็น 5.5, 5.0
,4.5หรือ 3,2 ดินที่เปรี้ยวแบบนี้ เวลาถ้าเอามาเทสกับ
เอาดินมาละลายน้ำแล้วก็เอาดอกอัญชันแห้งขยำกับน้ำให้เป็นสีฟ้า
ถ้าดินเปรี้ยวเขาจะออกสีม่วงแดง แต่ถ้าดินเป็นด่างจะออกเป็นสีฟ้าค่อนไปทางน้ำเงินหรือถ้าตรวจวัดด้วยเมเทเลเลส
ดินที่เปรี้ยวจะออกเป็นสีเหลือง แต่ถ้าเป็นดินที่ด่างจะออกสีม่วง
ดินที่มันเป็นกรดจัดด่างจัด มีเงินอย่างเดียวเสียเงิน
เพราะว่าใส่ไปแล้วพืชไม่สามารถที่จะดูดกินลำเรียงสารอาหารเหล่านั้นไปบำรุงส่วนต่างๆของพืชได้ดี
ค่าความเป็นกรดและด่างที่ยอมรับได้ ควรอยู่ประมาณ 7 ตาถ้าดีที่สุดจะอยู่ที่
ระหว่าง 5.8-6.3 ส่วนค่าของน้ำที่เราจะเอามาผสมกับปุ๋ยยาฮอร์โมน ค่า PH ของน้ำ
หรือค่าความเป็นกรดและด่างของน้ำมีความเป็นด่างสูงขึ้นไปเป็น7,8,9,10,11,12,13
เหมือนพวกน้ำปูนขาว น้ำโดโลไมท์ น้ำฟอสเฟต พวกนี้จะต้องกันข้าม
นอกจากไม่สามารถที่จะลำเรียงแร่ธาตุสารอาหารที่อยู่ในรูปของกรดอ่อนได้ดีแล้ว
ยังไปทำลายฤทธิ์ปุ๋ยยาฮอร์โมนด้วย คือตัวน้ำเป็นด่างแต่ปุ๋ยยาฮอร์โมน
แต่ถ้าเราสังเกตดีๆข้างกล่องข้างกระป๋องหรือฉลาก ส่วนใหญ่แล้วจะลงท้ายด้วยคำว่า
แอซิด (แอซิด ที่แปลว่า กรด)
ถ้าตัวปุ๋ยยาฮอร์โมนส่วนใหญ่ในท้องตลาดอยู่รูปของกรดแล้ว ไอ้ตัวละลายมันเป็นด่าง
กรดกับด่างมาเจอกันมันจะเท่าได้แค่เกลือกับน้ำเปล่า ทำให้เราฉีดพ่น สเปร์
ลงไปในพืช พืชนั้นจะกินไม่ได้ หรือเหมือนกับกรวดน้ำกรวดไม่ตรงชื่อตรงนามสกุล
ใส่ปุ๋ยไปแล้วใส่ตามอัตราแล้วไม่ได้ผล ส่วนใหญ่จะเกิดจากสาเหตุแบบนี้
โดยเฉพาะช่วงฤดูแล้งบางทีเราได้รับปูนขาว โดโลไมท์ ฟอสเฟต จากภาครัฐหรือหน่วยงานของราชการ
เอามาจากให้ฟรี แจกไปแจกมามันกองรวมอยู่ใต้ถุนบ้าน ไม่กล้าใส่
จนมันเริ่มลกใต้ถุนบ้าน แต่แล้วก็นำไปใส่ในท้องล่อง
แต่ดีที่มันเป็นกลุ่มของแคลเซียมคาร์บอร์เนต
พวกปูนมานก็จะไซร์เอฟเฟ็คหรือผลกระทบค่อนข้างแบบค่อยเป็นค่อยไป ถ้ามันเป็นปูนขาวที่เป็นแคลเซียมไดออกไซร์
มันจะทำให้ดินเป็นด่างจัดจ้านขึ้น บางทีปูนเหล่านี้เราไม่ได้ใส่ยังตั้งใจ
พอใส่ไปปุ๊ปฝนตกชะล้างเอาปูนบนท้องล่องไหลเอาความเป็นด่างจากปูนลงไปสู่ คู
ท้องล่อง เวลาฤดูแล้งน้ำมันละเหย ความเป็นปูนมันก็จะเข้มข้น
แต่ถ้าหน้าฝนน้ำมันเยอะมันก็จะเจือจางความเป็นด่าง แต่พอหน้าแล้งน้ำมันระเหย
ก้นคูก้นท้องล่อง เราไปจ้วงเอาน้ำที่มีความเป็นด่างมาผสมกับปุ๋ยยาฮอร์โมน
หลายคนจะสัมผัสได้ด้วยตนเอง เวลาฉีดยาฆ่าหญ้าผสมน้ำด่าง ฉีดไม่ตาย เอาไปฉีดหญ้า
หญ้าก็ไม่ตาย เอาไปฉีดหนอน แมลง ก็ไม่ตาย ยานี้ข้าต้องใช้2 ช้อนแกงก็ต้องเพิ่มเป็น
4 ช้อนแกง คือเพิ่มต้นทุนโดยใช่เหตุ แต่ความจริงเราอาจจะแก้ด้วย
น้ำส้มสายชูเพื่อไปฆ่ากรดแอติซิด แอซิด หรือจะใช้กรดมะนาวกรดซิติ แอซิด ก็ได้
เอามาปรับ PH น้ำ ก็ได้ ค่าที่มันค่า 7 ลงมาให้เป็นกรด อ่อนๆ
แต่ถ้าหลายคนที่รู้จักกับทีมงานชมรมเกษตรปลอดสารพิษ เข้าจะไม่ใช้ความเปรี้ยวจาก
มะเฟื้อง มะนาว น้ำส้มสายชู อย่างเดียวมันก็จะได้แค่ความเปรี้ยว เข้าจะใช้ซิลิสิค
แอซิด ที่ได้ความเปรี้ยวแล้วก็ยังได้ตัวซิลิก้า
ที่ทำให้เซลล์พืชนั้นมีความแข็งแรงด้วย เราต้องปรับ PH PHน้ำ ที่เหมาะสมกับการทำอาชีพเกษตรกร ก็ต้องไม่ต่ำกว่า 5.5 หรือ
ต้องอยู่ที่ 5.5 แต่แตกต่างจากดินนะ
ดินจะอยู่ระหว่าง 5.8 ถึง 6.3 แต่ถ้าเป็นน้ำ การผสมใช่ว่าจะไปปรับ PHน้ำ ไว้ที่ 5.5 แล้วไปเติมปุ๋ยยาฮอร์โมนต่อให้มันลงมาเป็น 5.0,4.5
ก็ผิดอีกนะ เราก็จะใช้ซิลิสิค ใช้มะขามเปียก ใช้มะนาว มะเฟื้อง ปรับ PHน้ำ ให้ได้สักประมาณ 6.0 7 นี้คือเป็นกลาง แล้วก็ปรับให้ 6.0
แล้วก็ค่อยเติมปุ๋ยยาฮอร์โมนต่างๆ
แล้วมันจะได้การเสริมประสิทธิภาพปุ๋ยยาฮอร์โมนได้เป็นอย่างดี อันนี้สำคัญมากนะครับ
เพื่อนที่ทำอาชีพเกษตรกรรม อย่าละเลยค่าความเป็นกรดและด่าง ของดินและน้ำเป็นอันขาด
ดินต้องปรับ PH ถ้าดินเป็นด่างก็อาจจะต้องใช้กลุ่มของพวกฮิวมัสอิวมิค
โพแทสเซียมฮิวเมท หรือ พวกภูไมท์ซัลเฟตถุงสีแดง ปรับค่า PH ที่มันสูงกว่า
7 ลงมาให้ได้ 5.8-6.3 แต่ถ้า PH มันต่ำไปกว่า 8 แล้วทำยังไง
อันนี้ก็ไม่ยาก ถ้าดินมันเปรี้ยวเกินไป มันจะปลอดปล่อยไนโตรเจน
พืชไม่ได้รับแคลเซียม ที่มันปลดปล่อยไนโตเจน เพราะว่า
ไนโตรเจนส่วนใหญ่อยู่ในรูปของแอมโมเนีย รวมตัวกับความชิ้นมันเป็นด่าง
ถ้ามีปูนอยู่ในนั้นมันเป็นด่าง ด่างบวกกับด่างมันก็ไล่ไนโตรเจน
มันจะให้พืชนั้นขาดทั้งในโตรเจนและก็ขาดแคลเซียม ถ้าที่เป็นกรดจัดๆ
ดินเปรี้ยวเราจะใช้กลุ่มพวก ปูนมาน ปูนขาว โดโลไมท์ ฟอสเฟต ขี้เถ้าหัวงอกคือขี้เถ้าที่เป็นสีขาว
เอามาช่วยปรับได้ แต่ถ้าดินเป็นด่างต้องใช้พวกโพแทสเซียมฮิวเมท ฮิวมัส
ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกจะช้านิดหนึ่ง และใช้พวกภูไมท์ซัลเฟตถุงสีแดง
การทำเกษตรในหลวงรัชกาลที่ 9 ท่านเคยตรัสว่า "ปลูกพืชต้องดูดิน
เลี้ยงปลาต้องดูน้ำ " อันนี้มีความสำคัญที่จะช่วยให้เพื่อนลดต้นทุนได้
แล้วอย่าลืมให้ความสำคัญกับตรงนี้หากเกษตรกรท่านใดสนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
เขียนและรายงานโดย
ทีมงานชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
สอบถามเพิ่มเติมที่
02-9861680-2 หรือ โทร 084-5554210 Hotline
สายด่วน 084-5554205 -9 หรือ @thaigreenagro
เสนอติชมได้ที่ Email : thaigreenago@gmail.com