วันนี้เราจะมาพูดคุยกันถึงเรื่องของระยะเวลาหรือความถี่ในการที่เราจะใช้พวกสารละลายดินดาน ALS29 ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาก็มีคนได้นำตัวสารละลายดินดาน ALS29 นั้นไปใช้และก็จะมีคำถามว่าแล้วมันต้องมีความถี่ ความห่าง ช่วงระยะเวลา ใช้กันอย่างไร เดี๋ยวเราจะมาคุยกัน
มาสู่เรื่องของเรา เรื่องการเกษตร เพื่อนๆที่มีเรื่องราว มีข้อสงสัยอยากจะพูดคุยสอบถามก็ยินดี ตัวสารละลายดินดาน ALS29 ตัวนี้เราพัฒนาขึ้นมาเพื่อให้ เราจะมาใช้กันในพื้นที่ที่มีการระบายถ่ายเทน้ำไม่ดีเช่นนาข้าวที่มีน้ำท่วมขัง หรือไร่มัน ไร่ข้าวโพด ไร่แตงหรือพื้นดินที่มีการไถพรวนด้วยเครื่องจักรขนาดใหญ่ เราไถทุกปีๆ ก็เอารถแทรกเตอร์เข้ามาในพื้นที่ทุกปี รถแทรกเตอร์น้ำหนักมันหลายตัน มันใช้ผาน 7 ผาน 8 ไถ บางคนอาจจะใช้ผาน 3 ไถ ลึกหน่อยอันนี้ก็พอใช้ได้แต่ถ้าเป็นผาน 7 ผาน 8 อันนี้ก็ไถตื้นๆ แค่ 15 หรือ 20 เซนติเมตร แต่น้ำหนักที่รถแทรกเตอร์ลงมาทุกปีมันก็ไปกดทับดินที่ลึกเกิน 50 เซนติเมตร ทำให้มันเป็นดาน แน่น แข็ง เวลาฝนตก น้ำท่วม ก็จะท่วมง่าย ท่วมเร็ว ก็ชะล้างพัดพาเอาปุ๋ย เอาอาหาร เอาอินทรียวัตถุไปพื้นที่อื่น หรือในสนามกอล์ฟ ในสวนหย่อม สวนสาธารณะ ดินที่อาดินถมมาถมในพื้นที่และก็เอาไม้ล้อม มาลง มาปลูก แล้วน้ำท่วมขัง เขาก็จะใช้สารละลายดินดาน ALS29 มาช่วยเพื่อให้เกิดการระบายถ่ายเทน้ำได้ดี งานวิจัยเกี่ยวกับเรื่องของสารละลายดินดาน ALS29 เพื่อนๆที่ต้องการข้อมูลเชิงลึกก็สามารถขอกับเจ้าหน้าที่ทางไลน์อ๊อฟฟิเชียลแอคเค้า หรือเรียกสั้นๆว่า line OA หรือพี่น้องเกษตรกรชาวบ้านทั่วไปอาจจะเรียกไลน์ธรรมดาก็ได้แต่มันเป็นไลน์ที่พัฒนาต่อมาจากไลน์@ ก็สามารถขอข้อมูลการวิจัยตัวนี้ได้กับเจ้าหน้าที่ ส่งได้ทางไลน์คือไอดีไลน์ก็ @thaigreenagro เพื่อที่จะศึกษาว่าเขาวิเคราะห์ วิจัยแล้วมันเป็นยังไง มันมีที่มาที่ไปยังไงก็คือหน่วยงานของรัฐแม้แต่กรมพัฒนาที่ดิน หรือกองปฐพีวิทยา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ก็มีการวิจัยเรื่องนี้ด้วยเช่นกัน ชื่อสามัญของเขาก็จะเป็น ALS แต่ถ้าเป็น ALS29 ก็จะเป็นของไทยกรีนอะโกร มีหน้าที่ในการลดแรงตรึงผิวทำให้เกิดการแทรกซึม ทำให้ความชื้น ทำให้เม็ดดินหรือเนื้อดินคลายตัวโปร่งฟูและร่วนซุยทำให้หน้าดินในท้องไร่ท้องนา ไร่ข้าวโพด ไร่อ้อย ไร่มันดินก็จะกลับมาโปร่งฟูและร่วนซุยได้ง่ายขึ้น บางคนก็ใช้ในสวนมะม่วง สวนทุเรียน สวนลำไย ลองกอง มังคุด เพื่อให้รากเขาเดินขยาย กระจาย แผ่ สร้างรากอ่อนก็ง่ายรากใหม่เกิด ใบอ่อนก็เกิดง่าย พวกที่ต้องการให้ใบอ่อน กระตุ้นให้ใบอ่อนของทุเรียนเกิดพร้อมๆกับดอกก็จะใช้พวกสารละลายดินดาน ใช้พีช ใช้ฮิวมิกหรือโพแทสเซียมฮิวเมท ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก และก็ทำให้ดินมันนุ่มก็จะมีส่วนช่วยทำให้หน้าดิน พวกที่ใช้ปุ๋ยเคมีมาเป็นระยะเวลานาน สารละลายดินดานก็จะเป็นตัวที่ทำให้มันแน่น มันแข็ง มันก็โผล่ เวลารดน้ำฝนตกมันก็ทำให้เจือจางพวกกรดจากปุ๋ยเคมีได้อีกทางหนึ่ง ทำให้การสะสมความเข้นข้นของกรดหรือเกลือหรือด่างในดิน ถูกชะล้างไปได้โดยง่าย ส่วนการจะแก้กรดหรือด่าง หรือแก้เกลือก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่สารละลายดินดาน ALS29 ก็จะทำหน้าที่ ดินที่มันแน่น มับ แข็ง มันก็จะฟูและก็คลายตัวทำให้หน้าดินนุ่ม แต่คำถามก็จะมีมาอีกว่าจะใช้ความถี่ยังไง อันนี้ความจริงแล้วก็ในข้างขวดของเขาก็จะมีบอกว่า อาจจะใช้เดือนละครั้ง หรือถ้าดินมันแน่นมาก แข็งมาก ก็ต้องเป็น 7 วันครั้ง หรือเป็นพืชไร่ก็อาจจะทำ คลอปละ 1 ครั้ง คือปลูกครั้งหนึ่งก็ใช้ครั้งหนึ่ง แต่ถ้าเป็นไม้ที่สามารถเข้าพื้นที่ไม่หนาแน่นเหมือนข้าว เหมือนข้าวโพด เหมือนอ้อย เหมือนมัน ก็สามารถใช้ได้บ่อยๆ คำว่าใช้ได้บ่อยๆต้องดูด้วยนะครับ ถ้าเป็นไม้ที่ใหญ่โต ยืนต้น ไม้ป่าเบญจพรรณที่ไปซื้อไม้ล้อมมา ดินที่มันโฟว มันโปร่งมากๆ ก็จะมีปัญหาในเรื่องของการที่พายุฝนพัดลมแรงและก็ทำให้ต้นไม้เหล่านี้มันโค่นล้มได้ง่ายคือข้อเสีย คือใช้แค่พอว่าดินนั้นโปร่งฟูและร่วนซุยก็จะมีประโยชน์มากๆถ้าใช้ไปถี่เกินไปดินมันก็โศกมันเปราะ มันผลุ มันโปร่ง ต้นที่ต้นใหญ่ๆก็อาจจะโค่นล้มนี่พูดถึงข้อเสียกว่าจะไปถึงจุดนั้นได้บางทีก็ต้องใช้ระยะเวลาเป็นหลายเดือน หรือหลายปี ขึ้นอยู่กับลักษณะของดินด้วย แต่ที่แน่ๆสารละลายดินดาน ประโยชน์ก็จะช่วยทำให้มีพื้นที่ในการหาอาหารของรากพืชมากขึ้น ง่ายขึ้น และก็โครงสร้างที่แก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็วของสารละลายดินดาน เขาจะแก้พวกน้ำท่วมให้มันระบายเร็ว แก้พวกที่อยากปลูกต้นไม้ล้อมในหมู่บ้านจัดสรร หรือข้างบ้านที่เป็นดินถมมาแล้วปรับปรุงดินตรงนั้นให้มันโปร่งโฟว เพราะว่าดินเหนียวมันต่อให้ขุดไปแล้วเอามากลบมันก็ยังเหนียวอยู่ เหนียวทั้งหลุมที่ดินข้างก้นหลุมและก็เหนียวถ้าเอาดินเดิมกลบต้นไม้ล้อม ไม้ปลูกมันก็เหนียวอีก ตัวสารละลายดินดานเขาก็เอามาแก้ปัญหาเฉพาะหน้า แต่ถามว่าถ้าแก้ไปแล้วดินพวกนี้มันจะเปราะ โปร่ง ร่วนซุย ถ้าไม่เติมปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกปุ๋ยอินทรีย์ โครงสร้างดินก็มันเหมือนขาด เหมือนโครงสร้างบ้านที่ขาดคาน ขาดเสาเข็ม ขาดตอหม้อ เพราะว่าการทำเกษตรเราต้องไปเดินตัดหญ้า พรวนดิน ดินมันโปร่งฟูมีแต่เนื้อดิน แต่ไม่มีอินทรีย์วัตถุที่พูดนี่ก็เพื่อให้เข้าใจว่าดินที่มันเหมาะแก่การเจริญเติบโตของพืชมันต้องเป็นดินดำน้ำชุ่ม ดินดำน้ำชุ่มมันต้องมีอินทรียวัตถุด้วย มีปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก เดินเข้าไปเมื่อทำให้ดินมันคลายตัว มันไม่เหนียว มันก็นุ่ม เราเดินเข้าไปมันก็ยืดหยุ่นไม่ใช่เดินเข้าไปแล้วเหยียบดินแน่น แตก มับ แน่นเหมือนเดิม เพราะฉะนั้นสารละลายดินดานเมื่อเราแก้ปัญหาเฉพาะหน้าให้มันผ่านพ้นวิกฤตไปอย่างรวดเร็วแล้ว ควรเร่งเติมพวกปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกปุ๋ยอินทรีย์ และถ้าต้องการให้มีอาหารจากธรรมชาติแบบรวดเร็ว และตัวของเขาจะค่อยๆย่อยสลายตัวเองมาทำให้ดินนั้นโปร่งฟูร่วนซุยต่อเนื่องไปด้วย ก็แนะนำให้ใช้ภูไมท์ซัลเฟตถุงสีเหลือง ภูไมท์ซัลเฟตถุงสีเหลืองก็จะมาช่วยเติมเต็มแร่ธาตุสารอาหาร ธาตุหลัก 2 ตัว คือฟอสฟอรัสกับโพแทสเซียมแต่ไม่มีไนโตรเจน ไนโตรเจนก็ต้องพึ่งตัวปุ๋ยอินทรีย์ แล้วก็ได้แคลเซียม แมกนีเซียม กำมะถัน เหล็ก ทองแดง แมงกานีส สังกะสี โบรอน โมริบดินัม นิกเกิล ทองแดง ไทเทเนียมเข้าไป ทำให้ได้สารอาหารต่างๆ ดินที่โปร่งฟูร่วนซุยแล้วเติมภูไมท์ซัลเฟตจะทำให้เนื้อดินโครงสร้างดินที่แข็ง แข็งแรงไม่ได้แปลว่าแข็งกระด้าง คือไม่ได้ทำให้มันมับแน่นตัวเร็ว ร่วมด้วยช่วยกันกับปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกปุ๋ยอินทรีย์ ก็จะทำให้เราสามารถแก้ปัญหาเรื่องดินดาน ดินแข็ง ดินแน่นแบบยั่งยืนได้ ทำให้มีทั้งหน้าดิน มีทั้งสารอาหาร มีทั้งตัวแร่ธาตุซิลิก้าจากภูไมท์ซัลเฟตทำให้ต้นไม้นั้นมีความมีเซลล์ที่แข็งแรงหรือง่ายๆว่ามีภูมิต้านทาน มีภูมิคุ้มกัน ทำให้ลดการใช้ปุ๋ยเพราะว่าปุ๋ยตัวของเขาเองภูไมท์ซัลเฟตมาร่วมกับสารละลายดินดานก็มีปุ๋ยและมีซิลิก้าที่ละลายน้ำได้ทำให้มันแข็ง โรคแมลง เพลี้ย หนอน ราและไรก็เข้าทำลายได้ยาก ลดการใช้ยาฆ่าแมลงหรือสารพิษได้ดีในอีกระดับหนึ่ง เพราะฉะนั้นภาพรวมของการใช้สารละลายดินดานเราต้องดูว่าเราใช้กับพืชชนิดไหน ดินมีความโหด มีความเลวร้ายเพียงใด แต่ถ้าปลูกแล้วไม่แน่นหนาอะไรมากนักก็ใช้ได้ทุกสัปดาห์ ทุกเดือน แต่ถ้าปลูกในไร่นา ไร่อ้อย ไร่ข้าวโพด นาข้าวก็อาจจะทำช่วงคลอปหลังเก็บเกี่ยว คลอปละครั้ง แต่สารละลายดินดานเขาจะทำงานลงไปทำปฏิกิริยากับเนื้อดินที่แข็งด้านล่าง ถ้าเราจะให้เขาทำงานได้รวดเร็วต้องทำดินให้เปียกผิวดินด้านบน ซึ่งเกษตรกรโดยส่วนใหญ่เขาจะรอหลังฝนตกใหม่ๆ ฝนตกให้ดินมันอิ่มเอิบอาบ ชุ่มฉ่ำ เวลาฉีดสารละลายดินดานALS29 ลงไป มันก็จะซึมลงไป ลงไปกับน้ำ และก็ไปสุดตรงดินที่มันเป็นดาน มันก็ไปทำปฏิกิริยาตรงชั้นดินดานตรงนั้นพอดีก็จะทำงานได้รวดเร็ว แต่ถ้าฝนไม่ตกก็พื้นที่ไม่เยอะเราอาจจะใช้การรดน้ำก่อนถ้าเป็นไม้ผลไม้ยืนต้นที่มีความสามารถในการทำให้ดินเปลี่ยนได้รดน้ำทิ้งไว้สัก 5 หรือ 10 นาที และก็ใช้สารละลายดินดานจะราดรดหรือฉีดพ่นก็ได้ หลังฝนตกถ้าพื้นที่เยอะก็ใช้วิธีการฉีดไล่ก็ได้ การทำการเกษตรไม่ได้เนรมิตดินดีดนิ้วภายในวันเดียว วินาทีเดียวต้องค่อยๆปรับค่อยๆแก้ เหมือนแก้ดินเปรี้ยวดินด่าง ไม่ใช่ว่าแก้วันนี้แล้วปีนี้จะได้ต้องค่อยๆแก้เนื้อดินและคุณภาพของดินด้วยอาจจะทำไปแล้ว 3 เดือนก็ได้ผลเลย 3 เดือนได้ผลเล็กน้อยก็ต้องอีก 3 เดือนลองทำใหม่ อาจจะปี 2 ปี มันค่อยๆดีขึ้น ยิ่งถ้ามีความเข้าใจว่าใช้ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก ปุ๋ยอินทรีย์ เพราะดินที่ดีพร้อมต่อการเจริญเติบโตคือดินที่มีอินทรียวัตถุอยู่ 5% น้ำ 25% อากาศ 25% อนินทรีย์หินแร่อีก 45% ถ้าเราเอาพวกอนินทรีย์ แทนที่จะเป็นหินลูกรัง หินแกรนิต หินดาน หินอะไรต่างๆ มาเป็นหินภูเขาไฟ ดินมันก็อุดมสมบูรณ์พร้อมดียิ่งขึ้น ก็คิดว่าเพื่อนๆได้แนวคิด ได้พื้นฐานเรื่องของการใช้เครื่องมือหรือตัวช่วยในการแก้ปัญหาเรื่อง ดินแน่น ดินแข็ง ดินดาน พวกที่ปลูกไม้ดอก ไม้ประดับ ไม้ใบ ไม้กระถาง ถ้าใช้สารละลายดินดานร่วมกับโพแทสเซียมฮิวเมท และก็ภูไมท์ซัลเฟตบ่อยๆร่วมกัน ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนดินบ่อยและพืชจะโตเพราะอาหารจากหินภูเขาไฟ ภูไมท์ซัลเฟต โพแทสเซียมฮิวเมท มันจะทำให้ดินนั้นกลมกล่อม แต่ถ้าท่านไม่ใช้อะไรเลย ปลูกไม้กระถาง รดน้ำทุกวัน น้ำมันรั่วตรงก้นกระถางอินทรียวัตถุก็ไหลไปกับน้ำ ทำให้ปลูกไม้กระถางดินมันจะแน่นแข็งกระด้าง มันจึงมีการเปลี่ยนดิน ดินสมัยนี้มาขายไม่ใช่หน้าดินเหมือน 10 20 ปี เขาเอาเนื้อดินข้างล่างเป็นดินเหนียวมาตากแดด เอามาตีป่นผสมแกลบ ผสมขี้เถ้าและก็มาขาย สังเกตได้เลยเวลารดน้ำ มันจะเป็นเหลือดินพอขี้เถ้าหนีไปหมดจะเหลือแต่ดินเหนียว ปัญหาพวกนี้ใช้สารละลายดินดานได้
มนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปอลดสารพิษ www.thaigreenagro.com