เห็ดฟางเป็นเห็ดเศรษฐกิจที่มีผู้นิยมเพาะและบริโภคเป็นอันดับต้นๆ ของประเทศไทย เนื่องจากมีรสชาติดี หวาน กรอบ อร่อย ตลาดมีความต้องการสูง มีคุณค่าทางอาหารสูงกว่าพืชผักหลายชนิด การเพาะเห็ดฟางมีอยู่หลายวิธี เช่น เพาะเห็ดฟาง แบบกองสูง, การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย,การเพาะเห็ดฟางในตะกร้าพลาสติก, การเพาะเห็ดฟางแบบโรงเรือน แต่วันนี้ผู้เขียนจะกล่าวถึง การเพาะเห็ดฟางในตะกร้าพลาสติกเพียงอย่างเดียว เพราะผู้เขียนคิดว่า เห็ดฟางตะกร้าเพาะง่าย พื้นที่น้อยก็ทำได้ ขั้นตอนไม่ยุ่งยากทำได้ทุกครัวเรือนการเพาะเห็ดฟางแบบอื่นๆ ใช้เวลาการเพาะนาน อีกทั้งต้องเสียเวลา
ในการดูแลรักษานานอีกด้วย การเพาะเห็ดฟางในตะกร้าพลาสติกเป็นอีกวิธีหนึ่งในการเพาะเห็ดฟางสำหรับผู้สนใจเริ่มต้นทำ เพื่อไว้บริโภคเองในครัวเรือนหรือเพาะเห็ดฟางเพื่อขายแบบเล็กๆน้อยๆ
ขายในตลาดนัดหรือตลาดผักถ้าบริโภคเองในครัวเรือนก็จะช่วยลดรายจ่ายค่ากับข้าวในครัวเรือนไดอีกด้วย
วิธีทำ
ตะกร้าพลาสติก ขนาด 12-14 นิ้วมีตาห่างประมาณ 2x2 เซนติเมตร
เชื้อเห็ดฟางที่พร้อมเพาะ ก้อนเชื้อเห็ดเก่า ปุ๋ยหมัก หรือผักตบชวาหั่นสด หยวกกล้วยหั่นแช่น้ำผึ่งแห้งท่อนไม้รองก้นตะกร้า โครงไม้ไผ่แบบสุ่ม และผ้าพลาสติกคลุมสุ่มสำหรับ
การเพาะนั้นก่อนอื่นให้เทก้อนเชื้อเห็ดเก่าออกจากถุงโดยขยี้ให้แตกอัดลงในตะกร้าหนาชั้นละ 3 นิ้ว ใส่อาหารเสริมจำพวกปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกหรือผักตบชวาสับ ชั้นละ 1-2 กำมือ โรยเชื้อเห็ดฟาง
รดน้ำพอชุ่มแล้วทำชั้นที่2 และชั้นที่ 3 ต่อไปเหมือนกันโดยชั้นที่ 3 ให้เหลือช่องว่างของตะกร้าจากปากไว้ 3 นิ้ว เลือกใช้เชื้อเห็ดที่ดี มีเส้นใยเดินเต็มถุง สีขาวนวลไม่อ่อนหรือแก่เกินไป
ไม่มีเชื้อราอื่นปนเปื้อน มีกลิ่นหอมของเห็ดฟาง บริเวณที่เพาะต้องไม่มียาฆ่าแมลงน้ำไม่ท่วมระบายน้ำได้ดี หลังจากบรรจุวัสดุเพาะเรียบร้อยแล้วให้นำตะกร้าวางไว้ตามร่มไม้ชายคา
มีแสงแดดอ่อนๆใช้ท่อนไม้วางรองกันปลวกด้านล่าง
สุ่มหนึ่งๆ ใช้ตะกร้าประมาณ 4 ใบ วางล่าง 3 ใบ ซ้อนด้านบนอีก1 ใบ ใช้สุ่มไม้ไผ่หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า”สุ่มไก่”ครอบคลุมด้วยแผ่นพลาสติก ทิ้งไว้ 4 วัน
แล้วเปิดพลาสติกคลุมออกช่วงเช้าหรือเย็นให้เชื้อเห็ดได้รับอากาศประมาณ 2 ชั่วโมง แล้วปิดไว้เหมือนเดิมทิ้งไว้ประมาณ 9-12วันก็จะเกิดเป็นดอกเห็ดฟางให้เก็บรับทานได้แล้ว หากเหลือจากรับประทานก็จำหน่ายเป็นรายได้เสริมอีกทางหนึ่งโดยดอกเห็ดฟางในตะกร้าสามารถเก็บได้เรื่อยๆจนหมดรุ่น ซึ่งสามารถเปิดพลาสติกรดน้ำให้เปียกเอารุ่นที่2 ได้อีก พอดอกเห็ดหมดสามารถนำวัสดุที่เหลือนำไปเป็นปุ๋ยหมัก ใส่แปลงผักแปลงนาได้อย่างดีทีเดียวละ หลังจากนั้นล้างตะกร้าให้สะอาดตากแดด ประมาณ1-2 แดด นำมาเพาะเห็ดรุ่นต่อไปได้ หากไม่ทำความสะอาดเชื้อโรคและเชื้อเห็ดราอื่นๆอาจมีการเกิดแทนที่เชื้อเห็ดฟางได้
ศัตรูและการป้องกันกำจัด
1. มด ปลวก
จะมาทำรังและกัดกิน เชื้อเห็ด และรบกวนเวลาทำงาน การป้องกันนอกจากเลือกสถานที่เพาะเห็ด ไม่ให้มีมด ปลวก แล้วอาจจะใช้น้ำส้มควันไม้ก็สามารถไล่มดไล่ปลวกไม่ควรใช้สารเคมีเพราะเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคเนื่องจากดอกเห็ดจะดูดซึมน้ำที่มีสารเคมีปะปนเข้าไปด้วย
2.วัชเห็ด คือ เห็ดที่ไม่ต้องการ ได้แก่ เห็ดขี้ม้า เห็ดหมึกเห็ดด้าน จะเจริญแข่งขันและแย่งอาหารเห็ดฟาง จะพบเมื่อมีอากาศร้อนเกินไป หรือมาจากวัสดุที่เคยใช้เพาะเห็ดชนิดอื่นมาก่อน ป้องกันได้โดย เลือกวัสดุเพาะที่สะอาดแห้งและใหม่ ไม่ควรเก็บไว้นานเกินไป
3.เชื้อรา
เชื้อราจะแย่งน้ำและอาหารจากเส้นใยเห็ดฟางและดอกเห็ดฟางเชื้อราบางชนิดทำให้เกิดโรคและอาการผิดปกติแก่ดอกเห็ดฟาง ทำให้ผลผลิตลดลงการป้องกันเชื้อราทำได้ ใช้ไบโอเซ็นเซอร์ 50กรัมผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น 2-3 ครั้งห่างกันประมาณ 3 วันครั้ง
4.ไรเห็ด ก็ให้ใช้ไมโตฟากัสซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่ใช้กำจัดไรเห็ดโดยตรงไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้ผู้บริโภคอัตราการใช้ 100 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตรหากฉีดเพื่อป้องกันไรศัตรูเห็ด ระยะเวลา 7 วัน
ครั้ง แต่ถ้าหากพบไรศัตรูเห็ดระบาดในก้อนเชื้อ ให้ฉีดพ่น 3 วันครั้ง
เทคนิคการเพิ่มผลผลิตเห็ดฟางให้ดอกใหญ่ น้ำหนักดี
สำหรับเทคนิคที่ว่านี้ก็คือการฉีดอาหารเสริมเห็ดดีพร้อมให้กับเห็ดฟาง
ซึ่งการฉีดอาหารเสริมให้กับเห็ดฟางนี้
บางท่านอาจคิดว่าก็ทำอยู่แล้วนิมันจะพิเศษตรงไหน
สำหรับเทคนิคการฉีดอาหารเสริมในเห็ดฟางที่จะแนะนำนี้ จะฉีดตอนที่เห็ดฟาง
เป็นตุ่มเท่าเม็ดโฟม จะไม่ได้ฉีดตอนตัดใย หรือฉีดตอนเห็ดฟางเป็นดอกโตแล้ว
เพราะจากการเก็บข้อมูลแล้วการฉีดพ่น อาหารเสริมเห็ดดีพร้อม ในหลายๆระยะของเห็ดฟาง
ได้ผลการทดลองว่าการฉีดพ่นอาหารเสริมเห็ดดีพร้อมช่วงที่เห็ดฟางเป็นเม็ดโฟม
ให้ผลเป็นที่น่าพอใจที่สุด……คือเห็ดฟางที่ฉีดอาหารเสริมเห็ดดีพร้อมช่วงที่เป็นเม็ดโฟม
เมื่อถึงเวลาเก็บไปขาย เห็ดฟางจะดอกใหญ่มาก(เท่าไข่เป็ด) ดอกอวบอ้วนสมบูรณ์
เห็ดฟางจะกรอบ รสชาติที่ด้วย ที่สำคัญที่สุดก็คือ
น้ำหนักของดอกเห็ดฟางรุ่นนี้จะเพิ่มมาจากรุ่นอื่นๆ 20 % เลยทีเดียว สำหรับท่านใดที่ทำเห็ดฟางอยู่ในเวลานี้สามารถนำเทคนิคดังกล่าวไปทดลองทำในฟาร์มของท่านเอง
และอย่าลืมเก็บข้อมูลมาแชร์เป็นวิทยาทานดีๆด้วยนะครับ
หากเกษตรกรท่านใดสนใจหรือต้องข้อมูลเพิ่มเติมสามารถโทรมาสอบถามรายละเอียดได้ที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
เขียนและรายงานโดย ทีมงานชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
สอบถามเพิ่มเติมที่ 02-9861680-2
หรือผู้เขียนคุณพรพรรณ ยิ้มสาระ
092-7744902 Hotline สายด่วน 084-5554205
-9 หรือ @thaigreenagro
เสนอติชมได้ที่ Email : thaigreenago@gmail.com