คำอธิบาย
รายละเอียด
กลไกการทำงานของซิลิสิค แอซิค
- เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการส่งสัญญาณระหว่างพืชอาศัยและเชื้อโรคเร็วขึ้น ซึ่งจะส่งผลในพืชแสดงอาการโต้ตอบการเข้าทำลายของเชื้อ (plant defense mechanism) เร็วขึ้น ปกติเวลาพืชถูกเชื้อเข้าทำลาย จะมีการป้องกันตัวเอง เช่น มีการสะสม phenolics compound สารประกอบตัวนี้จะไปยับยั้งการเจริญของเชื้อรา (fungistatic activity)
- เป็นสิ่งกีดขวาง (physical barrier) การแทงผ่านของเส้นใยเชื้อรา (hypal penetration) เพราะซิลิสิค แอซิคสะสมอยู่บริเวณ cell wall
บทบาทและคุณประโยชน์
- ส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชสวน เช่น พืชตระกูลส้ม ตระกูลแตง และกุหลาบ เป็นต้น ซึ่งจะมีการสะสม ซิลิสิค แอซิค หรือ ซิลิก้า ในเนื้อเยื่อส่วนยอดอ่อน
- ช่วยลดความเครียดของพืชเนื่องมาจาก แมลงศัตรูพืช สภาพแวดล้อม เป็นต้น
- ซิลิสิค แอสิค ถูกดูดซึมไปอยู่ส่วนของ apoplast ของเชลล์ใบ ซึ่งจะทำให้เชลล์แข็งตั้ง โดยเฉพาะใน ต้นข้าว และเป็นสิ่งกีดขวาง ต่อต้านการเข้าทำลายของเชื้อโรค
- ช่วยลดปริมาณการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา (fungicide) ให้น้อยลง ผลผลิตที่ได้รับสูงขึ้น
วิธีการใช้ แล้วอัตราที่ใช้
พืชสวน กรณี ลดความรุนแรงของโรคที่เกิดจากเชื้อรา เช่น พิธเทียม ไรซอกโทเนีย สเคอร์ไรเทียม ฟัยท๊อพธอร่า ใน องุ่น พืชตระกูลแตง มะเขือเทศ ผักกาดขาว เป็นต้น ใช้ ซิลิสิค แอซิค 5 กรัม (1ช้อนชา) ละลายน้ำ 20 ลิตร (1 ปี๊บ) ฉีดตอนเย็นช่วงแดดอ่อนๆ ทุกๆ 5-7 วัน กรณี พบการระบาดมากกว่า 50 % ใช้สารเคมีดร็อปครั้งหนึ่งก่อน แล้วค่อยฉีดพ่น ซิลิสิค แอซิค ตามอัตราส่วนที่แนะนำ เพื่อป้องกันการเข้าทำลายของเชื้อโรคอีก
ไม้ผล เช่น ส้ม มะนาว ทุเรียน ลำไย ลิ้นจี่ มะม่วง เงาะ เป็นต้น ใช้อัตรา 5-10 กรัม ละลายน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทั่วต้น ทั้งบนใบใต้ใบให้เปียกชุ่มโชก ฉีดพ่นตอนเย็นช่วงแดดอ่อนๆ ทุก 5 วัน
พืชผัก ถั่วต่างๆ กะหล่ำปลี-ดอก คะน้า ผักชี เป็นต้น ไม้ดอก-ไม้ประดับ เช่น กุหลาบ มะลิ ดาวเรือง เบญจมา เป็นต้นอัตราการใช้ 5 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทั่วต้น ทั้งบนใบใต้ใบให้เปียกชุ่มโชก ฉีดพ่นตอนเย็นช่วงแดดอ่อนๆ ทุก 5- 7 วัน
คำแนะนำ ถ้าละลายน้ำฉีดเดี่ยวควรหาอัตราเข้มข้นที่เหมาะสมสำหรับพืชแต่ละชนิด การใช้มากเกิน อาจเกิดอาการใบไหม้ หรือร่วงได้ โดยเฉพาะใน มะขาม เงาะ กระท้อน และ กล้วยไม้สกุลหวาย
สร้างความแข็งแกร่งให้แก่พืช คือ แนวทางใหม่ของการผลผลิตพืชผักแบบปลอดสารพิษ