โรคหัวและรากเน่าในกระเทียม” เป็นโรคที่เกษตรกรไม่ควรมองข้ามเพราะถ้าเกิดขึ้นมาแล้วสร้างความเสียหายให้กับผลผลิตเป็นอย่างมาก
วันนี้ ไทยกรีนอะโกร ( ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ)นำเสนอข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับโรคโรคหัวและรากเน่าในกระเทียมมาฝากกันค่ะ ขณะนี้เป็นช่วงกำลังเข้าสู่ฤดูฝนจึงขอเตือนเกษตรกรที่ปลูกกระเทียมควรระวังโรคหัวและรากเน่าในช่วงที่มีความชื้นสูงและอุณหภูมิค่อนข้างสูง มักจะเกิดมากในช่วงนี้โดยมีสาเหตุมาจากเชื้อรา Sclerotium rolfsii ที่ติดไปกับดิน สิ่งเคลื่อนไหวต่างๆ แล้วยังติดไปกับหัวกระเทียมก่อให้เกิดโรค
ลักษณะอาการของโรค ใบแก่ของกระเทียมจะเหลืองเหี่ยวแห้งและหักพับลงจากปลายเมื่อดึงต้นขึ้นมาก็จะหลุดจากดินได้ง่ายเพราะส่วนรากถูกทำลายหมดกาบหัวกระเทียมช้ำน้ำเนื้อเยื้อนิ่มเน่าและเปื่อยยุ่ย จะพบเส้นใยสีขาวฟูในระยะต่อมาจะพบเม็ดสเคลอโรเตียม (คล้ายเม็ดผักกาด)ขนาดเล็กสีขาวปนน้ำตาลขึ้นอยู่ตามรากและโคนต้นที่เน่านั้น (ในระยะนี้จะคล้ายกับโรคโคนต้นเน่า )และยังพบเจริญแทรกอยู่ตามดินบริเวณใกล้เคียงด้วยเมื่อเข้าระยะที่สร้างเม็ดสเคลอโรเตียม จะมีสีเข้มขึ้นเชื้อจะเข้าทำลายต้นกระเทียมจนกระทั่งหัวเหี่ยวหดย่นและเน่าตาย โรคนี้พบเกิดกับหัวกระเทียมขณะเก็บรักษาและรอการขนส่งด้วย
ป้องกันและแก้ไขมีดังนี้ 1. หลีกเลี่ยงการปลูกพืชในพื้นที่ที่เคยมีการระบาดของโรคนี้
2. ควรเลือกแปลงปลูกที่ดินไม่เป็นกรดจัดหรือปรับสภาพดินไม่ให้เป็นกรดจัด โดยใส่โดโลไมท์ อัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่ (หรือตามค่าวิเคราะห์ดิน) แล้วใส่พูมิชซัลเฟอร์เพื่อปรับปรุงโครงสร้างดินและช่วยลดเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคพืชได้ พร้อมกับใส่ปุ๋ยอินทรีย์อย่างน้อย 100 – 200 กิโลกรัมต่อไร่และแปลงปลูกควรมีการระบายน้ำที่ดี
3. ใช้หัวหรือเมล็ดพันธุ์จากแหล่งปลูกที่ไม่เคยมีโรคนี้ระบาดมาก่อนและไม่มีร่องรอยการติดเชื้อ
4. หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตควรกำจัดเศษซากพืชและวัชพืชในแปลงให้หมดเพื่อป้องกันการสะสมเชื้อโรค
5. ในช่วงที่เว้นว่างจากการปลูกพืชควรไถพลิกดินขึ้นมาตากแดดนานๆเพื่อฆ่าเชื้อโรคที่อาจตกค้างในดิน
6. แปลงที่มีการระบาดของโรคควรเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่นหมุนเวียน หมั่นตรวจแปลงอย่างสม่ำเสมอ หากพบต้นเป็นโรคให้ถอนต้นและขุดเอาดินที่พบเชื้อรานำไปเผาทำลายนอกแปลงปลูกแล้วใช้ “อินดิวเซอร์” ในการฉีดพ่นเพื่อกำจัดและป้องกันโรครากเน่าโคนเน่า
อัตราการใช้
“ พืชไร่/พืชสวน : 400-500 กรัม ต่อ น้ำ 200 ลิตร ฉีด 2 ครั้ง พืชผักสวนครัว : 50 กรัม ต่อ น้ำ 20 ลิตร ฉีดบ่อยครั้งตามต้องการ”
บทความโดย นางสาวคนึงนิจ หอมหวล
ตำแหน่งฝ่ายวิชาการบริษัทไทยกรีนอะโกร (ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ)



