ในช่วงที่อากาศแห้งแล้งและมีลมพัดแรง
ชาวสวนทุเรียนเตรียมรับมือกับไรแดงแอฟริกัน โดยเฉพาะสวนที่อยู่ในระยะหัวกำไล
ระยะหางแย้
รูปร่างลักษณะ
ไรแดงแอฟริกัน (African red mite) มีวงจรชีวิตจากไข่ถึงตัวเต็มวัยประมาณ
7-12 วัน เพศเมียลําตัวกลมแบน สีน้ำตาล/แดงเข้ม ตัวยาว มักอยู่กับที่ เพศผู้ลําตัวเรียวแคบ ก้นแหลม ขายาว
ขนบนหลังเรียวเล็กและสั้นกว่าขนบนหลังของตัวเมีย ขนาดลําตัวเล็กกว่าตัวเมีย
ลักษณะการทําลาย
ไรแดงทุเรียนดูดกินน้ำเลี้ยงอยู่บริเวณผิวใบทุเรียน
ทําให้เกิดเป็นจุดปะสีขาวกระจายอยู่ทั่วบนใบ
จนใบมีอาการขาวซีดและมีคราบสีขาวเกาะติดเป็นผลขาวๆ คล้ายฝุ่นจับ
โดยเฉพาะใบแก่และใบเพสลาด
ถ้าหากมีไรแดงทําลายเป็นปริมาณมากและต่อเนื่องจะทําให้ใบเหลืองซีด
แห้งกร้าน และร่วง ส่งผลกระทบต่อการออกดอกและติดผลของทุเรียน
กลุ่มสารชีวภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันและกำจัดไรแดง
บูเวเรีย หรือ เชื้อราบูเวเรีย (Beauveria bassina)
เชื้อราบูเวเรีย (ราขาว)
เป็นจุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติเป็นเชื้อราปฏิปักษ์
สามารถทำลายแมลงหรือทำให้เกิดโรคกับแมลงหลายชนิด ลักษณะของเส้นใย และสปอร์มีสีขาวหรือสีครีมซีด
เจริญเติบโตได้ดีในช่วงอุณหภูมิ 20-27 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ไม่น้อยกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ จัดเป็นเชื้อประเภท Saprophyte อาศัยและกินเศษซากที่ผุพัง
ประโยชน์ เชื้อราบูเวเรียสามารถที่จะควบคุมแมลงศัตรูพืชได้หลายชนิดที่สำคัญ
ๆ เช่น เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล หนอนผีเสื้อศัตรูพืชต่าง ๆ
หนอนห่อใบข้าว เพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้ง เพลี้ยจักจั่น
เพลี้ยไฟ ไรแดง แมลงหวี่ขาว ด้วงงวงต่าง ๆ เป็นต้น
กลไกการทำลาย
เชื้อราบูเวเรีย
ที่อยู่ในระยะสปอร์ เมื่อตกหรือติดกับผนังลำตัวแมลง
หากสภาพแวดล้อมและความชื้นเหมาะสม สปอร์ก็จะงอก (germ tube) แทงทะลุผ่านผนัง
หรือช่องว่างบนลำตัว โดยเฉพาะบริเวณข้อต่อของแมลงที่มีผนังบาง
เส้นใยของเชื้อราจะเข้าสู่เนื้อเยื่อ ของแมลง โดยอาศัยน้ำย่อยต่าง ๆ ได้แก่
ไลเปส (Lipase) โปรตีเนส (Proteinase) และไคติเนส
(Chitinase) เมื่อเชื้อราเข้าสู่ช่องว่าง
ของลำตัวแมลงจะเจริญเพิ่มปริมาณ และสร้างเส้นใยจนเต็มช่องว่างในลำตัวของแมลง
พร้อมกับผลิตเอ็นไซม์ที่เป็นพิษ แมลงจะเริ่มเป็น อัมพาตทั่วตัวและตาย
หลังจากแมลงตายเส้นใยของเชื้อราจะพัฒนาต่อไปเพิ่มปริมาณอัดแน่นภายในซากของแมลง
และแทงก้านชูสปอร์ (Conidiophores) ทะลุผ่านผนังลำตัวออกมาภายนอกซากแมลงที่ตายจะแห้งแข็ง
มีสปอร์สีขาวขึ้นปกคลุม
อาการของแมลงที่ถูกเชื้อราบูเวเรียเข้าทำลาย
1. แมลงจะแสดงอาการเป็นโรคคือเบื่ออาหาร กินอาหารน้อยลง อ่อนแอและไม่เคลื่อนไหว
2. สีผนังลำตัวแมลงจะเปลี่ยนไป จะปรากฏจุดสีดำบนบริเวณที่ถูกเชื้อราเข้าทำลาย
3. พบเส้นใยและผงสีขาวของสปอร์ปกคลุมตัวแมลงที่ถูกเชื้อราเข้าทำลาย
อัตราการใช้ บูเวเรีย 50 กรัม
ต่อน้ำ 20 ลิตร โดยพ่นเชื้อลงพื้นดินและให้ทั่วทรงพุ่มพ่นก่อนการระบาดทุก 7-15 วัน
ในกรณีที่เกิดการระบาดควรพ่นซ้ำทุก 3-5 วัน และควรผสมม้อยเจอร์แพล้นท์ ( สารจับใบ
) ก่อนพ่นทุกครั้ง และสภาพแปลงควรมีความชื้น พ่นช่วงประมาณ 16:30 นาฬิกา เป็นต้นไป
ไม่พ่นร่วมกับสารกำจัดเชื้อราทุกชนิดสามารถใช้ร่วมกับอาหารเสริมได้ทุกชนิด
และแนะนำให้ใช้ร่วมกับฟอร์แทรนด์(เชื้อราเมธาไรเซียม) จะเพิ่มประสิทธิภาพการยับยั้งการระบาดของไรแดงแอฟริกันได้ดียิ่งขึ้น
บทความโดย นางสาวคนึงนิจ หอมหวล
ตำแหน่งฝ่ายวิชาการบริษัทไทยกรีนอะโกร
(ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ)
📌สอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Line@ ID : Thaigreenagro
Facebook : บริษัท ไทยกรีนอะโกร
Website : www.thaigreenagro.co.th
TikTok : Thaigreenagro
