0

Your Cart

No products in the cart.
THAIGREENAGRO | ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
[agrikon_wc_ajax_search]

เพลี้ยแป้งในทุเรียนกำจัดแบบปลอดสารพิษด้วยชีวภัณฑ์

เพลี้ยแป้ง เป็นศัตรูพืชที่สร้างปัญหาใหญ่ให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกทุเรียน โดยเฉพาะในช่วงฤดูกาลติดผล บทความนี้จะพาไปทำความรู้จักกับเพลี้ยแป้ง ผลกระทบที่มีต่อทุเรียน และวิธีจัดการโดยใช้ยากำจัดเพลี้ยแป้งในทุเรียนที่มีประสิทธิภาพ

 

เพลี้ยแป้งคืออะไร และทำไมถึงเป็นปัญหาสำหรับทุเรียน ?

เพลี้ยแป้งในทุเรียน (Mealybugs) เป็นแมลงศัตรูพืชขนาดเล็ก มักจะพบการระบาดในช่วงติดผล ตั้งแต่ผลอ่อน ถึงผลแก่ โดยดูดกินน้ำเลี้ยงจากบริเวณกิ่ง ช่อดอก ผลอ่อน ผลแก่ ทำให้ดอกร่วง ผลเล็ก ผลไม่สมบูรณ์ นอกจากนี้ ยังพบว่ามดมีส่วนสำคัญในการแพร่กระจายเพลี้ยแป้ง โดยคาบพาแมลงตัวเล็ก ๆ เหล่านี้ไปตามส่วนต่าง ๆ ของต้นทุเรียน ทำให้การระบาดขยายวงกว้างได้อย่างรวดเร็ว

เพลี้ยแป้งบางชนิดเข้าทำลายในช่วงดอกอ่อน ทำให้การเจริญเติบโตชะงัก ส่งผลให้ผลแคระแกร็น ไม่ได้คุณภาพตามที่ตลาดต้องการ นอกจากนี้ เพลี้ยแป้งจะขับน้ำหวานออกมา เป็นเหตุทำให้เกิดราดำติดที่ผล ทำให้คุณภาพภายนอกของผลทุเรียนเสียหาย ไม่น่ารับประทานและมีราคาตกลง

 

ลักษณะของเพลี้ยแป้ง

เพลี้ยแป้งเป็นแมลงศัตรูพืชที่มีลักษณะเฉพาะตัว โดยเพศเมียมีขนาดลำตัวยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร มีสีเหลืองอ่อนหรือชมพู ลักษณะอ้วนสั้น และมีผงสีขาวคล้ายผงแป้งปกคลุมลำตัว ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ "เพลี้ยแป้ง" ในขณะที่เพศผู้มีขนาดเล็กกว่าและมีปีก

วงจรชีวิตของเพลี้ยแป้งเริ่มจากการวางไข่เป็นกลุ่มของเพศเมีย โดยมีจำนวนไข่แต่ละกลุ่ม 100-200 ฟอง เพศเมียตัวหนึ่งสามารถวางไข่ได้ 600-800 ฟองภายในเวลาเพียง 14 วัน ไข่เหล่านี้จะฟักอยู่ในถุงใต้ท้องเพศเมียใช้เวลาประมาณ 6-10 วัน เมื่อฟักออกมา ตัวอ่อนจะมีสีเหลืองอ่อนและยังไม่มีผงสีขาวปกคลุม จากนั้นตัวอ่อนจะคลานออกจากกลุ่มไข่เพื่อหาที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมบนต้นทุเรียน

ในช่วงการเจริญเติบโต เพลี้ยแป้งเพศผู้จะลอกคราบ 4 ครั้ง และมีปีก ในขณะที่เพศเมียจะลอกคราบ 3 ครั้งและไม่มีปีก เพศเมียจะเริ่มวางไข่หลังจากการลอกคราบครั้งที่ 3 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของวงจรชีวิตใหม่

เพลี้ยแป้งทุเรียนสามารถขยายพันธุ์ได้ 2-3 รุ่น ใน 1 ปี ในระยะที่พืชอาหารไม่เหมาะสม มันจะปรับตัวโดยอาศัยอยู่ใต้ดินตามรากพืช เช่น หญ้าแห้วหมู โดยมีมดที่อาศัยกินสิ่งที่ขับถ่ายของเพลี้ยแป้งเป็นตัวพาไปอาศัยตามส่วนต่าง ๆ ของต้นทุเรียน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การระบาดขยายวงกว้างได้อย่างรวดเร็ว ตั้งแต่ระยะที่ทุเรียนเริ่มติดผล จนกระทั่งผลโตเต็มที่พร้อมที่จะเก็บเกี่ยว หรือช่วงกลางเดือนกรกฎาคมสำหรับทุเรียนรุ่นหลัง

 

วิธีกำจัดเพลี้ยในทุเรียน

การใช้สารเคมีอาจส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมและผู้บริโภค ดังนั้น วิธีกำจัดเพลี้ยแป้งบนใบทุเรียนที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ ดังนี้

1.ใช้แปรงปัด หรือใช้น้ำพ่นให้เพลี้ยแป้งหลุด เมื่อพบเพลี้ยแป้งปริมาณน้อยบนผลทุเรียน

2.ให้รีบตัดแต่งกิ่งไปเผาทำลาย เมื่อเริ่มพบการระบาด หรือมีกิ่งที่ระบาดมาก ๆ

3.การใช้ชีวภัณฑ์เพื่อควบคุมการระบาดของเพลี้ยแป้ง โดยใช้เชื้อราบิวเวเรีย (บูเวเรีย) โดยมีวิธีการใช้ดังนี้

                • อัตราการใช้ 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ผสมสารจับใบม้อยเจอร์แพล้นท์  ในอัตรา 10 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร

                • เพิ่มความชื้นในแปลง ให้มีความชื้นมากกว่า 60% ขึ้นไป

                • ฉีดพ่นให้ทั่วทั้งต้นพืช ทั้งบริเวณใต้ใบ บนใบ และลำต้น

                • ควรฉีดพ่นในช่วงเวลาเย็น และหลีกเลี่ยงช่วงเวลาที่มีแดดจัด

                • ควรฉีดพ่นให้ บูเวเรีย สัมผัสกับเพลี้ยแป้งโดยตรง

                • ควรฉีดพ่นทุก ๆ 3-5 วัน และใช้อย่างต่อเนื่องติดต่อกัน 3-5 ครั้ง

 

วิธีป้องกันเพลี้ยแป้งในทุเรียน

เพลี้ยแป้ง เป็นศัตรูพืชที่สร้างความเสียหายให้ทุเรียนอย่างมาก การป้องกันจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อรักษาผลผลิตและคุณภาพของทุเรียน โดยผู้ประกอบการสามารถนำไปปฏิบัติได้ดังนี้

               • หมั่นตรวจสอบสวนทุเรียนอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะในช่วงที่ทุเรียนเริ่มออกดอกและติดผล ซึ่งเป็นช่วงที่เพลี้ยแป้งมักจะเริ่มระบาด

               • หากพบเพลี้ยแป้งระบาดเล็กน้อยให้ตัดส่วนที่ถูกทำลายทิ้งเสีย เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโตและการแพร่พันธุ์

         • กำจัดวัชพืชและเศษซากพืชที่อยู่รอบ ๆ ต้นทุเรียน เนื่องจากสิ่งเหล่านี้อาจเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของเพลี้ยแป้งและแมลงศัตรูพืชอื่น ๆ

         • การใช้เชื้อราบูเวเรีย ทำลายแมลง เพื่อการควบคุมเพลี้ยแป้ง โดยเชื้อราจะเจริญเติบโตเข้าไปในตัวแมลง เข้าไปกำจัดทำให้เพลี้ยแป้งในทุเรียนตายในที่สุด

         • การใช้เชื้อราบูเวเรีย จุลินทรีย์ที่สามารถควบคุมเพลี้ยแป้งในทุเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อเชื้อราสัมผัสกับเพลี้ยแป้ง จะเจริญเติบโตเข้าไปในตัวและผลิตสารพิษที่กำจัดเพลี้ยแป้งให้ตายในที่สุด

 

เชื้อราบูเวเรีย ทางเลือกที่ดีสำหรับเกษตรกร สนใจผลิตภัณฑ์ดูแลและควบคุมกำจัดโรคแมลงสามารถสอบถามข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถกดไปที่ลิงค์นี้ได้เลยค่ะ https://thaigreenagro.com/

นางสาว คนึงนิจ  หอมหวล

ตำแหน่งนักวิชาการเกษตร บริษัทไทยกรีนอะโกร จำกัด

×