วันนี้เราจะคุยกันเกี่ยวกับเรื่องของการดูแลรักษาข้าวหรือการทำนาช่วงฤดูฝนโดยการระวังเรื่องของเมล็ดดำเมล็ดด่างในแปลงนาข้าว การทำนาแล้วมีปัญหาเมล็ดด่าง เมล็ดดำ เมล็ดลีบ เมล็ดลาย ซึ่งจะมีปัญหาในช่วงระยะที่ข้าวนั้นโผล่พ้นมาจากกาบใบที่เป็นช่วงรวงอ่อน เวลาออกมาแล้วมีความชื้นหรือมีฝนตก นาข้าวเวลาฝนตกเยอะ เมล็ดด่าง เมล็ดดำ สาเหตุส่วนใหญ่จะเป็นเชื้อราหรือแบคทีเรียหรือเป็นพวกไฟโตพลาสมาหรือเป็นพวกไรรัส ถ้าความชื้นสูงจะเป็นพวกแบคทีเรีย ปัญหาพวกนี้ส่วนใหญ่ข้าวจะขาด เป็นความอ่อนแอ ขาดเกราะป้องกัน นาข้าวที่ใช้กลุ่มของพวกซิลิก้า ซิลิสิค แอซิด หรือกลุ่มพวกหินแร่ภูเขาไฟ ตั้งแต่ตอนเตรียมเทือก สถิติที่เรารณรงค์ส่งเสริมกันมา ปัญหาเรื่องข้าวเมล็ดด่างเมล็ดดำเมล็ดลาย ไม่เกิดเลย ข้าวที่มีปัญหาในช่วงนี้อาจจะเป็นเชื้อราพวกฟิวเซอเรียม สเควเรเทียม ไรซับโทเนีย มีเยอะแยะมากมายในการที่จะสร้างปัญหา สถิติแล้วส่วนใหญ่จะพบที่นาชลประทาน นาชลประทานส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ดินดำ น้ำดี มีการใส่ปุ๋ย มีการเตรียมแปลง ไม่ขาดแคลนทั้งน้ำและปุ๋ย ทำให้ต้นข้าวเหล่านี้มีการเจริญเติบโตที่อวบอ้วน สมบูรณ์ เวลามีปัญหาเชื้อราโรคพืชต่างๆเป็นมาตั้งแต่ระยะต้นกล้าเลยก็ว่าได้ เป็นเรื่อยมา สลับสับเปลี่ยนขึ้นอยู่กับการดูแลจนมาช่วงระยะที่ข้าวเริ่มแข็งแรง เริ่มอายุมากเป็น 70-80 ช่วงนี้จะมีพวกหนอน หนอนใบขาว เข้ามารบกวน เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เวลาข้าวเจริญเติบโตพวกโรคต่างๆก็เข้ามายิ่งหว่านพันธุ์ข้าวหนาแน่นด้วยก็จะยิ่งทำให้การเกิดโรคได้ง่าย ข้าวเมล็ดด่างเมล็ดดำที่มีการรดน้ำใส่ปุ๋ย มีการดูแลอย่างดี จึงเป็นสถิติว่าพื้นที่นาชลประทานส่วนมากจะพบปัญหาข้าวเมล็ดด่างเมล็ดลีบเมล็ดดำ เนื่องด้วยมีหนอนขยอก หนอนใบขาว ตัวนี้ยังทำให้เกิดการม้วนใบ ใบถูกกัดเป็นแหว่งเว้า จะมีอีกตัวหนึ่งคือพวกเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล พวกนี้เวลากินเจาะดูดก็จะนำพวกไวรัส พวกไฟโตพลาสมา ซึ่งต้องอาศัยโฮส อาศัยสื่อ อาศัยพาหเป็นตัวตัวนำ ก็ทำให้เกิดโรคเมล็ดด่าง เมล็ดลีบ ด้วยเช่นเดียวกัน โรคเมล็ดลีบยังมีสาเหตุมาจากการที่ขาดพวกวิตามินอีหรือขาดพวกซัลเฟอร์ เพราะว่าซัลเฟอร์เป็นธาตุอาหารรอง ที่สามารถสร้างโปรตีน ที่สังเคราะห์โปรตีนเพื่อสร้างกรดอะมิโน 3 ตัวที่ชื่อว่า ซิสทีน ซิสเทอีน เมทไทโอนีน พวกนี้ก็จะทำให้การผสมเกสรไม่ดี ไม่มีพวกสังกะสีไม่มีโบรอน ไม่มีวิตามินอี อันนี้ในกรณีเมล็ดลีบแบนจากการผสมเกสร หรือมีพวกแมลงสิงมาดูดกินเมล็ดในระยะน้ำนมหรือคอรวง ทำให้อาหารไปเลี้ยงส่วนของปลายช่อ ปลายรวงไม่ได้ ตัวพวกเชื้อรา เชื้อรานี้ก็เป็นตัวสำคัญที่ทำให้ข้าวนั้นเมล็ดดำ เมล็ดด่าง บางทีมีอาการราที่คล้ายๆกับดอกกระถิน ดอกขี้เหล็ก ทั้งหมดนี้จะลดน้อยไป 60-70 % ถ้าสามารถทำให้มีการสะสมของซิลิก้าตั้งแต่เริ่มปลูกมาได้ ใช้ภูไมท์ ภูไมท์ซัลเฟต พูมิช พูมิชซัลเฟอร์ ในระยะเตรียมเทือก ให้ได้ 20-40 กิโลกรัมต่อไร่ ปัญหาพวกนี้จะลดน้อยถอยลง ควรปรับ pH ของดิน ให้อยู่ในระหว่าง 5.8-6.3 ด้วย อันนี้เป็นเบสิค
คเบื้องต้นที่เราสามารถที่จะทำให้ต้นข้าวของเรานั้น มีภูมิต้านทาน มีภูมิคุ้มกัน โดยการให้เขาสะสมซิลิก้า ซิลิสิค ถ้าใส่ทางดินไม่พอ ใส่ในช่วงระยะ 50 วันที่เราจะมีการฉีดปุ๋ยยาฮอร์โมน สามารถเติมซิลิสิคแอซิด ลงไปร่วมกับปุ๋ยยาฮอร์โมนได้ การเติมซิลิก้าจากทางดินถ้ามันไม่พอปัจจุบันนั้นมีซิลิก้าที่เติมขึ้นมาทางใบได้ เราเอาซิลิสิคแอซิด 5 กรัม ผสมกับน้ำ 20 ลิตร ฉีด พ่น ถ้าใส่ตอนเตรียมเทือกอย่างดีแล้วช่วงนี้ก็ไม่ต้องจำเป็น เมื่อพูดถึงแล้วเรารู้แล้วว่ามันจะมาช่วงหน้าฝน ช่วงความชื้น ในช่วงระยะที่เมล็ดของเขาโผล่มาจากรวงอ่อนและระยะน้ำนม เมื่อเป็นไปแล้วเราจะมามัวป้องกันด้วยการเตรียมใส่ภูไมท์ทางดิน ตรวจดิน ให้กินปุ๋ยอย่างครบโภชนาการ อะไรต่างๆก็ไม่เพียงพอ ต้องรักษา การรักษาข้าวเมล็ดด่างถ้าท่านมีพวกน้ำด่าง เช่น เอาน้ำขี้เถ้ามาผสมกับน้ำขี้เถ้าหัวหงอกเตาฟืน หรือ เตาถ่าน แล้วเอาส่วนนี้เป็นขี้เถ้า น้ำด่างมาละลายน้ำ อาจจะ 1 หรือ 2 กำมือ 3 กำมือ หรือ 1 โล 2 โล ละลายน้ำ แล้วกรองด้วยผ้าขาวบางเอาเฉพาะส่วนที่ใสมาฉีดหลังฝนตกใหม่ๆ ก็จะช่วยทำลายสปอร์ที่จะมาเข้าทำลายเมล็ดข้าวได้ หรือใช้น้ำปูนใสก็ช่วยได้เช่นเดียวกัน หรือเป็นน้ำจากขี้เถ้าแกลบเผา หรือเราจะใช้กลุ่มของพวกโพแทสเซียมซิลิเกต เป็นน้ำด่างเหมือนกันที่มีส่วนประกอบของซิลิก้าด้วย หรือจะทำน้ำสกัดจากเปลือกมังคุด เอามังคุดมา 2 ขีด หรือ 200 กรัม เอามาผึ่งลมให้แห้ง สับ โขก บด ตำ หมักกับเหล้าขาว หรือ แอลกอฮอร์ล้างแผล หมักไว้ 7 วัน แล้วกรองด้วยผ้าขาว สารสกัดจากเปลือกมังคุดจะมีสารฝาด หรือสารแซนโธนิน ใช้ 2 กรัม ผงจุลสี 2 กรัม ผสมกับน้ำด่าง แล้วฉีดรับรองได้ว่าแปลงนา ใบจะใส สะอาด หรือว่ามีโรคเข้าไปรบกวนมากกับการที่เราจะป้องกันหรือการระบาดที่มันรุนแรงอยู่ในระดับเศรษฐกิจแล้ว อันนี้อาจจะใช้มืออาชีพเข้ามาด้วยนั่นคือพวกของกลุ่นสารชีวภัณฑ์ สารชีวภัณฑ์ที่เป็น Phofessional มีทะเบียน ได้ออแกนิกไทยแลนด์ คืออินดิวเซอร์ เอาไปฉีดเพียง 50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ไม่อยากใช้ 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ต้นทุนสูงทนไม่ไหว สามารถหมักขยายได้ อันนี้ในกรณีที่มีการระบาดรุนแรงไปแล้ว จะมัวฉีดซิลิสิคแอซิดก็ไม่ทันการ ต้องใช้อินดิวเซอร์ ฉีดสลับกับตัวไบโอเซนเซอร์ ช่วยทำให้ในการรักษาโรคใบด่างใบดำใบจุดที่มีสาเหตุมาจากเชื้อราและแบคทีเรียในแปลงนาข้าวได้ค่อนข้างดี หากเกษตรกรท่านใดสนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
เขียนและรายงานโดย ทีมงานชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
สอบถามเพิ่มเติมที่ 02-9861680-2 หรือ โทร 084-5554210 Hotline สายด่วน 084-5554205 -9 หรือ @thaigreenagro
เสนอติชมได้ที่ Email : thaigreenago@gmail.com