เราบำรุงมะม่วงหลังจากตัดแต่งกิ่ง ด้วย ปุ๋ยละลายช้า 4-1-3 เพื่อให้ทั้งตัวหน้าและตัวหลังเข้าไปเติมเต็มสร้างใบอ่อนเข้ามาเพื่อทำหน้าที่เป็นแม่ครัวเพื่อปรุงอาหาร เพื่อรอให้โคนต้นลำต้น แข็งแรง ตัดแต่งกิ่ง ให้เรียบร้อย จนแสงสามารถส่องเข้ามาใจกลางทรงพุ่มได้ แล้วเลี้ยงใบอ่อนให้แตก ประมาณ 2 รุ่น เราจะใช้สูตรสะสมอาหาร 1-1-4 และให้ใบแก่
ฮอร์โมนไข่ ส่วนประกอบของเขาคือ ไข่ไก่ 5 กิโลกรัม กากน้ำตาล 5 กิโลกรัม ลูกแป้งข้าวหมาก 1 ลูก และก็ยาคูลท์และบีทาเก้นที่มี แลคโตบาซิลัส นำไข่มาทำให้ละเอียด เทใส่ถุงที่มีกากน้ำตาลรออยู่ 5 ลิตร กวนใส่ถุงให้เข้ากัน เอาลูกแป้งข้าวหมากใส่ถุง ทุบๆ ให้ป่น แล้วใส่ลงไป และใส่ ยาคูลท์ 2 ขวด หมัก ไป 7 วัน ถ้าเชื้อยีส ดี จะเป็นฟอง ปิดยังไงก็ไม่มิดปริมล้นถัง หรือจะนิ่งๆดำๆ อยู่จะไม่เป็นไรหมักให้ได้ 7-10 วันฮอร์โมนไข่ สูตรที่ได้อธิบายไป ทางเราส่งเสริมออร์โมนไข่เป็นยุคแรกเลย เราต้องการสะสมคาร์โบไฮเดรตสะสมคาร์บอน ให้มีปริมาณมากกว่าไฮโดรเจน เวลาเราทำมะม่วง ไม้ผลต่างๆ ตัดแต่งกิ่งดีแล้วดูดีแล้ว รอดผลจากเพลี้ยไฟไรแดง ด้วงงวงกัดกินยอดอ่อน มาสะสมเร่งใบแก่ สูตร 1-1-4 ทำให้ใบแก่พร้อม เพรียงกันทั้งสวน แต่ก็จะมีปัญหา ถ้าท่านใส่ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกตกค้างอยู่ในดินแล้วมันมีปัญหา ท่านกวาดออกจากทรงพุ่มไม่หมดท่านก็จะมีปัณหาเวลา ดินเปียกแฉะ รดน้ำ เวลาฝนตก ฝนหลงฤดู อินทรียวัตถุ มูลสัตว์ เศษไม้ใบหญ้า ก็จะละลายแร่ธาตุไนโตรเจนออกมา เมื่อมีแร่ธาตุไนโตรเจน พืชมันจะออกดอกสะสมคาร์บอนอุตส่าเตรียมใบมาตั้งนาน แต่พอมีไนโตรเจนจากดินที่เปียกชื้นจากโคนต้นก็ทำให้ใบอ่อนออกมา พืชก็จะอั้นปริ่ม สมัยโบราน ฤดูกาลไม่ผิดแปลกไม่เพี้ยน สะสมแป้งและน้ำตาลดี ในช่วงหน้าหนาว จะพลิออกดอกได้ดี การติดดอกได้ดีสะสมอาหารได้ดี แต่ถ้าหนาวน้อย ผลไม้จะแพง พลิดอกไม่ดี สะสมอาหารได้น้อย หรือท่านใช้วิธีการควบคุมด้วยฮอร์โมนไข่ ท่านต้องใช้พวกภูไมท์มากลึงอินทรีย์วัตถุ ตัวเข้าไปหรือถ้ามีฝนหลงฤดู น้ำฝนจะมีไนโตรเจน ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า มันจะมีกรด ไนตริกแอซิก ที่เป็นไนโตรเจน สังเกตได้จากท้องทุ่งนา เวลาฝนตกมา หญ้าข้างทางเขียวขจี มองไกลออกไปในท้องทุ่งนา เขียวแต่ไกลหลังจากฝนตก นั่นเป็นที่มาที่ฝนมากับปุ๋ยที่ให้แร่ธาตุไนโตรเจน โดยธรรมชาติ เพราะฉะนั้นหลักการทำผลไม้นอกฤดู เราจะหลีเลี่ยงสารแพทโคดิโนโซน สารแพทโคติโนโซน ทำหน้าที่ในการยับยั้งฮอร์โมนชิบแบดิริกแอซิก ไม่ให้ทำงาน ถ้าท่านใช้ไม่เป็น ใช้ไม่ดี แพทโคติโนโซนก็จะสะสม อยุ่ในดินและขึ้นไปสะสมที่ยอดอ่อน เวลาท่านทำมะม่วงในรุ่นต่อไป หรือไม้ผลที่ได้รับสารแพทติโนโซน ในปริมารมาก พอแตกใบอ่อน ขอบใบจะดำมาก หงิกงอ เหมือนมีเพลี้ยไฟ ฉีดยาแก้เพลี้ยไฟ ฉีดต่างๆ ก็ไม่อยู่เพราะไม่ได้เกิดจาก แมลงเพลี้ย แต่เกิดจากสารแพทโคติโนโซน ไปยับยั้ง ตัวฮอร์โมน ชิบแบนิซิกแอซิค ไม่ทำงาน มากเกินไปหรือทำให้มีผลข้ามปี ไปยังฤดูหน้า หรือในกลุ่มลำไย ก็จะใช้สารโพแทสเซียมคอลเลต จะใช้ราดสารในลำใย พอราดไปแล้วเขาจะไปทำลายน้ำย่อยที่ชื่อว่า ไนเตรทรีดักเตท พอกินเข้าไปทำให้ท้องอืดย่อยไม่ได้ ดร็อปไนโตรเจนไม่ให้ทำงาน เวลาลำไยมันกิน โพแทสไนเตรด ทำให้ท้องอืด เครียด ไม่สบายและไกล้จะตายก็หลั้งสารเอโทลีนออกมาเยอะมาก จึงพลิดอกออกมาพร่างพลู แต่ในไม้ผลเหล่านี้ ออกดอกดีไม่ดี อยู่ที่ต้นแม่เหมือนกัน ถ้าท่านใช้งานแบบนี้มา 3-4 ปี มันไม่ได้ว่าแพทโคติโนโซน หรือโพแทสเซียมคอลแลท ได้ผลดี มันก็ล้มตาย ไม่ยั่งยืน ถ้าท่านใช้สารพวกนี้ถ้าต้นแม่ของไม้ผลเสื่อมโทรมชำรุดทรุดโทรมบางทีก็ไม่ได้ผล หรือได้ผล ก็เป็นครั้งสุดท้าย ของต้นนั้นเขาจะยืนต้นตาย สูตรอาหรจานด่วน ที่มี น้ำ 20 ลิตร ไข่ไก่ 2 ฟอง และโพสแทสเซียมฮิวเมท 1 ช้อน ชา ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดปุ๊บต้นที่โทรมก็จะแตกใบอ่อนได้ดี ไข่ไก่สดคนละเรื่องกับออร์โมนไข่ ถ้าเราทำให้มะม่วงมีอินทรียวัตถุ ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอกในช่วงที่เราสะสมอาหารเร่งใบแก่หลักการนี้ยังใช้ในมะนาวในช่วงที่เราจะเร่งให้เขาออกดอก โดยการนับถอยหลังมา 6 เดือน กะใช้หลักการฮอร์โมนไข่ ให้เขาแข็งแรงได้เหมือนกัน ทำให้คาร์โบไฮเดรตหรือคาร์บอนน้อยกว่า ไนโตรเจน แต่ถ้าท่านใส่ปุ๋ยยูเรียปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก ให้ไนโตรเจนสูง บวกกับ ฝน คาร์โบไฮเดรตน้อย ท่านก็จะมีแต่ใบอ่อน แต่ถ้าท่านสามารถทำให้ ไนโตรเจนน้อยกว่า คาร์โบไฮเดรต พืชเกือบทุกชนดจะพัฒนาไปเป็นตาดอกมากกว่าใบอ่อน หากเกษตรกรท่านใดสนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
เขียนและรายงานโดย ทีมงานชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
สอบถามเพิ่มเติมที่ 02-9861680-2 Hotline สายด่วน 084-5554205 -9 หรือ @thaigreenagro
เสนอติชมได้ที่ Email : thaigreenago@gmail.com