หนอนชอนใบเกิดจากหนอนผีเสื้อกลางคืนตัวเต็มวัยมาวางไข่เข้าไปใต้ผิวใบเมื่อไข่ฟักเป็นตัวหนอนจะชอนไชกินใบมองเห็นเป็นทางขาวคดเคี้ยวไปมา
ทำให้ใบหงิกงอหยุดการเจริญเติบโตโดยจะพบการระบาดตลอดทั้งปี
ช่วงที่มีการแตกใบอ่อนนอกจากนี้ยังเป็นสาเหตุทำให้เชื้อราและแบคทีเรียเข้ามาในสวนส้มโดยเฉพาะโรคแคงเกอร์
เมื่อหนอนอายุได้ 5-6 วัน
จะทำลายอย่างรวดเร็วและสร้างความเสียหายให้กับใบส้มได้มากถ้าหากเป็นส้มต้นเล็กอาจทำให้ต้นส้มตายได้หนอนชอนใบส้ม เป็นหนอนที่พบเป็นประจำในพืชตระกูลส้ม ทั้งส้มเขียวหวาน
ส้มโอ มะนาว มะกรูดเกษตรกรส่วนใหญ่จะใช้ยาเคมีฆ่าหนอนฉีดพ่นกำจัดหนอนชอนใบส้ม
หนอนชอนใบอาจจะตายจริงแต่เกษตรกรคงลืมไปว่าการใช้ยาเคมีฆ่าหนอนมันไม่ได้แก้ปัญหาที่ต้นเหตุ
ต้นเหตุคือผีเสื้อกลางคืนมาวางไข่
ถ้าเราฉีดยาฆ่าหนอนอย่างเดียว แต่ถ้ายังมีผีเสื้อกลางคืนมาวางไข่อยู่เรื่อยๆ
ยังไงอีกไม่กี่วันจะมีหนอนรุ่นใหม่เกิดขึ้นมาอีก
แล้วก็ต้องมานั่งฉีดยาฆ่าหนอนอีกเรื่อยๆ ไม่จบไม่สิ้นเราต้องมองไปที่ต้นเหตุของหนอนชอนใบส้ม
นั้นคือผีเสื้อกลางคืน ถ้าไม่มีผีเสื้อกลางคืนมาวางไข่แล้วหนอนชอนใบส้มจะมีได้อย่างไรผู้เขียนจึงอยากแนะนำให้เป็นแนวทางแก้ไขสำหรับเกษตรกรผู้เจอปัญหาเรื่องหนอนชอนใบส้มคือใช้สมุนไพรที่มีกลิ่นเหม็นชื่อ
ไทเกอร์เฮิร์บ เป็นสมุนไพรบดละเอียดจากฟ้าทะลายโจร ขมิ้นชัน และตะไคร้หอมผสมไทเกอร์เฮิร์บ
1-2 ช้อนแกง ต่อน้ำ 20
ลิตร
คนให้กระจายตัวนำไปฉีดพ่นให้ทั่วต้นทั้งบนใบและใต้ใบให้เปียกชุ่มโชก เพื่อป้องกันไม่ให้ผีเสื้อกลางคืนเข้ามาในสวนส้ม เพราะกลิ่น
ไทเกอร์เฮิร์บค่อนข้างแรงผีเสื้อกลางคืน ไม่ชอบ ลดผีเสื้อกลางคืนมาวางไข่
เมื่อลดผีเสื้อกลางคืนมาว่างไข่ได้หนอนชอนใบส้ม ก็จะลดน้อยลง
ถ้าใช้เป็นประจำก็ไม่น่าจะมีหนอนชอนใบแล้ว แต่ผู้เขียนเข้าใจความยากในการทำการเกษตร มันไม่มีอะไร ร้อยเปอร์เซ็นต์จึงอยากให้ใช้ควบคู่กับจุลินทรีย์ปราบหนอนที่
ชื่อ แบคเทียร์(บาซิลลัสธูริงจิเอนซิส)ซึ่งเป็นจุลินทรีย์สายพันธุ์ไทย
มีคุณสมบัติในการกำจัดหนอนทุกชนิด วิธีใช้
ให้เอา แอดจั๊ส(สารจับใบ) เติมผสมกับน้ำก่อน โดยใช้อัตรา 10
ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร แล้วค่อยนำ
แบคเทียร์(บาซิลลัส ธูริงจิเอนซิส)ในอัตรตราอัตรา
25-50 กรัมใส่ลงไปแล้วกวนผสมให้เข้ากัน ฉีดพ่นให้ทั่วทั้งบนใบและใต้ใบ
ทุกๆ7 วัน ถ้าระบาดหนัก ก็ทุก3วันครั้ง เพียงเท่านี้
รับรองว่าหนอนชอนใบส้มจะค่อยๆหมดไปจากสวนส้มอย่างแน่นอน แถมปลอดภัย ไม่เป็น อันตราย
ต่อผู้ใช้และผู้บริโภคอีกด้วย
หากเกษตรกรท่านใดสนใจหรือต้องข้อมูลเพิ่มเติมสามารถโทรมาสอบถามรายละเอียดได้ที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
เขียนและรายงานโดย ทีมงานชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
สอบถามเพิ่มเติมที่ 02-9861680-2 หรือผู้เขียนคุณพรพรรณ ยิ้มสาระ (ฝ่ายขายส่วนกลาง)