ปัญหาส่วนใหญ่ในการเลี้ยงกุ้งปลาหรือสัตว์น้ำทั่วไปที่พี่น้องเกษตรกรส่วนใหญ่พบก็คือปัญหา
กุ้งเป็นโรค, กุ้งลอยหัวน้ำหนืด
น้ำเขียวเข้มมากเกินไปเนื่องจากมีปุ๋ยไนโตรเจนสูง, น้ำเน่าเสียซึ่งเกิดจากก๊าซแอมโมเนีย,
ไนไตรท์, ไนเตรท, ไฮโดรเย่นซัลไฟด์,
มีเธน และก๊าซของเสียอื่นๆ , กุ้งลอย กุ้งล่อง
ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่เลยก็จะเกิดมาจากการเตรียมบ่อที่ขาดความประณีต
จึงทำให้มีอินทรียวัตถุ, ขี้เลน, ขี้กุ้ง,
ขี้ปลา และเศษอาหารที่ตกค้างหลงเหลืออยู่ที่พื้นบ่อมีการสะสมหมักหมมต่อๆ
กันมาตลอดฤดูการเลี้ยง
ซึ่งส่วนมากก็เกิดจากการที่เราไม่มีเวลาดูแลบริหารจัดการให้ดีนั่นเอง
สำหรับท่านที่มีปัญหากุ้งตาย ปลาตาย จากความแปรปรวนของคุณภาพน้ำ
หรือเกิดจากความแปรปรวนของน้ำหลังฝนตกใหม่ ทำให้พีเอสของน้ำเปลี่ยนแปลงไปมาก
รวมถึงอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว หรือเกิดอาฟเตอร์ช็อค
เช่นว่า...อุณหภูมิน้ำต่ำทำให้"ไฮโดรเจนซัลไฟด์"เกิดในน้ำ
ในทางกลับกัน...เมื่ออุณหภูมิน้ำสูงขึ้น(แดดจัด)"แอมโมเนีย, ไนไตรท์"ก็เกิด กุ้งปลาก็ขาดอากาศหายใจ
เนื่องจากแก๊สพิษในน้ำมากเกินไป ทำให้สัตว์น้ำเครียด
แล้วหลั่งเมือกออกมาสู้กับเชื้อโรคที่จะแปลกปลอมเข้ามากับคุณภาพน้ำที่ไม่เปลี่ยนไป
เมื่อหลั่งเมือกมากก็สูญเสียพลังงานมาก อาจส่งผลให้กุ้งปลาตายได้ในที่สุด
ฟาร์มไหน
บ่อไหนที่เจอปัญหาข้างต้นให้แก้ปัญหาโดยการหว่านโรย"ไคลน็อพติโลไลท์"จับแก๊สบนพื้นบ่อเลี้ยง
10-20 กิโลกรัมต่อไร่ 1-2 วัน
ถ้ายังไม่หยุดตายให้หว่านเพิ่มลงไปอีก 10-20 กิโลกรัมต่อไร่
หรือหว่านโรยจนกว่าจะหยุดตาย ที่กล่าวมาเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเท่านั้น
ปัญหาจริงๆอยู่ที่เลนก้นบ่อต่างหากการกำจัดเลนก้นบ่อโดยใส่บาซิลลัส MT
1/2-1 กิโลกรัมต่อไร่ ทุกๆ 7-14 วัน/ครั้ง
บาซิลลัส MT จะทำหน้าที่ย่อยเศษอาหารบนพื้นบ่อให้หมดไป
เมื่อสารอินทรีย์พื้นบ่อไม่มี แก๊สพิษในบ่อก็น้อยลง
เช่นเดียวกัน...ฝนตกก็ให้ตรวจวัดพีเฮทน้ำให้อยู่ระหว่าง 7.5-8.5 แต่ถ้าพีเฮทต่ำกว่า 7.5 (ช่วงเช้า)...ก็ให้หว่านปูนขาว
หรือโดโลไมท์ 25-50 กิโลกรัมต่อไร่ แต่ถ้าพีเฮทสูงกว่า 8.5
ก็ให้หว่านยิปซั่ม หรือภูไมท์ซัลเฟตถุงแดงแทนในสัดส่วน 25-50
กิโลกรัมต่อไร่
บรรเจิด ยิ่งวงษ์
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com