เมื่อพูดถึงปลาสวยงาม หลาย ๆ ท่านคงจะนึกถึง ปลาทอง ปลาสอด
ปลาหางนกยูง ปลากัด ปลาเทวดา ปลาปอมปาดัวร์ ปลาคาร์พ ปลาหมอสี เป็นต้น ปลาเหล่านี้คนไทยส่วนใหญ่จะรู้จักคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีเพราะเป็นปลาที่คนไทยนิยมเลี้ยงกันมานาน
ปัจจุบันประเทศไทยมีการเพาะเลี้ยงปลาสวยงามกันแพร่หลาย
การขายปลาสวยงามสามารถสร้างรายได้วันละไม่ต่ำกว่า 1 พันบาท ปลาสวยงามสามารถ สร้างรายได้กว่า
3 หมื่น/เดือน. ในยุคโควิด สำหรับปลาสวยงามที่ราคาเริ่มต้นหลักสิบบาท
ขายดีมากจนเพาะพันธุ์แทบไม่ทัน
แต่เกษตรกรส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความเข้าใจในการเพาะเลี้ยงปลาสวยงามที่ถูกต้องทำให้ประสบปัญหาในเรื่องน้ำเน่าเสีย
ปลาเป็นโรค หรือปลาตาย เป็นต้น วันนี้ผู้เขียนจะมาแนะนำเป็นวิทยาทาน ในเรื่องน้ำเน่าเสียให้แก่เกษตรกรผู้ที่เลี้ยงปลาสวยงามเป็นวิทยาทานเบื้องต้น
ผู้ที่เลี้ยงปลาสวยงามส่วนมากจะมีปัญหาในเรื่องน้ำในบ่อเลี้ยงปลาเกิดการเน่าเสีย
เมื่อน้ำเน่าเสียเกิดขึ้น นั่นหมายถึงปริมาณออกซิเจนในน้ำลดลง
จนอาจไม่มีออกซิเจนให้ปลาในน้ำให้หายใจ ซึ่งอาจทำให้ปลาสวยงามที่เลี้ยงตายยกบ่อได้
ปัญหาน้ำเน่าเสียในบ่อเลี้ยงปลา ส่วนใหญ่มาจากการให้อาหารปลาและการถ่ายของเสียของตัวปลาแล้วมันเหลือเยอะบูดเน่า
ก็ทำให้เกิดแก๊สแอมโมเนีย ไนเตร ก๊าซไข่เน่า ก๊าซบีเทน ถึงแม้อาหารที่ใช้เลี้ยงปลาส่วนมากจะถูกปลากิน
แต่จะมีบางส่วนตกลงก้นบ่อปลา ทำให้เกิดการเน่าเสียขึ้น
ปัญหาน้ำเน่าเสียในบ่อสร้างความหนักใจให้แก่เกษตรกรผู้ที่เลี้ยงปลาสวยงามไม่น้อยการแก้ปัญหาน้ำเน่าเสียให้ใช้จุลินทรีย์บาซิลลัส
MT มาย่อยเศษอาหารขี้ปลาบนพื้นบ่อสลับกับการหว่านไคลน็อพติโลไลท์
จับแอมโมเนีย ร่วมกับการตีน้ำให้ออกซิเจน เนื่องจากน้ำที่เน่าเสียในบ่อเลี้ยงปลาเกิดจากจุลินทรีย์ภายในบ่อย่อยสลายไม่สมบูรณ์จึงก่อให้เกิดของเสียเน่าเสียขึ้น
ดังนั้นการแก้ไขปัญหาที่ตรงจุดก็คือนำจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพสูงเข้าไปย่อยสลายแทนที่เพื่อให้ของเสียต่างๆ
ถูกย่อยสลายโดยสมบูรณ์ ดังนั้นน้ำที่เสียอยู่ก็จะกลับกลายเป็นน้ำดี มีออกซิเจนสูงตามปกติ
ทำให้สุขภาพปลาที่เลี้ยงดีขึ้น เจริญเติบโตเร็ว ไม่สร้างมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม
ไม่มีสารเคมีตกค้างในตัวปลา และพื้นบ่อ
บรรเจิด ยิ่งวงษ์
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com