การเพาะเห็ดในบ้านเราที่อยากจะคุยเพราะว่าส่วนใหญ่แล้วก็ในปัจจุบันมีเยอะแยะมากมาย แต่เห็ดที่เพาะมากเป็นอันดับต้นๆของประเทศเรารู้ไหมครับว่าคือเห็ดอะไร เห็ดที่เยอะที่สุดในบ้านเราคือเห็ดฟาง ส่วนแบ่งการตลาดของบ้านเราผลผลิตมวลรวมประมาณ 120,000 ตันต่อปีเป็นเห็ดฟาง 55% เห็ดฟางถือว่าเป็นเห็ดที่น่าจะรับประทานแล้วอร่อยที่สุด ถูกปากที่สุด สำหรับคนไทย หลายคนบอกไม่ใช่มั้ง ไม่ใช่เห็ดฟางมั้ง เป็นเห็ดโคลนหรือป่าว เห็ดปลวกหรือเปล่าที่อร่อยที่สุด เห็ดฟางนี่เพาะได้ทั้งปี คนกินทั้งปี ไปร้านอาหารที่ไหนสั่งต้มยำต้องมีเห็ดฟางนอกเสียจากว่าไปร้านที่ทุรกันดานจริงๆ เรากินเห็ดฟาง คิดดูนะ 120,000 ตัน เรากินตัวนี้เกือบ 60,000 ตัน กินทุกวัน ขายได้ทุกวัน มีรายใหญ่เจ้าประจำผลิต ใครที่คิดว่ามีกึ๋น มีวิชาความรู้ มีความเก๋า อยากจะมาเพาะเห็ดฟางแข่งกับรายใหญ่เจ้าประจำส่งตลาดไท ตลาดสี่มุมเมือง เขาก็ไม่กลัวหรือไม่ต่อว่าอะไร ยินดีที่จะทำได้ ลองนึกให้เพื่อนๆได้เห็นภาพเล่นๆว่าถ้าเห็ดโคลนเพาะได้และกินทุกวัน จะสู้เห็ดฟางได้ไหม เพราะว่าเห็ดโคลนต้องอาศัยปลวกเลี้ยง ต้องยอมรับว่าเห็ดฟางกินทั้งดอกตูม ดอกใหญ่ ดอกอบ ดอกสด ดอกแห้ง ดอกดอง เห็ดฟางดอกใหญ่ๆก็คล้ายๆเห็ดโคลนเหมือนกัน และก็เพาะได้หลากหลายวิธี รองลงมาเป็นเห็ดก็เป้นพวกเห็ดถุง เห็ดถุงเป็นพวกเห็ดนางรม เห็ดนางฟ้า เห็ดขอนดำ เห็ดขอนขาว เห็ดเป๋าฮื้อ ตัวนี้จะอยู่ประมาณ 20% ที่ขายกันอยู่ในประเทศไทยเรา ต่อจากเห็ดถุง เห็ดเป๋าฮื้อ นางรม นางฟ้า อะไรต่างๆ ก็เป็นเห็ดหูหนู เห็ดหูหนูถ้าใครไม่เคยประสบความสำเร็จในชีวิตเลย อยากจะเพาะเห็ดให้ได้ก็ลองเพาะเห็ดหูหนูดูเพราะเห็ดหูหนูแค่น้ำแอร์หยดลงไปที่ขอนไม้แล้วมีเชื้อเห็ดหูหนูก็เจริญเติบโตขึ้น แล้วก็ลืมรดน้ำไปเลย เขาจะหดเซลล์ลงไปแห้ง ดูเหมือนตายแต่ไม่ตาย 6-7 เดือน หรือปีหนึ่งเอาน้ำมารดมันก็เจริญเติบโต ก็แนะนำว่าถ้ายังไม่เคยประสบความสำเร็จในการทำอะไรในชีวิตเลย ลองเพาะเห็ดหูหนูดู รับรองว่าไม่ผิดหวังจะประสบความสำเร็จ ที่เหลือก็เป็นพวกเห็ดเข็มทอง เห็ดลม เห็ดแครง ความจริงมีพวกเห็ดตีนแรดและเห็ดหอมอีกเล็กน้อยแหล่งผลิตส่วนใหญ่ก็นครปฐม ราชบุรี อยุธยา อ่างทอง ก็มีทั่วไป เชียงใหม่ กาฬสินธุ์ ภาคใต้ก็มี คนที่คิดการเพาะเห็ดคนแรกของประเทศไทยโดยเฉพาะเห็ดฟางที่ผมไปดูข้อมูลมาชื่อว่า อ.ก่าน ชลวิจารณ์ เป็นผู้บุกเบิก หรือใครเคยที่ไปเป็นสมาชิกของชมรมเรา เราเคยบรรยายเรื่องการเพาะเห็ดยุคใหม่ไร้สารพิษที่ไทยกรีนอะโกรฟาร์ม เราจัดประมาณ 2-3 รุ่นในช่วงนั้นก็จะรู้ว่าเราจะมีข้อมูลที่เอามาแชร์ ว่าอ.ก่าน ชลวิจารณ์เป็นคนที่บุกเบิกเพาะเห็ดฟางตั้งแต่การใช้กากของต้นซากของบัว บัวหลวง เปลือกบัว กาบบัว ส่วนอีกท่านหนึ่ง อ.พันธ์ทวี ภักดีดินแดน อันนี้เป็นผู้ที่ปรับปรุงเห็ดนางรมและพัฒนาการของการเพาะเห็ดถุงต่างๆ ก็ไล่เรียงกันมา พัฒนากันมาเรื่อยๆ แล้วก็มีอาจารย์อีกหลายท่านที่มีคุณูปการ ไม่ว่าจะเป็น อ.ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ สมัยก่อนที่ผมอยู่แถวหน้ามหาลัยเกษตรศาสตร์จะมีร้านเห็ดเยอะ มีของอ.อานนท์ เอื้อตระกูล ร้านฟาร์มเห็ดสีทอง ฟาร์มเห็ดโกคี เคยเห็นเขาขายเชื้อเห็ดตั้งแต่ใส่กระป๋องนม สมัยก่อนเป็นกระป๋องสังกะสีและพัฒนามาเป็นพวกถุงพลาสติกเป็นอีแปะ เป็นก้อนกลม ก็ยาวนานสมัยปี 2535 ก็มีกลุ่มผู้เพาะเห็ดเยอะยากมาย อันนี้เป็นข้อมูลที่เคยไปเก็บรวบรวมได้ตำราเก่าๆของรุ่นพี่ที่เขาทำวิจัยทำอะไรต่างๆ ทีนี้มาดูว่าจริงๆแล้วเห็ดมันเพาะกับอะไรได้บ้าง ผมว่ายุคนี้น้องๆรุ่นใหม่ได้เปรียบ มีสื่อ ถ้าเป็นคนที่ขวนขวายหาความรู้ก็จะรู้ว่าเห็ดสามารถเพาะกับวัตถุดิบได้หลากหลาย คือเห็ดปกติเขาอาศัยกับต้นไม้ ต้นไม้ที่มีชีวิต ต้นไม้ที่ถูกเห็ดทำลายคือกินซากพืชและเห็ดที่อาศัยร่วมกับต้นไม้ก็ได้ และก็เห็ดที่ต้องรอให้ไม้ผุเป็นปุ๋ยพวกเห็ดฟาง คนก็นึกว่าเห็ดฟางเพาะกับฟางอย่างเดียว บางคนก็นึกว่าเห็ดนางรม เห็ดนางฟ้า เพาะกับขี้เลื่อยอย่างเดียว จริงๆแล้วก็เพื่อนๆที่ไม่รู้จะทำอะไร เพาะเห็ดไม่ใช่เรื่องยาก ท่านมีตอซังฟางข้าวหรืออยู่ใกล้ร้านโรงเลื่อย ร้านเฟอนิเจอร์ ท่านสามารถเพาะเห็ดได้เกือบทุกชนิดเลย หรือมีใบตองแห้ง มีหญ้าคา หญ้าแพรก เพาะเห็ดได้หมดและได้ทั้งเห็ดฟาง เห็ดถุง เห็ดถุงก็คือพวกนางรม นางฟ้า ภูฐาน ฮังกาลี เป๋าฮื้อก็สามารถเอาหญ้าเอาฟางอัดบดให้แน่น ทำเป็นก้อน คำว่าก้อน หรือเห็ดถุง ทำเป็นขี้เลื่อย มันก็จำแลงแปลงมาจากขอนไม้ ขอนไม้ เมื่อในอดีตป่ามันอุดมสมบูรณ์ทั้งประเทศไทยของเราหรือประเทศจีน แต่พอมีพวกที่ลักลอบตัดไม้ ทำให้ป่าเราลดน้อยถอยลง โดยเฉพาะประเทศจีน ประชากรเขาเยอะ เราก็มีการปิดป่า มี พรบ ปิดป่า เนื่องด้วยว่าป่าถูกทำลาย ความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติน้อย จะเพาะเห็ดทีก็ต้องไปตัดไม้ ทำเป็นขอน เป็นท่อน แล้วเจาะรูแล้วก็เอาเชื้อเอาสปอร์อัดใส่เข้าไปแล้วก็ปิด เอาเศษไม้ปิด เอาค้อนตอกอุดเข้าไป ไม้น้อยก็กลายเป็นไม่สามารถใช้ไม้เบญจพรรณ ไม้ป่าได้เหมือนเดิม โดยเฉพาะจีนทรัพยากรคนเยอะแย่งกัน แม้แต่ขี้เลื่อยเอามาอัดใส่ถุงให้เหมือนขอนไม้เล็กๆก็ไม่สามารถทำได้ จีนก็ต้องใช้ทั้งหญ้า ทั้งฟาง จีนสมัยก่อนยากจน แต่มีความอดทน อดกลั้น เสื่อผืน หมอนใบ อยู่ในประเทศตัวเองไม่ไหวก็ออกไปทำมาหากินทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยก็มา ทำให้ปัจจุบันแม้แต่ประเทศแผ่นดินแม่ของจีนก็ร่ำรวยเพราะว่าขยันขันแข็ง เขาก็ใช้ทุกอย่าง หญ้า ฟาง ทรัพยากร ทุกเม็ด ทุกชนิด ในการที่จะทำให้มีอาหารกิน เพราะฉะนั้นเวลาที่เขาไปศึกษาดูงานก็เริ่มเห็น จีนเขาใช้หญ้า ใช้ฟาง ใช้ไส้นุ่น ใช้เปลือกถั่วเขียว เปลือกถั่วหลวง เปลือกมันเพาะได้หมดเลย เพื่อนๆที่มารับชมสามารถที่จะเพาะเห็ดได้ง่ายๆ แต่จุดสำคัญเดี๋ยวจะหาว่าเชียร์เพาะเห็ด สิ่งสำคัญคือตลาด ต้องศึกษาเรื่องการทำตลาดออนไลน์ ตลาดออนไลน์ ตลาดชุมชน เขาต้องการเห็ดชนิดใด ลองไปดู เรารู้ว่าเห็ดสามารถที่จะเพาะได้ เห็ดฟางก็เพาะกับขี้เลื่อยก็ได้ เอาขี้เลื่อยมาเพาะ ขี้เลื่อยเก่า ขี้เลื่อยใหม่ ขี้เลื่อยไม้เนื้อแข็งเนื้ออ่อน ส่วนใหญ่เขาจะเอาขี้เลื่อยที่เพาะเห็ดถุง นางรม นางฟ้า อะไรต่างๆเรียบร้อยแล้วก็เอามาเพาะเห็ดฟางในตะกร้าบ้าง ในอะไรบ้าง เห็ดฟางมีทั้งกองเตี้ย กองสูง ในตะกร้า ในกระสอบปุ๋ยก็มี ขึ้นอยู่กับการดีไซน์ การทำสตอรี่ การทำเรื่องราวให้คนเขามาสอบถาม สัมภาษณ์ ถ่ายลงช่องรายการ ทำให้มันแปลกแตกต่าง แต่หลักการหรือแก่นของมัน มันจะมีอยู่ไม่ได้ยากเย็นอะไร ที่สำคัญก็รู้แล้วนะครับว่าเห็ดฟางผลิตมากที่สุด คนชอบกินมากที่สุด และมีรายย่อยๆ รายใหญ่อยู่ประมาณ 10% 20% เขาอยู่ตัว เขาก็มีรายย่อยอยู่ 70-80% ล้มลุกสลับสับเปลี่ยน เราอยากจะลองฝีมือก็น่าจะทำได้ ไม่ยาก ถ้าไม่รู้ไม่เข้าใจที่ THAIGREENAGRO หรือชมรมเกษตรปลอดสารพิษเขามีฝ่ายวิชาการ ฝ่ายวิชาการสอบถามทางไลน์ก็ได้ ภาพรวมของการเพาะเห็ดส่วนใหญ่เขาจะมีการผลิตตั้งแต่เชื้อวุ้น หรือเรียกว่าตั้งแต่เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เขาจะมีขั้นตอนคือมีหัวเชื้อวุ้น เอามันฝรั่งหั่นเป็นลูกเต๋า 1 ซม อาจจะใช้ 2 ขีด ต้มกับน้ำครึ่งลิตร ต้มให้สารอาหารในมันฝรั่ง POTATO ออกมาแล้วกรองและเติมน้ำกลั่นเข้าไปอีกครึ่งลิตรเป็น 1 ลิตร และใส่กลูโคส 20 กรัม ผงวุ้น 20 กรัม เพื่อให้มันได้เป็นวุ้นเป็นอาหารที่แข็งและก็เอาเนื้อเยื่อของเห็ด process ขั้นตอนเขี่ยในห้องที่ปลอดเชื้อ ใส่ขวดแบนสมัยก็ก็ประมาณเศษ 1 ส่วน 3 ของขวด และวางตะแคงเอนให้มันเป็นสไลด์ สโลปลงมา แล้วเลี้ยงกับ ไปเจอดอกเห็ดอวบ อ้วน ใหญ่โต สมบูรณ์ ทำตามขั้นตอนที่สะอาด ปลอดภัย ไร้การปนเปื้อน เอาก้านมาฉีด สะกิด เอาเข็มเขี่ย สะกิดวางก็จะได้เชื้อวุ้น เขาจะเอาเชื้อวุ้นหมักหรือบ่มได้ที่ อาจจะ 7 วัน 10 วัน ก็จะเขี่ยลงเชื้อข้าวฟ่าง เพราะฉะนั้นในธุรกิจเพาะเห็ดก็จะมีเชื้อข้าวฟ่างอีกใส่เป็นขวด เดี๋ยวนี้คนกินเหล้าแบนน้อย เขากินโซดาเยอะ ก็จะใส่เป็นขวดกลมโซดา เขาจะเอาข้างฟ่างไปต้ม ช่วงต้มบางคนก็ใส่วิตามิน B1 B2 Bรวม ใส่ M-150 กระทิงแดง ใส่หินแร่ภูเขาไฟ ม้อนท์โมริลโลไนท์ ภูไมท์ก็แล้วแต่เทคนิคเพื่อให้สารอาหารมันอมบ่มในเมล็ดข้าวฟ่างและไปผึ่งลมให้แห้ง หมาดๆ ต้มก็ต้มให้ไม่สุกจนบานพองเยอะ ต้มให้กึ่งสุกกึ่งดิบ ผึ่งลมให้แห้งและก็เอามาใส่ขวดโซดา แล้วก็ไปนึ่งด้วยระบบแรงดัน ออโต้เขป ต้องมีแรงดัน 125 องศาเซลเซียส แรงดัน 15 ปอนด์ แล้วก็นึ่งไป ชั่วโมง 2 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับเชื้อโรคเยอะ เชื้อโรคน้อย ก็จะได้หัวเชื้อจากวุ้นต่อมาที่เชื้อข้าวฟ่าง เขาก็จะขายหัวเชื้อข้าวฟ่าง บางคนทำเชื้อเก่ง จะขายก็ขวดละ 5 บาท 10 บาท ก็เป็นอีกอาชีพหนึ่ง ก็จะมีคนที่ขายหัวเชื้อ ทำหัวเชื้อข้าวฟ่างอย่างเดียวบางคนก็ทำหัวเชื้อหรือก้อนเชื้อขี้เลื่อย ที่ผมบอกว่าใช้ขี้เลื่อย ใช้ฟาง ใช้อินทรียวัตถุต่างๆเอามาอัดเป็นถุง เป็นก้อน บางคนใช้สูตรดั้งเดิม ขี้เลื่อย 100 กิโลกรัม ผสมกับยิปซัม 2 กิโลกรัม ดีเกลือ 2 ขีด แคลเซียม 2 กิโลกรัม ภูไมท์ 3% หรือ 3 กิโลกรัม คลุกเคล้ากับขี้เลื่อยให้ดีบางคนก็ผสมกับตัวบาซิลลัส ซับทิลิส ไบโอเซนเซอร์ หรือ บีเอสพลายแก้ว หมักขี้เลื่อย ก็จะได้ก้อนถุงขี้เลื่อยแล้วก็ไปนึ่ง บางคนก็นึ่งในเตาลูกทุ่งมันใหญ่ อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส นึ่งให้เชื้อโรคในขี้เลื่อย ในถุงมันตาย ทิ้งให้เย็นก็หยอดเชื้อจากข้าวฟ่าง ขวดเชื้อข้าวฟ่างที่เป็นโซดา บางคนก็หยอดได้ 30 ถุง บางคนก็ได้ 50 70 ถุง ก็จะได้สเต็ปที่ 3 คือขายก้อนเชื้อขี้เลื่อย ก้อนละ 7 บาท 10 บาท มารับหน้าฟาร์ม ไปส่งให้ถึงที่ คุณหนูคุณนายไม่อยากทำเห็ดตั้งแต่แรกเริ่ม ไปซื้อก้อนเชื้อเห็ดก็มาเปิดดอกเลย ก็ทำอาชีพขายก้อนเชื้อตรงนี้ได้ ถ้าซื้อก้อนเชื้อถุงอย่างเดียวไปเปิดดอกก็ลงทุนก้อนละ 7 บาท 8 บาท ทำโรงเรือน ไม่มีโรงเรือนก็ใส่ตุ่ม เอาก้อนเชื้อไปเรียงในตุ่ม เอากระสอบป่านพรมน้ำปิดก็ได้ดอกแล้ว หรือใส่กล่องตู้เย็น ลังหนังสือพิมพ์ ลังหม้อหุงข้าวก็เอาก้อนเชื้อใส่ก็ได้เหมือนกันหรือไม่มีอะไรจริงก็เอาไปใส่ไว้ในห้องน้ำ ตั้งให้สูงๆหน่อย เปิดไว้ 30-50 ก้อน เดี๋ยวก็ได้เห็ดกิน
มนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com