วันนี้เราจะมาพูดคุยกันถึงกลุ่มจุลธาตุ 2 ตัว
ถึงแม้ว่าจะไม่ได้มีบทบาทเป็นหน้าที่หลักเหมือนพวกไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม
หรืออย่างพวกตัวอื่นๆแต่เจ้าสังกะสีกับแมกนีเซียม ที่เอามาพูดเพื่ออยากจะให้เห็นหน้าที่ที่โดดเด่นของเขา
นั่นคือเรื่องของการที่เขาทำหน้าที่ในการสร้างความเขียวให้กับพื้นที่บนใบพืช
ความเขียวก็มีความสำคัญอย่างมากในพืช เพราะพืชนั้นต้องมีคลอโรฟิลด์
ซึ่งวันนี้เดี๋ยวเราพูดคุยกัน
เรื่องของสังกะสีและแมกนีเซียม
แมกนีเซียมถือว่าเป็นธาตุรองอยู่ในหมวดหมู่ของแคลเซียม กำมะถัน
แต่แมกนีเซียมที่เอามาจับคู่กับสังกะสีหรือซิงค์ ซึ่งเป็นกลุ่มของจุลธาตุ
ตรงนี้ส่วนใหญ่แล้วเพื่อนๆที่ทำเกษตรอาจจะได้ยินแต่เรื่องแคลเซียมโบรอนเป็นส่วนใหญ่
แต่พวกซิงค์ พวกแมก หรือทองแดง โมริบดินัม อะไรต่างๆ
ความจริงแล้วสิ่งต่างๆเหล่านี้มีความสำคัญต่อพืชอย่างยิ่งเช่นเดียวกัน
คือแม้ว่าอยู่ในกลุ่มจุลธาตุพืชก็ขาดไม่ได้ คือถ้าขาดโดยเฉพาะสังกะสี
ถ้าเป็นพืชตระกูลส้ม มะกรูด มะนาว ส้มโอ ก็จะมีอาการเขาเรียกว่าโรคใบแก้ว
อาจจะมีข้อที่ถี่สั้นและก็ใบเหลืองซีด เล็ก เรียว จนบางครั้งอ้างกันเลยเถิดไปจนถึงว่าเป็นกรีนนิ่งที่เกิดจากเชื้อพวกแบคทีเรียหรือไวรัสต่างๆ
แต่ส่วนใหญ่ที่พบเจอก็คือดินเขาจะเปรี้ยว
แต่ถ้าเป็นแมกนีเซียมอาจจะมองได้ง่ายก็คือมีอาการใบเหลืองระหว่างเส้นใบ
คือใบจะไม่เขียวเต็มใบ สังกะสีถ้าเป็นกลุ่มมังคุด ทุเรียน ก็อาจจะใช้อยู่ประมาณ
15-30 PPM ยังใช้น้อยกว่าพวกตระกูลส้มกับพวกกล้วยไม้ ส้ม
มะกรูด มะนาว ส้มโอ ส้มซ่า ส้มจี๊ด ส้มต่างๆเลย พวกนี้จะใช้สังกะสีเยอะ
แต่ถ้าเป็นพืชตระกูลปาล์ม เขาจะใช้พวกตระกูลโบรอน เป็นหลัก ถ้าในมาเลเซียปลูกปาล์มก็ใช้โบรอนในรูปของบอแรกซ์เป็นกระสอบ
หว่านไปที่โคนต้นปาล์มกันเลยทีเดียว หลังๆก็มีการใช้หินแร่ภูเขาไฟ พวกภูไมท์ พูมิช
ภูไมท์ซัลเฟต พูมิชซัลเฟอร์ ก็มีโบรอนอยู่ด้วย
แต่ถ้าเป็นพืชตระกูลปาล์มมะพร้าวก็อาจจะไม่เพียงพอก็จะต้องเติมทางดินเข้าไปด้วย
ในพืชตระกูลส้มใช้พวกสังกะสีสูงถึง 35 ถึง 100 PPM
ส่วนกลุ่มพวกธัญพืชทั่วไป ถั่ว มะเขือ มะระ บวกแตงกวา
ถ้าปล่อยให้ขาดแม้แต่นิดเดียว เขาจะแสดงอาการขาดแบบรุนแรงมากๆ
เพราะฉะนั้นพี่น้องที่ปลูกผัก ฟัก แฟง แตงกวา มะเขือ ถั่วฝักยาว การให้ความสำคัญ กับพืช
กับกลุ่มสังกะสี กับพวกแมกนีเซียมทำให้ใบเขาเขียวเข้มเพื่อใช้ในการสังเคราะห์แสง
เหมือนที่เล่าให้ฟังบ่อยๆถ้าพืชเขาไม่มีคลอโรฟิลด์ ไม่มีสีเขียว
เขาก็ขาดองค์ประกอบในการเอาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์กับน้ำมาสร้างน้ำตาลที่เรียกว่ากลูโคส
และก็เปลี่ยนเป็นรูปของฟรุ๊คโตสเพื่อจะมาสร้างกลไก โมเลกุลของน้ำตาลอีกชนิดหนึ่งมาเกาะกับกลูโคสตัวเดิมเพื่อให้ได้น้ำตาลซูโครส
และร่วมกับไนโตรเจน อ๊อกซิเจน
เพื่อไปทำโครงสร้างของคาร์โบไฮเดรตที่มีรูปประกอบเป็นพวกเซลลูโลส ลิกนิน
และเฮมิเซลลูโลส ซึ่งเป็นโครงสร้างหลัก
ส่วนกรดอินทรีย์หรือน้ำตาลส่วนที่เหลือก็ไปสร้างกรดอินทรีย์ ไข น้ำมันต่างๆเพื่อไปหล่อเลี้ยงสรีระ
ส่วนต่างๆของพืชการพยายามใช้กลุ่มจุลธาตุ แม้ว่าจะพูดเรื่องสังกะสีหรือแมกนีเซียม
แต่การฉีดพวกจุลธาตุ พวกทองแดง แมงกานีส สังกะสี โบรอน โมริบดินัม นิกเกิล
ไทเทเนียม คลอรีน พืชตระกูลถั่วมีโมริบดินัม ถ้าขาดผลผลิตน้อย ส่วนใหญ่จะอยู่ในผลิตภัณฑ์ของไทยกรีนอะโกรก็จะชื่อว่าซิลโคเทรซ
พวกนี้ถ้าปลูกผักแล้วมีปัญหาพวกแคระ แกน รากไม่เดิน ต้นไม่โต จะต้องมาดูพวกจุลธาตุ
ส่วนสังกะสีหรือแมกนีเซียม ซิงค์เขาจะมีอยู่ในดินน้อยถ้าปล่อยให้ดินเป็นด่างจัด
ดินเป็นด่างคือดินที่มีค่า pH มากกว่า 7 ขึ้นไป ยิ่งห่างเลข
7 เป็น 9 เป็น 10 เป็น 11 ดินพวกนี้ห้ามใช้กลุ่มวัสดุปูนเป็นอันขาดทีเดียว
เพราะว่าจะเป็นการไปเติมด่างเพิ่มขึ้น
การใช้ปุ๋ยถ้าใช้แบบประณีตก็ห้ามใช้ปุ๋ยที่เป็นรูปของแคลเซียม เช่น
แคลเซียมไนเตรทหรือ 15-0-0 เขาจะเป็นการไปเติมเสริมเพิ่มความลำบากให้กับดิน คือไปเติมด่างเพิ่มขึ้นปุ๋ยที่ควรจะใช้ในกลุ่มไนโตรเจนเป็นพวก
21-0-0 คือแอมโมเนียมซัลเฟต คือต้องปรับพฤติกรรมและทำอย่างประณีต
เพื่อให้ดินกลับมาอยู่ในโหมดที่พร้อมต่อการละลายแร่ธาตุสารอาหาร
ดังนั้นถ้าดินมันเป็นด่างเราอาจจะใช้พวกฮิวมิกแอซิด ใช้พวกปุ๋ยอินทรีย์ ใช้พวกน้ำหมักมาราดรด
เติมที่โคนต้นใต้บริเวณทรงพุ่ม เพื่อปรับ pH ของดินมิฉะนั้นแล้วพืชของเราจะกลายเป็นพืชที่ขาดพวกสังกะสี
พวกแมกนีเซียม
แมกนีเซียมเราก็นอกจากจะซื้อเป็นพวกผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปและเรายังใช้พวก
ถ้าดินเปรี้ยวก็สามารถใช้พวกแมกนีเซียม จากโดโลไมท์ได้ โดโลไมท์เป็นกลุ่มวัสดุปูน เหมือนพวกปูนมาน
ปูนเปลือกหอย หินปูนบด ขี้เลื่อยหินอ่อน ฟอสเฟต เพียงแต่ว่ามีความต่างกับ
ปูนเปลือกหอย ปูนมาน ขี้เลื่อยหินอ่อน ปูนเผา ปูนขาว
ตรงที่เขามีแมกนีเซียมที่ช่วยในเรื่องของการสร้างคลอโรฟิลด์ได้ด้วยนั่นเอง
แมกนีเซียมเขาจะช่วยในเรื่องของการทำให้ใบเขียว ช่วยปรับสภาวะกรดด่างภายในเซลล์
ในท่อลำเลียงของพืช เป็นธาตุรองที่ถือว่าเป็นพระเอกรอง และเป็นตัวเด่นมีความสำคัญ
ทำให้สร้างแป้งและน้ำตาลได้ดี ส่วนสังกะสีจะเด่นในเรื่องของการผลิต
พวกฮอร์โมนอ๊อกซิน ทำให้ขั้วดอก ขั้วผลเหนียว
และก็ทำงานเหมือนกันกับแมกนีเซียมคือสร้างคลอโรฟิลด์ทำให้ใบพืชนั้นเขียว
ถ้าขาดแมกนีเซียม คือจะเหลืองซีดกลางเส้นใบ แต่ถ้าขาดสังกะสี ใบจะเล็ก เรียว ลีบ
ข้อถี่และเหลืองเกือบทั้งใบ เขาอาจจะต่างกัน พวกนี้ก็ต้องดู
ส่วนเขียวแบบไนโตรเจนหรือยูเรียคิดว่าเกษตรกรหรือเพื่อนๆทั่วทั้งประเทศคงทราบกันดีเขียวแบบไนโตรเจน
เขียวแบบบ้าใบ งามใบ อวบอ้วน ง่ายต่อการทำลายของโรคแมลงศัตรูพืช ก็จะต่างกัน
แต่สังกะสีมีความสำคัญเป็นจุลธาตุ จุลที่แปลว่าเล็กๆ น้อยๆ แต่อย่าดูถูกเล็กๆน้อยๆ
แต่ขาดไม่ได้
เพราะฉะนั้นการทำการเกษตรอย่าคิดว่าในดินนั้นมีจุลธาตุมากเพียงพอแล้วไม่ดูแล
มีความจำเป็นที่จะต้องใส่เสริม เพิ่มเติม ลงไปด้วย สังกะสีถ้าเพื่อนๆที่มีปัญหา
ถ้าใช้กลุ่มจากปุ๋ยน้ำชีวภาพแล้ว ที่งามใบ ใบใหญ่ ใบเขียวแต่มีอาการขาดสังกะสีในปุ๋ยน้ำชีวภาพ
แม้ว่าเราจะรู้ว่าในชีวภาพเขาก็ย่อยสลายกลุ่มจุลธาตุแบบนี้มาด้วย แต่คงไม่เพียงพอก็คงมีทางเลือกสามารถที่จะใช้ผลิตภัณฑ์ของไทยกรีนอะโกร
จะมีอยู่ในซิลโคเทรซจะเป็นรวมๆ
แต่ถ้าเป็นตัวเดี่ยวๆจะชื่อซิงค์อะโกรลองไปดูหรือสอบถามกับทางเจ้าหน้าที่ได้
ถ้าขาดตัวนี้ผลผลิตจะลดลง การสร้างเมล็ด การผลิตเมล็ด
เมล็ดคือเป็นตัวรวบรวมฮอร์โมน สสารต่างๆถ้าเมล็ดน้อยไม่ใช่ว่าดี คือบางทีการได้รับแร่ธาตุสารอาหารหรือฮอร์โมนต่างๆไม่ดีไปด้วย
กลุ่มจุลธาตุได้คุยไปเมื่อวันก่อนๆว่าถ้าเขาได้รับแร่ธาตุสารอาหาร
ที่ครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม ธาตุพิเศษ
เขาจึงจะสังเคราะห์พวกฮอร์โมนได้ รวมถึงกรดอะมิโน กรดอะมิโน 20 กว่าชนิด
ถ้ามีน้อยไม่เพียงก็ไม่ได้ไปต่อในฮอร์โมน กรดอะมิโนก็มาจากโปรตีน
โปรตีนก็มาจากปุ๋ยพวกไนโตรเจน มาจากพวกซัลเฟอร์อะไรต่างๆ
ถ้ามองภาพรวมก็คืออย่าเลี้ยงลูกหรือดูแลต้นไม้ให้เหมือนเด็กกินน้ำพริกอย่างเดียว
คือเลี้ยงเด็กให้กินน้ำพริกอย่างเดียวหรือเลี้ยงดีเกินไปคือกินขาหมูอย่างเดียวเด็กไม่ตายก็จริง
แต่อาจจะผอมแห้งแรงน้อย หรืออ้วนไปเลยจนอายุไม่ยืนคือไขมันไปอุดในเส้นเลือดตายก่อนวัยอันควร
เลี้ยงต้นไม้ก็ไม่ใช่ว่าใส่แต่ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก ปุ๋ยอินทรีย์อย่างเดียว
ต้องดูด้วยถ้าดินไม่ดี ใส่ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก ปุ๋ยอินทรีย์ก็ขาดสารอาหาร พวกรอง เสริม
และก็พวกธาตุพิเศษได้ หรือใช้แต่ปุ๋ยเคมีสูตรเสมออย่างเดียวก็ได้แค่ N P K คือไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม หรือที่แย่ไปกว่านั้นคือใส่ 46-0-0
ยูเรียอย่างเดียวยิ่งแย่ไปอีก ต้องใส่ทั้งธาตุหลักคือ N P K แล้วธาตุรองคือแคลเซียม
แมกนีเซียม กำมะถัน ธาตุเสริมพวกเหล็ก ทองแดง แมงกานีส สังกะสี โบรอน โมริบดินัม
คือต้องมีให้ครบถ้ารู้ว่าดินไม่ดี ดินทราย ดินแข็ง ดินเหนียว
นี่เลยตัวพูมิชซัลเฟอร์ หรือภูไมท์ซัลเฟต
รีบไปซื้อหาเอามาเติมในดินในนั้นจะมีแมกนีเซียมและสังกะสีอยู่ด้วยเช่นเดียวกัน
เพื่อนๆที่อยากจะศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม
เป็นเรื่องหนังสือธาตุอาหารพืชของรองศาสตราจารย์ Dr.ยงยุทธ
โอสถสภา ก็ถือว่าเป็นตำราในระดับเกจิหรือปรมาจารย์
ที่เขียนไว้ให้ลูกศิษย์ลูกหาทั่วประเทศเอาไว้ศึกษาหาความรู้
เล่มนี้จะมีรายละเอียดหน้าที่ของธาตุอาหารต่างๆเป็นอย่างดีแต่วันนี้ก็เน้นในเรื่องของสังกะสีกับแมกนีเซียมที่ทำหน้าที่ในการสร้างความเขียวหรือสร้างคลอโรฟิลด์ให้แก่พืช
เพื่อสังเคราะห์อาหารไปสร้างอ๊อกซิน สร้างฮอร์โมนของสังกะสี
แมกนีเซียมก็เติมเต็มส่วนต่างๆที่ทำให้การเจริญเติบโตของพืชเราไม่หยุดชะงัก
มนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com

