มันสำปะหลัง พืชไร่เศรษฐกิจของประเทศไทยเรา ปีที่ผ่านมาถือว่าชาวไร่มันสำปะหลังได้ยิ้มกัน ด้วยราคาที่ถือว่าดีที่เดียว แต่ไม่วายมีเสียงบ่นมาจากชาวไร่มันสำปะหลัง ว่าราคาดีแต่ผลผลิตเสียหายพอสมควร อันเนื่องมาจากปีที่ผ่านมามีฝนตกลงมามากจนเกินไป แล้วดันตกไม่เป็นฤดู ตกมาในช่วงที่มันกำลังลงหัวพอดี ทำให้เกิดโรคเชื้อรา สร้างความเสียหายให้กับหัวมันสำปะหลัง ทำให้หัวมันสำปะหลังเน่า ผลผลิตที่ได้ลดลง ซึ่งเกษตรกรไม่มีทางทราบเลยเกิดความเสียหายกับมันสำปะหลังที่ปลูก เพราะโรคเชื้อราเกิดอยู่ใต้ดิน กว่าจะรู้ก็ตอนที่จะขุดมันจะไปขาย จึงพบว่าหัวมันสำปะหลังโดนเชื้อราเล่นงานซะแล้ว
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษขอนำเสนอเทคนิคการป้องกันโรคเชื้อราที่อยู่ในดิน ให้กับชาวไร่มันสำปะหลังได้ทราบข้อมูล เพื่อเตรียมการรับมือกับโรคเชื้อราในฤดูกาลปลูกมันสำปะหลังในปีนี้ที่กำลังจะเริ่มลงมือปลูกกันในระยะนี้ วิธีการป้องกันโรคเชื้อราในดินที่ดีที่สุด ก็คือการใช้วิธีธรรมชาติ ฟังดูอาจจะงงๆกัน วิธีธรรมชาติที่ว่านี้ก็คือการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่าที่เป็นสิ่งมีชีวิตที่ดำรงชีวิตอยู่ในดินอยู่แล้ว คอยกำจัดเชื้อราโรคพืชที่อยู่ในดิน การใช้สารเคมีที่กำจัดเชื้อรามาป้องกันกำจัดโรคในดินเป็นวิธีไม่ได้ผลและสิ้นเปลืองเพราะสารเคมีไม่สามารถลงไปในดินได้
อาจมีคำถามจากเกษตรกรชาวไร่มันสำปะหลังว่า แล้วเราจะรู้ได้ยังไงว่าเกิดเชื้อราระบาดในไร่มันสำปะหลัง คำตอบคือเราไม่ทราบได้ว่าจะเกิดโรคในช่วงไหน ซึ่งแนวทางที่ทางชมรมเกษตรปลอดสารพิษเราแนะนำ คือการป้องกันตั้งแต่ยังไม่พบการระบาด กล่าวคือเราควรใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่าในเชิงป้องกันตั้งแต่ขั้นตอนแรกของการปลูกคือการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่านำมาผสมน้ำแล้วชุบท่อนมันสำปะหลังก่อนปลูกเพื่อป้องกันเชื้อรา หลังจากนั้นให้ฉีดไตรโคเดอร์ม่าในไร่มันสำปะหลังทั้งบนใบลำต้น ในดิน เป็นประจำเดือนละ 1-2 ครั้งในช่วงหน้าฝน เพื่อให้เชื้อไตรโคเดอร์ม่าทำงานเป็นเสมือน ร.ป.ภ. ค่อยรักษาความปลอดภัยให้กับต้นมันสำปะหลังที่ปลูก เพียงเท่านี้ก็ช่วยป้องกันโรคเชื้อราในดินที่สร้างความเสียหายให้กับหัวมันสำปะหลังได้มากกว่า 80 % ถ้ายังไงลองนำเทคนิควิธีที่ทางชมรมเกษตรปลอดสารพิษเราแนะนำไปลองปรับใช้ในไร่มันสำปะหลังของท่านดูนะครับ……
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่