หากจะพูดถึงกะหล่ำปีนั่นหลายๆคนย่อมรู้จักกันดีเป็นแน่แท้เนื่องจากผู้คนนิยมนำไปบริโภคประกอบอาหารได้หลากหลายเมนูกันมากทีเดียว นอกจากจะกินสดๆแล้วยังสามารถนำไปทำอาหารได้หลากหลายอย่าง อาทิเช่น ต้มกับหมู ไก่ กุ้ง หรือต้มจิ้มน้ำพริก กะหล่ำปียัดไส้หมู กะหล่ำปีผัดน้ำปลา อีกทั้งยังเป็นผักแนมกินกับลาบหมู น้ำตกหมูได้อีกด้วยเช่นกัน กะหล่ำปีจัดอยู่ในวงศ์ผักกาด ส่วนใหญ่ที่เราเห็น ๆ กันจะเป็นกะหล่ำปลีสีเขียว แต่สีอื่น ๆ ก็มีเช่นกัน เช่น ขาว ม่วง และแดง ต้นกะหล่ำปลี เดิมแล้วมีถิ่นกำเนิดอยู่แถบเมดิเตอเรเนียน และภายหลังได้แพร่กระจายทั่วไป โดยกะหล่ำปลีจะแบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ กะหล่ำปลีธรรมดา (พันธุ์โกลเดนเอเคอร์, พันธุ์โคเปนเฮเกนมาร์เก็ต), กะหล่ำปลีแดง (ใบเป็นสีแดงทับทิม ขึ้นดีในที่อากาศหนาวเย็น), กะหล่ำปลีใบย่น (ขึ้นได้ในที่ที่มีอากาศหนาวเย็นเป็นพิเศษ)
สำหรับประเทศไทยนั้น แต่เดิมปลูกได้ดีเฉพาะภาคเหนือและภาคอีสาน เพราะการจะห่อตัวเป็นปลีได้จำเป็นต้องได้รับอากาศหนาว ต่อมามีการปรับปรุงพันธุ์ให้ทนกับอากาศร้อน จึงทำให้สามารถปลูกได้ทั่วประเทศ และทุกฤดูกาลกะหล่ำปลีเป็นพืชที่มีอายุ 2 ปี แต่นิยมปลูกเป็นพืชปีเดี่ยว อายุตั้งแต่เริ่มลงปลูกจนถึงกินได้ ประมาณ3-4เดือน กะหล่ำปลีหน้าหนาวจะสร้างปลีได้สวยน่ากินกว่าฤดูอื่น แต่หลายๆ คนก็กลัวยาฆ่าแมลงที่ตกค้างตามใบจึงนิยมกินกะหล่ำปลีโดยแกะเอาปลีข้างในลึกๆ ซึ่งไม่สัมผัสกับยาฆ่าแมลง สรรพคุณของกะหล่ำปลีมีมากมายหลายอย่าง อาทิเช่น ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน บำรุงกระดูก ช่วยในการย่อยอาหารและล้างสารพิษทำความสะอาดลำไส้ ช่วยบำรุงตับ ช่วยเสริมสร้างประสิทธิภาพการทำงานของตับ ช่วยตับในการล้างสารพิษ อีกทั้งสรรพคุณมากมายหลายอย่าง แต่ถึงยังไงแล้วเจ้าผักใบเขียวๆสวยๆคงหนีเจ้าแมลงศัตรูพืชไม่พ้นเป็นแน่แท้ ปัญหาศัตรูที่พบมากก็ด้วยเจ้าหนอนคืบกะหล่ำศัตรูตัวร้าย บางแห่งเรียกว่าหนอนคืบเขียวหรือหนอนเขียว เป็นศัตรูสำคัญของผัก ตระกูลกะหล่ำ ในระยะแรกตัวหนอนจะกัดกินที่ผิวใบ เมื่อตัวหนอนโตขึ้นจะกัดกินใบทำให้เป็นรอยแหว่งเหลือแต่ก้านใบ แมลงชนิดนี้จะทำลาย โดยกัดกินใบเป็นส่วนใหญ่และการทำลายเป็นไปอย่างรวดเร็ว ตัวหนอนมีสีเขียวอ่อน จะกัดกินใบ เมื่อโตขึ้นจะกินจุ ตัวโตเต็มที่มีขนาด 3 ซม. เวลาเคลื่อนไหวจะงอและคืบตัว
ส่วนใหญ่จะแทะกินอยู่ตามผิวใบแต่ไม่ทะลุ ระบาดกระจายได้รวดเร็วและระบาดมากในฤดูหนาวและฤดูแล้ง ในฤดูฝนพบน้อย หนอนคืบกะหล่ำมีระบาดอยู่ทั่วไปในประเทศทั่วโลก เมื่อหนอนโตเต็มที่สีจะซีดลง มีเส้นสีขาวพาดตามยาว เข้าดักแด้ใต้ใบหรือตามใบผักที่ร่วงหล่นอยู่ตามพื้นมีใยบาง ๆ สีขาวคลุมอยู่ ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืน หลังจากทราบที่มาของเจ้าตัวปัญหานี้แล้ว ผม (ผู้เขียน) จึงแนะนำให้ใช้ แบคเทียร์จุลินทรีย์ปราบหนอน ในอัตรา 50-80 กรัมต่อ/น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุกๆ 3 วันช่วงที่ระบาดหนัก หลังจากนั้นค่อยๆห่างออกไป ทุกๆ 5 ถึง 7 วันเพื่อฉีดป้องกัน และควรใช้ร่วมกับ ไทเกอร์เฮิร์บผงสมุนไพรฟ้าทะลายโจร ขมิ้นชัน เพื่อป้องกันแม่ผีเสื้อวางไข่กลางคืนสาเหตุทำให้เกิดหนอน ในอัตราส่วน 1-2 ช้อนแกงต่อ/น้ำ 20 ลิตร ทุกๆ5-7 วันจะเพิ่มประสิทธิภาพประสิทธิผลมากยิ่งขึ้นครับ หลังจากใช้แล้วเจ้าหนอนศัตรูตัวปัญหาค่อยๆหายและหมดไปในที่สุดสร้างความสุขใจให้เกษตรกรเป็นอย่างมากเลยทีเดียว
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่