0

Your Cart

No products in the cart.
THAIGREENAGRO | ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
[agrikon_wc_ajax_search]

แนวทางการปลูกหอมผักชีซ้ำที่และไม่มีปัญหาโรคแมลงรบกวน

วันนี้เราจะมาพูดคุยกันถึงเรื่องของแนวทางวิธีการหรือเทคนิคการปลูกหอมปลูกกระเทียมแบบไม่ย้ายที่แล้วก็ต้องทำให้ไม่มีโรคแมลงมารบกวนด้วยทำไมต้องเฉพาะเจาะจงแบบนี้ก็ส่วนใหญ่แล้วสมัยโบราณหรือสมัยก่อนหรือสมัยนี้ในบางพื้นที่ปลูกหอม ผักชี เป็นแปลงปลูกได้รอบ 2 รอบก็ต้องย้ายถ้าไม่ย้ายก็จะมีปัญหาในเรื่องของเชื้อโรคที่มันรู้ว่ามีต้นผักชีมีต้นหอมปลูกอยู่ตลอดเวลา เชื้อโรคก็ไม่ไปไหน

ก็จะสะสมบ่มเพาะอยู่ในพื้นที่ทำให้ปลูกรอบ2 ส่วนใหญ่ก็จะเป็นพวกโรคเน่า กล้าเน่ายุบ โรคหมานอนอะไรต่างๆเยอะแยะมากมายเดี๋ยวมาฟังกันว่าจะเป็นยังไง

การปลูกหอม ปลูกกระเทียมหอมที่น่าจะเป็นที่รู้จักมักคุ้นของผู้คนทั้งประเทศน่าจะเป็นหอมกระเทียมจาก  จ.ศรีสะเกษ ส่วนหอมกระเทียมทางภาคเหนือเมื่อก่อนก็เยอะแต่เราไปทำ

FTA FTA จากจีน เราเจอกระเทียมจีน ตอนแรกเราร่วมมือกับจีนทำทวิภาคีเรื่องของ FTA Free Trade Area หวังว่าอยากจะหาคนจีนมีเป็นพันล้านคน ตรงนี้ก็มีประมาณ 1,400 ล้านคน เราก็อยากจะได้ตลาดก็จับมือ ทำไปทำมาตอนนี้กลายเป็นว่าเราเสียดุลการค้าให้กับประเทศจีน กลายเป็นว่าเรานำเข้าสินค้าจากจีนสูงกว่าที่จีนนำเข้าจากประเทศไทยเรา จะเห็นว่าเราก็กินทุเรียน คนจีนก็ซื้อทุเรียนเราเยอะ คำว่าเยอะยังน้อยกว่าที่เรานำเข้าผัก ผลไม้ อุปกรณ์ไฟฟ้า เครื่องไม้เครื่องมือ เดี๋ยวนี้เรานำเข้าจากจีนทั้งหมดเลย วันดีคืนดีจีนในระดับมณฑลเมตตาปราณีปีหนึ่งจะอะลุ่มอล่วยคือปิดตาไปสักข้างหนึ่งแล้วก็ให้การระบบตรวจตาเรื่องสารพิษ เรื่องแมลงปนเปื้อน อะไรน้อยก็ปล่อยให้นำเข้าไปสักล็อตหนึ่งในกรณีที่ประเทศเขาขาดแคลนจริงๆอันนี้เขาเรียกว่าเรื่องของการกีดกันทางการค้าที่ต้องรอให้รุ่นน้อง รุ่นลูก รุ่นหลานของเราเข้ามาดูแต่อย่างไรก็ตามเราก็ยังมีหอมกระเทียมที่มีรสชาติฉุน อร่อย ถูกปากคนไทยมากพอสมควร โดยเฉพาะต้นหอมกับผักชี อายุการเก็บเกี่ยวก็ประมาณสัก อาจจะสัก 90-120 กว่าวัน รอบการเก็บเกี่ยวก็ไม่ได้ยาวนานเกินไปสามารถที่จะทำรายได้ตามช่วงระยะเวลาที่ให้มีเงิน ให้มีรายได้อยู่ในระดับกลางๆเหมือนนาข้าว ชาวนาปลูกข้าวก็ประมาณ 90-120 วัน สมัยก่อนอาจจะมีข้าวนาปีปลูกปีละครั้งแล้วก็มีข้าวไวแสง ข้าวไม่ไวแสง ก็ปลูกไวขึ้นแต่คุณภาพก็แตกต่างกันข้าว 90 วันกับข้าว 120 วัน หอม กระเทียมก็โอเค ราคาก็ดีกว่าข้าว เพราะฉะนั้นเวลาเราจะเอาเทคนิค วิธีการไปปรับประยุกต์ใช้เกษตรยุคใหม่ต้องรู้จักมีการปฏิวัติความคิดผลิอาวุธทางปัญญาให้กับตนเอง ศึกษาหาความรู้จากหลายแหล่งหลายๆด้าน เรายังใช้เทคโนโลยีแบบเก่าทำตามกันมาความเชื่อตามๆกันมา เตรียมแปลงปลูก พรวนดิน ใส่ปูนขาว ตากแดด ใช้ดินตากแดด บางที่บอกเผาเพื่อฆ่าเชื้อ ปูนขาวไม่มีรายงานในประเทศไทยว่าปูนขาวฆ่าเชื้อได้ ปูนขาวแค่ไปสะเทิ้นความเป็นด่างให้แก่พื้นดิน สภาวะที่มันเป็นด่างทำให้จุลินทรีย์โตยาก ไม่อยากเจริญเติบโตแต่ไม่ได้ทำให้เชื้อโรคตาย ตากแดดกับเผา ใช้ความร้อน ถ้ามันไม่มีเชิ้อโรคจริงงั้นชาวนาที่เผานาไม่ต้องใช้ยาฆ่าเชื้อราถูกหรือไม่ บอกเผาแล้วไม่มีเชื้อโรคลองไปดูแถวชาวนาอ่างทอง สุพรรณบุรี สิงห์บุรี ชัยนาท นครสวรรค์ กำแพงเพชร พิจิตร ถ้าเผาแล้วมันไม่มีเชื้อโรคก็ไม่ต้องใช้ยาฆ่าเชื้อราถ้าหลักการนี้ถูกต้องใช่หรือไม่ หรือเผาแค่บางส่วน ตายบางส่วนของเชื้อโรค แต่จุลินทรีย์ชนิดดีกุ้ง หอย ปู ปลา ระบบนิเวศที่คอยปกป้อง คุ้มกันแมลงศัตรูพืช หรือ โรคร้ายตายไปด้วยเปรียบเหมือนกับว่าเราไปเผาหนู ฆ่าหนูตัวเดียว แต่เผาไร่ทั้งไร่มันคุ้มไหม จุลินทรีย์ต่างๆที่ดีและมีประโยชน์อยู่ในดินเป็น 100% แต่เราบอกว่าเราจะเผาเพื่อฆ่าเชื้อโรค คนที่มีความคิดแบบนี้มี แม้ว่าเราจะเข้าใจกันก็ตามว่าการเผาบางที่ก็เพื่อให้เกิดความรวดเร็วตามความอยากของตัวเองในการเตรียมแปลงนาบางทีเผาไปแล้วน้ำไม่มีก็ต้องรอไปเป็นเดือนก็มีรอเป็นอาทตย์ 2 อาทิตย์ 3 สัปดาห์ก็รอได้แต่การหมักฟาง หมักอินทรียวัตถุในแปลงนาหรือแปลงปลูกหอมอะไรก็ตามหมักแค่ประมาณ 2 อาทตย์ 15 วัน มันจะได้ปุ๋ยจากเศษตอซังฟางข้าว เศษจากอินทรียวัตถุที่ปลูกไม่ว่าจะเป็นหอมกระเทียมหรืออะไรก็ตาม แต่ไม่ได้มาเจาะจงตรงนี้แต่ให้เห็นว่าถ้ายังใช้ความเชื่อเก่าๆไม่ฟัง เป็นน้ำเต็มแก้วเลย ก็จนอยู่เหมือนเดิมแต่ถ้าเรารู้ว่าจะทำยังไงปลูกข้าว ปลูกหอมกระเทียม ปลูกผักกาด ปลูกถั่วฝักยาว ปลูกพืชไร่ไม้ผลต่างๆ ทำให้ดินตรงนั้นมีปริมาณของเชื้อโรคมันน้อยลง จะใส่ปูนขาวก็ต้องมีความรู้ มีความเข้าใจ ว่าปูนมันเป็นด่าง มันต้องไปตรวจวัดกรด-ด่างของดินเสียก่อนว่าดินมันเปรี้ยวไหมถ้าไม่เปรี้ยวมันต้องใส่ปูนขาวด้วยเหตุผลอะไร เราก็รู้กันแล้วว่าปูนขาวไม่ได้ฆ่าเชื้อโรคแต่ดินในแปลงปลูกหอมกระเทียมที่เวลาปลูกซ้ำที่ๆเชื้อโรคมันก็มาเหมือนเราเลี้ยงปลาเป็นระยะเวลานานๆ เลี้ยงกุ้ง เลี้ยงปลา ตัวเงินตัวทองก็ต้องมา มาเยี่ยม เพราะมันรู้ว่าตรงนี้มีความอุดมสมบูรณ์ของอาหารที่เขาอยากกิน เมื่อมีหอมมีกระเทียมปลูกซ้ำที่เชื้อโรคมันก็รู้ว่าตรงนี้มันมีความอุดมสมบูรณ์เขาก็ต้องมาแต่ถ้าทำให้แปลงเพาะปลูกแต่ที่มันจะเน่ายุบเป็นโรคกล้าเน่ายุบ ใบจุด ใบด่าง ใบดำ มันมีเชื้อโรคถ้าอยากจะปลูกซ้ำที่เก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วเราอาจจะต้องฆ่าเชื้อ ที่ไม่ใช่วิธีการหลับหูหลับตาใส่ปูนขาวอย่างเดียว เผาอย่างเดียวไม่ใช่ วิธีการฆ่าเชื้อโรคก็คือมันมีจุลินทรีย์ที่ปลอดภัยต่อมนุษย์ สัตว์ สิ่งแวดล้อม ชื่อว่าไตรโคเดอร์มาตัวนี้เป็นชื่อวิทยาศาสตร์เป็นชื่อสามัญ อีกตัวหนึ่งชื่อบาซิลลัสซับทิลิส สายพันธุ์ที่กินเชื้อโรค สมัยก่อนบางคนจะรู้จักว่าชื่อบีเอสพลายแก้ว ปัจจุบันเราทำให้มีมาตรฐานที่สูงขึ้น กรมวิชาการเกษตรรองรับ ชื่อว่าไบโอเซนเซอร์ ก่อนที่เราจะเตรียมแปลงปลูกหอมกระเทียมรอบสอง ตัวไตรโคเดอร์มากับบาซิลลัสซับทิลิส 2 ตัวนี้เปรียบเหมือนกับตำรวจกับทหาร เราเก็บหอมกระเทียมไปเรียบร้อยแล้วมันต้องเอาตำรวจกับทหารลงไปประจำการเฝ้าพื้นที่อาจจะใช้ปริมาณ 50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ราดรดฉีดพ่นความจริงแล้วมาราดรดฉีดพ่นช่วงวันปลูกก็ไม่ได้ความจริงแล้วต้องทำตั้งแต่ปลูกรอบที่แล้วใส่ราดรดทุกๆสัปดาห์ ทุกเดือน ขึ้นอยู่กับการความเข้มข้นหรือระดับความรุนแรงของการระบาด ถ้าเกินที่เขาเรียกว่าเกินระดับเศรษฐกิจมันก็ต้องมีความถี่ในการสั่ง ใส่ไปแล้วใส่ไปครั้งเดียว บางคนก็ใส่นิดเดียว ใส่น้อย ฉีดพรมๆเหมือนม้ากินน้ำค้าง มันก็ไม่ได้ผลเพราะหลักการมันมีสิ่งมีชีวิตพวกมากกว่าชนะพวกน้อยกว่า ถ้าเอาตำรวจกับทหารไปทราบโจรผู้ร้าย โจรใต้ เอาตำรวจไป 100 นายบุกเข้าไปในป่าเขาบูโด ถ้าโจรมันมี 100,000 นาย ไม่ใช่ว่าตำรวจกับทหารไม่ดี แต่กำลังมันไม่พอยิ่งปลูกหอมกระเทียมซ้ำที่แล้วไม่ได้ใส่อะไร ใส่ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก ใส่ยูเรีย พรม ปลูก ถามว่าแก้ดินยังไง ตากแดดเรียบร้อย ใส่ปูนขาว ก็สิ่งที่ทำมันถูกแต่ถูกไม่หมดถ้าใช้คำแสลงก็คือมันผิด ความเก่งของเกษตรกรคือใช้ยาสารพิษที่แรงที่สุด เท่าที่จะแรงได้ เกิดโรคปุ๊บซื้อยาที่แพงที่สุด แรงที่สุด ฉีดแล้วหนอน แมลง รา ตายเร็วที่สุดรวมถึงตัวเองด้วย ตัวเองตายยังไง แทนที่คนอื่นเขาจะตายอายุ 70-80 ปี ตัวเองก็ตายอายุ 40 50 กว่าๆ โดยไม่ทราบสาเหตุ มะเร็ง อัมพฤก อัมภาต เยอะแยะมากมาย แต่ถ้าเรารู้จักเข้าใจว่ารักษาหล่อเลี้ยง ระบบนิเวศ เราเลี้ยงกวาง เลี้ยงนก มีเสือมีอะไรให้มันแบบอยู่ในป่าครองกันอย่างสมดุล เราเอาผัก ต้นหอม กระเทียมเยอะๆมาไว้ในแปลง เราก็ต้องสร้างหน่วยอารักขาให้มันเพียงพอ ไม่ใช่ว่าไม่เติมตัวจุลินทรีย์ป้องกันโรครากเน่าโคนเน่าใบจุด ใบด่างอย่างพวกไตรโคเดอร์มากับบีเอสเลย รอฉีดยา ฉีดสารพิษอย่างเดียวจุลินทรีย์ที่อยู่ในดิน ไส้เดือน จุลินทรีย์ แบคทีเรียต่างๆ ตายเรียบเลยทีนี้ดินก็ไม่มีชีวิตอีก ดินตายเพราะไม่มีจุลินทรีย์มาย่อย ไม่มีไส้เดือนย่อย ทีนี้ก็ต้องเติมปุ๋ยเคมีกับฮอร์โมนดีๆอีกคือเลี้ยงพืชเหมือนเลี้ยง มูลใสน้ำเกลือ เพราะฉะนั้นถ้าอยากปลูกหอมกระเทียมแล้วไม่ซ้ำที่ไปตรวจดินบ้างให้ค่า pH ดินมันอยู่ระหว่าง 5.8-6.3 มันเป็นกรดก็ใส่ปูนขาวได้ แต่ถ้าไม่เป็นก็อย่าไปใส่ เป็นด่างก็ใส่ภูไมท์ซัลเฟตถุงแดง ใส่พวกฮิวมิกแอซิด ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ดินเค็มก็พวกหินภูเขาไฟทั่วไปใช้ได้ ทำให้มันแข็งแรง ปรับ pH ให้มันเหมาะต่อการดูดกินอาหารและที่สำคัญก็คือเติมจุลินทรีย์ที่มันต่อต้านเชื้อโรคลงไปในแปลงให้มันเพียงพอ คำว่าเพียงพอไม่ได้บอกให้เปลืองเงิน ค่อยๆทำ หรือถ้ากลัวเปลืองมากๆก็ มันก็มีวิธีสูตรขยายสมมุติพึ่งเริ่มทำใช้แค่เพียงหัวเชื้ออินดิวเซอร์ ก็คือไตรโคเดอร์มาหรือหัวเชื้อจุลินทรีย์อื่นๆ 100 กรัม ได้วิธีการขยายเป็น 20 ลิตร จาก 100 กรัม ขยายหัวเชื้อได้เป็น 20 ลิตร เอาไปใช้ครั้งละ 100 ซีซี ได้ทั้งหมด 2,000 ลิตร จากต้นทุนแค่ 100 กรัม จะราดรดก็ใส่ รับรองโรคกล้าเน่ายุบ ยุบเป็นวงๆ หย่อมๆ ไปโทษว่าหมามานอนทับเหมือนที่เคยได้คุยได้ฟังก็จะหมดไปความอ่อนแอ ผลผลิตก็จะมากขึ้น โรคก็น้อย สารพิษก็ลดลง เบื้องต้นเลยก็ทำแบบปลอดสารพิษก็ช่วยได้คือจากเดิมใช้สารพิษ 100% ก็อาจจะใช้เหลือ 50% หรือ 20% ที่มันหนักจริงๆสำหรับคนมือใหม่ที่พยายามจะลด ละ เลี่ยง เลิก  

มนตรี  บุญจรัส

ชมรมเกษตรปอลดสารพิษ www.thaigreenagro.com

×