อีสานล่างเดี๋ยวนี้มีการพัฒนาศักยภาพในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะจังหวัดบุรีรัมย์ สุรินทร์ และศรีษะเกษ นอกจากจะมีปราสาทหินพนมรุ้ง ปราสาทเมืองต่ำ ภูกระโดง (ภูเขาไฟเก่า) ที่เป็นฐานรองรับนักท่องเที่ยวในอดีตและเสริมด้วยของใหม่ที่ได้เล่าไปก่อนหน้านี้ จึงทำให้เศรษฐกิจในแถบนี้ ดูมีสีสันขึ้นมาอย่างเห็นได้ชัด นอกจากเรื่องสถานที่ท่องเที่ยวที่โดดเด่นแล้ว พื้นที่แถบนี้ยังอนุรักษ์และสนับสนุนการทำเกษตรอินทรีย์ การพัฒนาพันธุ์ข้าวดั้งเดิมต่างๆ อีกมากมาย และที่โดดเด่นมากก็คือ ข้าวฮ่างภูเขาไฟ และทุเรียนภูเขาไฟ ซึ่งมีรสชาติที่โดดเด่น อร่อย และมีความปลอดภัยไร้สารพิษ เนื่องด้วย เพาะปลูกบนพื้นที่ราบลุ่มภูเขาไฟเก่า ซึ่งอุดมไปด้วยแร่ธาตุและสารอาหารจากเถ้าและวาวาของภูเขาไฟ
ข้าวหอมมะลิ 105 ความจริงต้นกำเนิดก็มาจากลุ่มน้ำเจ้าพระยาถิ่นที่คนไทยอาศัยมาเนิ่นนาน แล้วนำไปพัฒนาวิจัยที่ อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา และนำสายพันธุ์หมายเลข 105 ที่มีความโดดเด่นที่สุด ไปปลูกที่ทุ่งกุลาร้องไห้ และได้ข้าวหอมไทยที่หอมนาน หอมไกลไปทั่วโลกอย่างข้าวหอมมะลิ 105 ในปัจจุบัน ก็เนื่องด้วยทุ่งกุลาร้องไห้มีสารอาหารอันอุดมสมบูรณ์จากหินแร่ภูเขาไฟเก่า (ภูเขาไฟฮ่าง) ที่สามารถเปื่อยผุพัง ย่อยสลายได้ง่าย เพราะเป็นเถ้าละอองและลาวาภูเขาไฟที่ผ่านความร้อนหลายร้อย หลายพันองศาเซลเซียส เมื่อเย็นตัวลงและผ่านกาลเวลาที่เหมาะสมจึงพร้อมต่อการทำหน้าที่เป็นอาหารให้พืชได้อย่างเพียบพร้อม
ในพื้นที่เพาะปลูกที่ไม่มีหินแร่ภูเขาไฟเป็นพื้นฐานเหมือนแถบจังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีษะเกษ ก็สามารถนำหินแร่ภูเขาไฟ (ชื่อการค้า ภูไมท์, ภูไมท์ซัลเฟต, พูมิช, พูมิชซัลเฟอร์) ไปใส่ในแปลงเรือกสวนไร่นาเพียง 20-40 กิโลกรัมต่อไร่ ก็สามารถทำให้รสชาติและกลิ่นหอมของข้าวเพิ่มขึ้นมาเหมือนกับนำไปปลูกในสามจังหวัดนี้หรือเหมือนทางเกาะบาหลีประเทศอินโดนีเซีย หรือรอบๆภูเขาไฟฟูจิ ประเทศญี่ปุ่นได้ด้วยเช่นเดียวกัน
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่