0

Your Cart

No products in the cart.
THAIGREENAGRO | ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
[agrikon_wc_ajax_search]

ภัยร้ายใต้ดินที่เกษตรกรทุเรียนต้องระวัง

ทุเรียนคือราชาผลไม้และยังเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศที่ตอนนี้ใครๆก็มีความคิดเห็นที่ตรงกัน แต่ทุกท่านทราบมั้ยคะว่ากว่าจะออกมาเป็นทุเรียนอย่างที่เห็นนั้นกระบวนการดูแลนั้นต้องเผชิญกับความท้าทายต่างๆมากมายและหนึ่งในภัยคุกคามที่หลายคนมองไม่เห็นแต่สร้างความเสียหายอย่างมหาศาลนั้นคือ ไส้เดือนฝอย โดยเฉพาะ ไส้เดือนฝอยทำลายราก เป็นศัตรูที่กัดกินและทำลายระบบรากของทุเรียน ส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของต้นทุเรียน ผลผลิตทุเรียน โดยไส้เดือนฝอยทำลายรากนั้นเป็นหนอนตัวกลมขนาดเล็กแทบจะมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ซึ่งจะอาศัยอยู่ในดินและเคลื่อนที่ไปยังรากของพืชเพื่อทำลายโดจะอาศัยปากที่แหลมคมเจาะและดูดกินเซลล์ภายในราก และเมื่อเคลื่อนที่ไปตามเนื้อเยื่อรากก็จะทิ้งร่องรอยความเสียหายส่งผลให้เกิดแผลสีน้ำตาลดำหรือที่เรียกว่า “lesions” บนรากฝอยและรากแขนง ซึ่งไส้เดือยฝอยจะสร้างความเสียหายและผลกระทบต่อทุเรียนคือ 1.ระบบรากทุเรียนจะถูกทำลาย ไส้เดือนฝอยกัดกินและทำลายเนื้อเยื่อราก ทำให้รากไม่สามารถทำหน้าที่ดูดซึมน้ำและธาตุอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2.ทุเรียนจะดูดซึมน้ำและธาตุอาหารลดลง เมื่อรากถูกทำลาย ต้นทุเรียนจะขาดน้ำและธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต ทำให้ต้นอ่อนแอ แคระแกร็น ใบเหลือง และไม่สมบูรณ์ 3.ต้นทุเรียนเจริญเติบโตช้า ต้นทุเรียนที่ถูกไส้เดือนฝอยทำลายรากจะมีอัตราการเจริญเติบโตช้ากว่าปกติ ทั้งในส่วนของลำต้น ใบ และราก 4.ผลผลิตทุเรียนลดลงและคุณภาพต่ำ ต้นทุเรียนที่ไม่แข็งแรงจะให้ผลผลิตน้อยลง ขนาดผลเล็ก ไม่ได้คุณภาพ และอาจมีรสชาติไม่ดี 5.ภูมิต้านทานทุเรียนจะอ่อนแอต่อโรคอื่นๆ รอยแผลที่เกิดจากการเข้าทำลายของไส้เดือนฝอยเป็นช่องทางให้เชื้อโรคอื่นๆ เช่น เชื้อราและแบคทีเรียเข้าทำลายซ้ำเติม ทำให้ต้นทุเรียนทรุดโทรมและตายในที่สุด ซึ่งเราสามารถสังเกตอาการเบื้องต้นได้ว่าโดนไส้เดือนฝอยทำลายหรือไม่คือ 1.ต้นแคระแกร็นไม่โต 2.ใบเหลืองซีดและหลุดร่วงง่าย 3.เมื่อขุดดูที่รากจะพบรอยแผลสีน้ำตาลดำกระจายอยู่ทั่วรากฝอกและรากแขนง ส่งผลให้ระบบรากไม่แข็งแรงร่วมกับการเกิดรากเน่า แต่เราสามารถที่จะป้องกันได้โดย 1.การเลือกต้นพันธุ์ที่ปราศจากไส้เดือนฝอย 2.การปรับปรุงดิน โดยปรับปรุงโครงสร้างดินให้มีการระบายน้ำที่ดีและเพิ่มอินทรียวัตถุเพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตของรากให้แข็งแรงและลดความเหมาะสมในการเข้าทำลายของไส้เดือนฝอยโดยสามารถใช้ภูไมท์ ซัลเฟตเหลืองผสมกับปุ๋ยอินทรีย์ ทีจีเอ โกลด์ อัตราส่วน 1:10 3.การใช้สารชีวภัณฑ์ในการกำจัดได้แก่ตัวนีมาเคียว ซึ่งเป็นเชื้อพาซิโลมัยซีส ไลลาวินัส ที่จะกำจัดและป้องกันไส้เดือนฝอยรวมถึงระยะไข่ของแมลงต่างๆ โดยอัตราการใช้คือ 50 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ผสมห้เข้ากัน และทำการฉีดพ่นในช่วงเย็นหรือเช้าที่มีแดดอ่อนเพื่อประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น หากสนใจข้อมูลเพิ่มเติมหรือต้องการปรึกษาปัญหาด้านการเกษตรปลอดสารพิษ ติดต่อสอบถามได้ที่ https://thaigreenagro.com/ บทความโดย นางสาวธารหทัย จารุเกษตรพร ตำแหน่งนักวิชาการเกษตร บริษัทไทยกรีนอะโกร จำกัด
×