พืชผัก–ไม้ผล–ข้าวราคาขึ้นลงเป็นไปตามระบบกลไกของตลาด เกษตรกรธรรมดาอย่างเราๆไม่สามารถปรับเปลี่ยน เปลี่ยนแปลงใดๆได้ หากแต่ต้องยอมปล่อยให้มันเป็นไปตามระบบเช่นที่ผ่านมา แม้เกษตรกรทำนาปลูกข้าว จำนำข้าวกับภาครัฐจะได้ราคาสูงก็จริงแต่ต้องรอ 2-3 เดือนถึงจะได้รับเงิน หากนำรายรับรายจ่ายมาเปรียบเทียบเล่นๆแล้ว คงเหลือเก็บนิดหน่อย แค่พอดำรงชีพไปวันๆ สิ่งที่ควรพิจารณาให้มากก็คือทุกวันนี้เราปลูกพืชแต่ละชนิดแต่ละอย่าง ได้ผลผลิตเต็มที่ตามที่ควรจะได้หรือยัง? กรด–ด่างของดินก็ส่วนหนึ่งที่ส่งผลต่อการดูดซับปุ๋ย(กินปุ๋ย)หรือธาตุอาหาร ซึ่งเกี่ยวข้องกับการละลายหมดทันทีของปุ๋ย ทำให้พืชเฝือใบ(บ้าใบ) ต้นอ่อนแอเป็นโรคง่าย
ธาตุอาหารจะละลายปลดปล่อยให้ประโยชน์แก่พืชได้ดีที่สุดที่ช่วง pH 5.8-6.3 การตรวจวัด pH ของดินจึงควรกระทำทุกๆ3 เดือนหรืออย่างน้อยปีละ 2 ครั้งก็ยังดี เพราะ pH ของดินมีผลกระทบมาจากการใส่ปุ๋ยเคมีต่อเนื่องอย่างยาวนาน ซึ่งส่วนใหญ่ทำให้ดินเป็นกรดแร่ธาตุละลายน้อยลง ยิ่งเป็นพืชที่ปลูกบนที่ดอนแล้วยิ่งส่งผลกระทบโดยตรงจากการชะล้างกำมะถัน(ซัลเฟอร์)ออกไป หากพืชขาดกำมะถันส่งผลให้กระบวนการสร้างโปรตีนไม่สมบูรณ์ ปกติปุ๋ยที่มีการเขียนสัญลักษณ์ (s)ท้ายสูตรเพื่อแสดงว่ามีกำมะถันผสมอยู่ มักจะมีราคาแพงกว่าปุ๋ยสูตรอื่นทั่วไป จึงไม่เป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายเท่าไรนัก
การผสมปุ๋ยใช้เองจะทำให้ประหยัดปุ๋ย สามารถชี้วัดอัตราผลผลิตที่ควรจะเป็นได้ ยิ่งเป็นปุ๋ยละลายช้าด้วยยิ่งทำให้ต้นทุนลดลงอีกเท่าตัว เพียงแค่เกษตรกรนำปุ๋ยเคมี(สูตรต้องการ) 50 กิโลกรัม เทกองพรมน้ำพอชื้นเติมซิลิโคเทรซ 500 กรัม คลุกเคล้าให้เข้ากันก่อนเติมพูมิชซัลเฟอร์ลงผสม 20 กิโลกรัม คลุกเคล้าอีกครั้งก่อนนำไปหว่าน ส่วนการตรวจวัด pH ดิน ทำให้เรารู้ทิศทาง ว่าจะเดินไปทางไหน เลือกวิธีใดปรับปรุงบำรุงดินจึงจะเหมาะสม หาก pH ของดินต่ำกว่า 5.8 ก็ให้ใช้พูมิชซัลเฟอร์ แต่ถ้า pH ของดินสูงกว่า 6.3 ให้ใช้ภูไมท์ซัลเฟตถุงแดงแทน นอกจากนี้ยังช่วยสลายสารพิษในดินไล่เกลือขึ้นสู่ผิวดินลดความเค็ม(ด่าง)ในดิน จับตรึงปุ๋ยให้ละลายช้าลง เมื่อใช้ปุ๋ยน้อย ต้นทุนการผลิตลด ต่อไปไม่ต้องแคร์ว่าราคาจะสูงหรือต่ำ เกษตรกรท่านใดสนใจจะหาซื้อมาทดลองติดต่อได้ที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
สอบถามเพิ่มเติมที่