วันนี้เราจะมาพูดคุยกันถึงเรื่องทุเรียนที่หลังจากที่เราได้มีการไลฟ์สดเกี่ยวกับเรื่องทุเรียนและก็มีการทำคลิปผ่านทางช่องทางไทยกรีนอะโกรชาแนลของทางยูทูปก็ทำให้มีผู้คนสนใจค่อนข้างเยอะว่าการปลูกทุเรียนนั้นจะดีจริงหรือ ปลูกไปแล้วมันจะขายได้ไหม คำถามที่ถือว่าสร้างความสับสนหรือ โดยส่วนตัวผมคิดว่ามีความสำคัญว่า ผู้ปลูกมือใหม่หรือเกษตรกรมือใหม่ เขาบอกว่าไปเยี่ยมชมสวนทุเรียนมาหลายสวน ไม่ว่าจะเป็นภาคตะวันออก ภาคใต้ หรือไปทางภาคเหนือ ทำไมสูตรไม่เหมือนกัน จึงคิดว่าประเด็นนี้น่าจะตรงกับหลายๆคนที่อาจจะเก็บเอาไว้ในใจแล้วก็ไม่กล้าพูด ไม่กล้าถามออกมาว่าทำไมมันมีมากมายหลายสูตร ไปเดินชมสวน ไปสอบถาม ไปหาความรู้ แต่ละสวนไม่เหมือนกัน โดยประสบการณ์ที่เราได้ส่งเสริมการปลูกทุเรียนแบบปลอดสารพิษ ลูกค้าในกลุ่มทุเรียนของเรานี้ก็มีมาตั้งแต่สมัยแรกๆอาจจะไม่มากมายเหมือนกับกลุ่มลูกค้าที่เลี้ยงกุ้ง เลี้ยงปลา ทำนา ทำสวนอื่นๆ หรือพวกเลี้ยงไก่ แต่สวนทุเรียนก็ถือว่าค่อนข้างที่อยู่ประมาณ 20-25% ที่นิยมชมชอบโดยเฉพาะแถวทางป่าละอูจังหวัดเพชรบุรี หรือทางภาคใต้จังหวัดชุมพรที่ปลูกทุเรียนเพื่อการส่งออกก็จะนิยมใช้พวกหินแร่ภูเขาไฟในการที่ทำให้ต้นทุเรียนนั้นมีเซลล์ที่แข็งแรงเพราะว่าซิลิก้านั้นเป็นซิลิก้าที่ผ่านความร้อนหลายร้อยหลายพันองศาจากความร้อนใต้พื้นพิภพระเบิดออกมาเป็นลาวาเพราะฉะนั้นเมื่อเย็นตัวลงก็พร้อมต่อการละลายเป็นประโยชน์ต่อต้นทุเรียนจะดูดซับซึมเข้าไปแล้วก็สะสมที่ผนังเซลล์อีกส่วนหนึ่งที่ลูกค้ากลุ่มทุเรียนนิยมใช้ก็คือพวกกลุ่มของสารชีวภัณฑ์โดยเฉพาะไตรโคเดอร์ม่าของไทยกรีนอะโกรเป็นชื่อการค้าว่าอินดิวเซอร์ เป็นไตรโคเดอร์ม่าที่อัพเกรดผ่านการจดทะเบียนรับรองจากกรมวิชาการเกษตรและได้มาตรฐานในระดับไอฟ่งของยุโรป อเมริกา และมาตรฐานออแกนิกส์ไทยแลนด์ ตอนนี้ก็ชาวสวนทุเรียนในสมัยก่อนก็จะใช้ในการเอาไปทดแทนยาเคมีที่ใช้ในการต่อสู้กับพวกไฟทอปธอร่า ซึ่งได้ผลดีมากโดยเฉพาะถ้าหมักขยายให้มีของเขาอยู่ด้วย ในสมัย 10 ปีที่แล้วท่านอ.ดีพร้อม ไชย์วงศ์เกียรติ อดีตประธานชมรมคนเก่า ท่านได้แต่งหนังสือทุเรียน เล่ม 1 เล่ม 2 หนังสือทุเรียนขายดีมาก เล่มแรกถ้าจำไม่ผิด ทุเรียนปี 30 ป็นเล่มสีน้ำเงินเข้ม เล่ม 2 เป็นทุเรียนปี 35 ในช่วงนั้นเราได้เรียนรู้ชาวสวนทุเรียนพอสมควร ว่ามีเทคนิค มีวิธีการต่างๆเยอะแยะมากมายในการทำดอก ทำนอกฤดู การราดสาร การใช้สารเคมี วันนี้เดี๋ยวเรามาพูดคุยกันว่าทำไมมันมีหลายสูตร ถ้าจะให้สรุปเบื้องต้นก็คือแน่นอนครับ ผมทายเดาได้เลยว่าทุเรียนนั้นก็ไม่ใช่ว่าจะทำสำเร็จหรือเรียนจบได้ง่ายๆ ก็ทายว่าท่านไปชม ไปเยี่ยม ไปหาข้อมูลความรู้ร้อยสวนท่านก็จะได้สูตรการใช้ทำทุเรียนกลับมาเป็นร้อยสูตรอย่างแน่นอน
ในเรื่องของเยี่ยมสวนทุเรียนร้อยสวนก็ได้กลับมาร้อยสูตร คือบางคนก็บอกว่าทำไมใช้ปุ๋ยยูเรีย บางคนบอกใช้ 8-24-24 บางคนก็บอกใช้สูตรเสมอในช่วงผลเล็กหรือผลขนาดกลางเท่ากระป๋องโค้ก หรือใช้ 0-0-60 ในช่วงผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยวหรือบางคนบอกใช้ 0-0-50 บางคนก็ยับยั้งใบแก่ด้วยอาหาร น้ำตาลทางด่วน บางคนก็บอกห้ามใช้นะ บางคนก็บอกว่าใช้แค่ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกบวกกับกลุ่มพวกโดโลไมท์ ฟอสเฟต อย่างเดียวก็ได้ ก็ได้ผลผลิตดี คนไปดูก็เห็นว่าดีจริงๆ แล้วเป็นแบบนั้นได้ยังไง ที่เป็นแบบนั้นก็ต้องบอกว่านี่แหละครับคืออาชีพของเกษตรกร อาชีพเกษตรกรรม อาชีพเกษตรกรรมไม่มีสูตรตายตัวเพื่อนๆต้องหาลายเซ็นของตนเองให้ได้ ทำไมไม่มีสูตรตายตัวไม่ต้องไปคิดอะไรมาก เพื่อนๆลองนึกถึง ท่านเคยเห็นไหมครับในพื้นที่ของเรา ทำไมมีมะม่วง 2 ต้น หรือ 3-4 ต้น ห่างกันในรัศมีไม่กี่ตารางเมตร ยังเจริญเติบโตไม่เท่ากัน หรือใครปลูก บวบ มะระ แตงกวา มะม่วง เงาะ ลองกอง ทุเรียน ลำไย ก็เจริญเติบโตไม่เหมือนกันเพราะฉะนั้นนับภาษาอะไรกับทุเรียนภาคใต้ ทุเรียนเมืองจันทบุรี ภาคตะวันออก ทุเรียนอุตรดิตถ์ ทุเรียนภูเขาไฟที่ภาคอีสาน แน่นอนว่าสภาพภูมิอากาศแตกต่างกัน เหตุการณ์ที่จะประสบพบเจอก็แตกต่างกันเช่น ช่วงที่เขาดอกบานเกิดมีหมอกหนา น้ำค้างเยอะ ฝนตก เพื่อนๆว่าทำสูตรเดียวกัน ตำราเดียวกัน พอจะเปิดดอกหรือดอกบาน หมอกหนา น้ำค้างจัด ฝนชโลมลงมาอย่างหนักหน่วง หรือไปกระทบกับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันทันทีจากหนาวอยู่ดีๆไปฝน จากร้อนอยู่ดีๆไปเย็น แบบนี้คือแน่นอนครับสูตรวิธีการดูแลแก้ไข ปัญหาจะแตกต่างกัน รวมถึงการใช้ปุ๋ย ดินที่เปรี้ยว ดินที่เป็นกรด ถ้าไปใช้ปุ๋ยที่มีกรด เช่น สูตรเสมอ สูตรเสมอคือสูตร 15-15-15 ดินก็อาจจะเปรี้ยวหนักเข้าไปอีกหรือไปใช้แอมโมเนียมซัลเฟต 21-0-0 เพราะฉะนั้นแน่นอนครับ ดินของเจ้าของสวนแม้ว่าจะอยู่ในภาคตะวันออกเดียวกัน ภาคใต้เดียวกัน ดินภูเขาไฟ ภาคอีสาน สุรินทร์ ศรีสะเกษ เดียวกัน ก็ใช้ปุ๋ยถ้าเขารู้การใช้ปุ๋ยก็ไม่เหมือนกันรวมถึงทรงพุ่ม เพราะว่าการใช้ปุ๋ยซัลเฟต มันจะเป็นการไปซ้ำเติมกรดลงไปในดินให้มากขึ้น ดินที่เปรี้ยวดินที่บางทีอะไรต่างๆต้องหาปุ๋ยที่มาแก้กรดไปในตัวด้วยถ้าไม่ได้ใช้กลุ่มปุ๋ย ดินที่เป็นด่างก็ต้องใช้ปุ๋ยที่เป็นกรดมาช่วย มันก็ทำให้มีความหลากหลายมากมาย วิธีการที่จะดูแลบำรุงรักษาทุเรียน ดินที่เป็นด่างใส่ปุ๋ยอะไรก็ไม่งาม คำว่าด่างคือมีค่า pH มากกว่า 7 ขึ้นไป ค่า pH คือค่าที่ไปตรวจวัดแล้วได้ผลลัพธ์จากเครื่องมืออะไรต่างๆไม่ว่าจะเป็นน้ำยาหยดของ ม.เกษตรศาสตร์ ที่เป็นชุด test kid หรือ จะเป็นแบบเครื่อง Digital เป็นเข็มแบบกระดิกได้ ก็จิ้มลงไป เราก็จะรู้ค่าดินต่างๆว่ามันเป็นด่าง ไปใส่ปุ๋ยที่มีความเป็นด่างในตระกูลพวกคลอไรด์ไปอีก พวก 0-0-60 ก็จะยิ่งทำให้ดินนั้นเป็นด่างแล้วก็ทุเรียนเราก็ไม่ได้รับแร่ธาตุสารอาหารที่เพียงพอจากสภาวะทางเคมีของดินที่มันเป็นด่างอยู่แล้ว ดินที่เป็นกรดก็ต่ำกว่า 5.8 หรือ 6.0 ลงไปอันนี้จริงๆเขาอาจจะใส่ปุ๋ยปกติก็ได้ ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ใส่ 8-24-24 หรือปุ๋ยอะไรที่ในท้องตลาดที่บางคนก็บอกไม่ได้นะต้อง หน้า 24-5-37 หรือ มีมากมายหลายสูตรในปัจจุบันแล้วก็อ้างนู่นอ้างนี่เยอะแยะมากมาย จริงๆแล้วไม่ใช่อันนั้นคือมันเป็นดีเทลหรือลายละเอียดที่เจาะลึกไปว่าสภาพของผลในขณะนั้นมันเป็นยังไง ถ้ามันต้องการให้ขยายไซต์ หรือ ขนาดผล บางทีมันต้องอาศัยไนโตรเจน บางคนก็บอกช่วงอายุ 50 วันไปแล้ว ของผลต้องสร้างเม็ดแล้ว ต้องเน้นฟอสฟอรัส เน้นสังกะสี เพื่อให้มีอ็อกซินสะสมอยู่ในเม็ดถือว่าเป็นหัวใจสำคัญ เขาก็มีสูตรของเขา คนไม่รู้ก็ไป อันนั้นเขาเรียกว่าสร้างลายเซ็นของหมอทุเรียนแต่ถ้าเราไปมองทุเรียนสมัยก่อนไม่เห็นต้องใช้ความรู้เยอะ ทำไมเขาปลูกได้ กลับมาสู่เรื่องดินอีกแล้วเพื่อนๆ ดินสมัยก่อนเป็นดินดำ น้ำชุ่ม ดินดี เมื่อดินดีคืออะไร ดินดีคือดินที่ความอุดมสมบูรณ์ของดินทั้งธาตุหลัก รอง เสริม อยู่ในดินเยอะแยะมากมายมหาศาล แล้วไม่ได้มีการตัดแต่งดอกผลอะไรที่มันมากมายก็ปล่อยให้มันหลุดล่วงหล่นไปตามธรรมชาติ ดินเป็นหัวใจสำคัญมากกว่า 60-70% ที่ทำให้การดูแลของสวนทุเรียน ที่เก่งๆจะไม่เหมือนใคร คนที่ทำทุเรียนและยังเหมือนใคร เดาได้ว่ายังมีหนี้มีสิน เบี้ยน้อยหอยน้อยอยู่แล้วก็ ต้องใช้พื้นฐานที่เหมือนกันกับการไปดูงาน ดูสวน แล้วมาปรับประยุกต์ใช้ให้มันเหมาะสมกับตนเอง กับที่ดิน กับสภาพแวดล้อม กับภูมิภาค ในท้องถิ่นของตนเองจึงจะมีโอกาสในการประสบความสำเร็จ ได้ค่อนข้างดี เพราะฉะนั้นถ้าเพื่อนมือใหม่ แล้วไม่รู้เรื่องอะไรเลย ถ้าท่านเอาความอุดมสมบูรณ์ของดินที่ทดแทนปุ๋ยและไม่แพงอย่างเช่นพวกหินแร่ภูเขาไฟ ไม่ว่าจะเป็น ภูไมท์ ภูไมท์ซัลเฟต พูมิช พูมิชซัลเฟอร์ ไคลน็อพติโลไลท์ อะไรต่างๆเหล่านี้ ทีนี้มันมีแร่ธาตุจากลาวาภูเขาไฟ เติมเต็มอุดมไปด้วยฟอสโฟรัส โพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม กำมะถัน เหล็ก ทองแดง แมงกานีส สังกะสี โบรอน โมลิปดินัม นิกเกิล ทองแดง ไทยเทเนียม เยอะแยะมากมาย อุดมสมบูรณ์ และที่สำคัญราคาถูกกว่าปุ๋ยเคมี ถ้าท่านใช้ร่วมกับปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก ก็ต้องขออนุญาตประชาสัมพันธ์ว่าไทยกรีนอะโกรของเรามีผลิตภัณฑ์ใหม่เป็นปุ๋ยอินทรีย์ยี่ห้อ TGA TGA ก็ย่อมาจาก Thaigreenagro โลโก้ตราใบไม้ลายธงชาติ อันนี้เราก็ไปให้สูตร ให้ข้อมูล ให้วัตถุดิบอะไรต่างๆที่เราต้องการและให้โรงงานเขาผลิตมา ท่านใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับหินภูเขาไฟ บวกกับดินเดิมที่ดีอยู่แล้วแทบไม่ต้องใช้ปุ๋ยเคมีก็ยังได้ คำว่าแทบหมายถึงว่า อาจจะต้องใช้ คำว่าแทบนั้นขึ้นอยู่กับความต้องการของเพื่อนๆ เช่น 30 โล ฉันไม่พอ แต่สำหรับคนที่พอ 30 ลูกต่อต้น ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องไปซื้อปุ๋ยเคมี แต่ให้เข้าใจรวมๆว่าพวกหินแร่ภูเขาไฟ หรือ พวกโพแทสเซียมฮิวเมท ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกใครไม่อยากซื้อปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกก็หมักเอง เจอใบไม้ ใบหญ้า ขี้วัว ขี้ควาย เราเอาเก็บรวบรวมไว้ เป็นปุ๋ยประจำครัวเรือนหรือ ประจำสวนตัวเองได้ ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกจะให้ตัวไนโตรเจน หินแร่ภูเขาไฟ แร่ธาตุธรรมชาติ ทำให้ดินโปร่งฟู ร่วนซุย เพราะตัวเขาเองมีอาหารเยอะที่ตัวจุลินทรีย์ไส้เดือน แบคทีเรียต่างๆเขาจะใช้ย่อยสลายเป็นอาหาร เพื่อนๆอย่าลืมว่าจุลินทรีย์ในธรรมชาติสามารถย่อยสลายหินตามน้ำตก หน้าผา ย่อยให้เป็นปุ๋ยให้กับพืชที่เจริญเติบโตบนหินที่นกมาถ่ายทิ้งไว้เพราะฉะนั้นหินภูเขาไฟมันเป็นหินผลุหินเดือด หินที่ผ่านความร้อนเหมือนข้าวโพดคั่ว ป๊อบคอร์นเพราะฉะนั้นจุลินทรีย์ก็จะใช้อาหารพวกนี้ได้ดี ได้เยอะ เมื่อย่อยก็กลายเป็นปุ๋ย ตรงนี้คือตัวแปรสำคัญที่ว่าเราเยี่ยมสวนร้อยสวนแล้วทำไมสูตรไม่เหมือนกันจะได้คลายความสงสัยให้กับเพื่อนๆ
Line Official: https://lin.ee/3M1NXzf