0

Your Cart

No products in the cart.
THAIGREENAGRO | ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
[agrikon_wc_ajax_search]

การใช้หินฟอสเฟต กระตุ้นรากให้ต้นกล้าโตไวขยายรากเร็ว

วันนี้เราจะมาพูดคุยกันเกี่ยวกับเรื่องของวัสดุปูนที่ชื่อว่า หินฟอสเฟต หรือหลายคนเรียกว่าร็อคฟอสเฟต ซึ่งก็มีคุณสมบัติเป็นกลุ่มวัสดุปูนที่ส่วนใหญ่แล้วเอามาไว้แก้ดินเปรี้ยว ตัวฟอสเฟตได้รับความนิยมแพร่หลายมาค่อนข้างที่จะยาวนาน มีการใช้หินฟอสเฟตมาตั้งแต่รุ่นปู่ ย่า ตา ยาย ก็ว่าได้ ใช้ควบคู่กันมากับพวกโดโลไมท์ โดโลไมท์เป็นปูนชนิดหนึ่งที่แก้ดินเปรี้ยวได้ แต่ฟอสเฟตที่เราจะคุยกันในวันนี้ ฟอสเฟตเขาจะเป็นปูนที่มีองค์ประกอบของแร่ธาตุฟอสฟอรัส ความจริงแล้วฟอสเฟตเรามักมาเรียกได้ว่าเคียงคู่กับตัวพวกปูนมาน ปูนเปลือกหอย ขี้เลื่อย หินอ่อน หินปูนบดอะไรต่างๆ ใช้กันมานาน อันนี้เราจะมาดูแล้วถ้าใช้ไปเรื่อยๆมันจะมีผลดีและผลเสียอย่างไร ซึ่งเราจะมาคุยกัน เพื่อนๆที่เข้ามาฟังถ้าสงสัยมีข้อสอบถามก็สามารถที่จะพิมส่งเข้ามาได้

               ฟอสเฟตที่บอกว่าเป็นกลุ่มวัสดุปูนเหมือนโดโลไมท์ ปูนขาว ปูนมาน ปูนเปลือกหอย หินปูนบด ขี้เลื่อย หินอ่อน ขี้เถ้าแกลบ คือเขามีความเป็นด่าง องค์ประกอบของเขาประกอบด้วยตัวแคลเซียมกับตัวฟอสฟอรัส แคลเซียมดังที่เรียนให้ทราบเหมือนกันปูนมาน ปูนเปลือกหอย ปูนขาว แต่ตัวที่แตกต่างของฟอสเฟตกับโดโลไมท์คือฟอสเฟตมีฟอสฟอรัสหรือเรียกว่าโครงสร้าง P2O5 แต่ถ้าเป็นโดโลไมท์ตัวที่เหมือนกับแคลเซียม ตัวที่แตกต่างคือ แมกนีเซียม คาร์โบเนต ตรงนี้การทำงานจะแตกต่างกัน ฟอสเฟต ปู่ ย่า ตา ยาย จะใช้ในเรื่องของการรองก้นหลุม เขาใช้ตัวฟอสเฟตรองก้นหลุมเพื่อนๆรู้ไหมครับว่าเพื่ออะไร เขามีเป้าหมายชัดเจนแม้กระทั่งหน่วยงาน รัฐบาล เวลามีงานประมูล จัดซื้อ จัดจ้าง ก็จะล็อคสเป็คฟอสเฟตไว้เลยว่าเพื่อกระตุ้นให้เกิดราก แต่วิถีการใช้ตัวฟอสเฟตหรือร๊อคฟอสเฟต พฤติกรรมการใช้ของคนสมัยโบราณเขาใช้แค่นิดเดียว 1 ช้อนแกง 2 ช้อนแกง รองก้นหลุม ร่วมกับพวกปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก ปุ๋ยอินทรีย์ รองเพื่อกระตุ้นช่วยให้ราก ต้นกล้า ต้นเล็กๆ ได้รับฟอสฟอรัส ความจริงแล้วเป็นฟอสเฟตที่ไม่ได้ละลายเยอะแยะอะไรมากมาย เขาใช้ตัวฟอสเฟตเพื่อทำหน้าที่โดยตรงในเรื่องของการขยายรากมากกว่าการใช้แคลเซียมจากฟอสเฟต ฟอสฟอรัสหรือฟอสเฟตเป็นแร่ธาตุตัวกลาง เป็นธาตุอาหารหลัก ฟอสฟอรัสในพื้นที่ที่นา ดินเหนียว ภาคกลาง สามารถที่จะขุดดินในแปลงนาแล้วก็เอาไปใส่เป็นปุ๋ยฟอสฟอรัสภาคอีสานยังได้ เพราะว่า มีปริมาณฟอสเฟตหรือฟอสฟอรัสในปริมาณค่อนข้างสูง ท่านอ.ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติเคยบอกว่าถ้าอยากได้ฟอสฟอรัสก็ไปขุดพื้นที่นาดินเหนียวภาคกลางเอามาใส่ก็ได้ฟอสฟอรัสเป็นธาตุอาหารหลักตัวกลางที่สะสมอยู่ในดินเยอะ สูญเสียยาก ละลายออกมาเป็นประโยชน์ต่อพืชได้น้อยบางทีเราเอาดินไปตรวจ ไปให้ที่กรมพัฒนาที่ดิน ไปให้ที่กองปฐพีวิทยา ไปให้หน่วยงานที่วิเคราะห์ดิน ตรวจก็เขาจะมีตัวองค์รวมหรือปริมาณฟอสฟอรัสทั้งหมดที่เรียกว่า Total P ดินของเรามีฟอสฟอรัสเยอะแยะมากมาย Total P หรือ ฟอสฟอรัส หรือตัว P ทั้งหมด ตรวจจะเยอะมาก แต่ต้องสังเกต P ที่เป็นประโยชน์หรือ นำไปใช้งานได้ ต้องดูว่ามีปริมาณเท่าใด ตัว P หรือฟอสฟอรัส ไม่ได้ใช้งานในพืชมากมายเหมือนตัวไนโตรเจนหรือโพแทสเซียม พูดแล้วรู้ได้อย่างไรว่าใช้ไม่ได้มาก เพื่อนๆสามารถไปดูสูตรการปลูกพืชไร้ดิน พวกไฮโดรโปนิกส์ หรือการทำสูตรอาหารเลี้ยงเชื้อต่างๆ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ จะมีสูตรของตัว P หรือ ฟอสฟอรัส แค่ 1 ratio ต่อตัวอื่นๆ เช่น 3-1-4 3 ตัวแรกเป็นตัวไนโตรเจน 1 คือ P หรือฟอสฟอรัส K คือโพแทสเซียม หรือ 4-1-3 , 4-1-2 เพราะฉะนั้น P จะใช้นิดเดียว เราอยากจะได้ฟอสฟอรัสในราคาถูกไม่ยอมไปซื้อปุ๋ยเคมีที่มีราคาแพงเขาให้รองก้นหลุมแบบปู่ ย่า ตา ยาย แบบนิดๆหน่อยๆ เราใส่ทีหนึ่งเป็น 100 กิโลกรัม เป็น 1000 กิโลกรัม เป็นตันๆ มันจะไปทำลายโครงสร้างทางเคมีของดิน ถ้าดินของเรานั้นมีค่า pH ที่สวยงามดีอยู่แล้ว ค่า pH ที่สวยงามดีอยู่แล้วก็คือค่าอยู่ระหว่าง 5.8-6.3 คือต้องเป็นตัวกรดเล็กน้อยไม่ใช่เป็นกรดปานกลาง กรดจัด กรดมากเกินไป ตัวฟอสเฟตในเมื่อมันเป็นกลุ่มวัสดุปูน เป็นด่าง ใช้รองก้นหลุม ทำหน้าที่แทนปุ๋ยได้แค่ 1 ถึง 2 ช้อนแกงจะช่วยให้ต้นกล้าได้รับแคลเซียมไปพร้อมกับพวกปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยเคมีต่างๆ สูตรเสมอ หรือ 16-0-0 และได้ฟอสฟอรัสด้วย แต่เนื่องด้วยว่า ค่า pH หรือค่าความเป็นด่างเขาสูงประมาณ 10 ขึ้นไป ถ้าใส่เยอะจะไปสะสมความเป็นด่าง ไปเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเคมีให้ดินมันเป็นด่าง พอดินเป็นด่างเพื่อนๆจะปวดหัวกับเรื่องการแก้ดินด่างอีก ซึ่งเอากันจริงๆคือแก้ยากกว่าดินเปรี้ยวอีก เพราะต้องใช้ภูไมท์ซัลเฟตถุงสีแดง ใช้ยิปซั่ม ใช้ฮิวมิก ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยอินทรีย์เป็นกรด เขาจะย่อยสลายออแกนิกส์แอซิด ซึ่งเป็นกรดอินทรีย์เหมือนพวกน้ำส้มควันไม้ แต่มันจะให้ลงมาทีละสเต็ปๆ พอดินเราขึ้นเป็น 7 , 8 , 9 7 จะเป็นกลาง มากกว่า 7 จะเป็นด่าง ดินที่มันเป็นด่างจัดหรือกรดจัดมันจะจับตรึงปุ๋ยล็อคปุ๋ยไว้ในดิน ใส่ปุ๋ยอะไรไปก็ไม่งาม ไม่เจริญเติบโต ใส่ปุ๋ยไปก็เฉยเหมือนไม่ตอบสนองเรียกว่าไม่หือไม่อือ เพราะฉะนั้นอย่าให้ดินเป็นด่างเกินไป หรือตรวจวัดกรดด่างของดินให้ดีเสียก่อน ก่อนที่จะไปเติมปูนเปลือกหอย ปูนเผา ปูนขาว ปูนมาน ต้องดูดินก่อน และที่เราจะใช้ฟอสเฟตเยอะๆในปริมาณเป็น 100 เป็น 1000 กิโลกรัม ต้องตรวจวัด pH ควรจะต้องต่ำกว่า 5.8 ลงไป คือจะเป็นกลางแต่ช่วงที่เป็นกรดเล็กน้อยหรือกรดอ่อนๆ คือค่าจะอยู่ระหว่าง 5.8-6.3 เคิฟนี้คือเคิฟที่ดินเป็นเพื่อนกับจุลินทรีย์ เป็นเพื่อนกับอาหาร สสารต่างๆที่เติมมา เวลาเราเติมปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก ปุ๋ยเคมีสูตรเสมอ 15-15-15 , 16-16-16 หรือปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 , 21-0-0 เวลารดน้ำหรือฝนตกเขาก็จะละลายกับความเป็นกรดเล็กน้อยที่ 5.8-6.3 รากพืชก็จะดูดกินได้โดยง่ายเพราะลำไส้ของพืช ท่อน้ำ ท่ออาหารก็สามารถลำเลียงพวกสารอาหารเหล่านี้อยู่ในรูปกรดอ่อนเช่นเดียวกัน ดังจะเห็นว่าเวลาเราเอาน้ำในท้องร่องที่สวนส้มรังสิตหรือสวนส้มแถวนครสวรรค์สมัยก่อนใส่ปูนที่หลวงแจกกันมาเยอะๆ เวลาฝนตกชะปูนบนสันร่องลงมาท้องร่อง เวลาคนงานจ้วงเอาน้ำมาฉีดพ่น น้ำเป็นด่างตัวยาในท้องตลาดส่วนใหญ่จะเป็นกรดสังเกตได้จากชื่อที่ลงท้ายด้วยแอซิด กรดกับด่างรวมกันมาเจอกันเหมือนแม่เหล็กคนละขั้ว จะทำลายลิสต์กัน ทำลายประจุได้กลัวและน้ำเปล่า ฉีดแล้วไม่ได้ผลจึงทำให้ชาวไร่ ชาวนา ชาวสวนต้องแถมใช้ 2 อย่าง เช่นเดียวกัน ถ้าดินไม่เป็นกรดอ่อนๆ พอไปเติมปุ๋ยมันก็ถูกขับไล่ ถูกล็อค ถูกตรึง เพราะฉะนั้นจะใส่ปูนฟอสเฟตจะต้องวัดค่า pH ควรจะต่ำตั้งแต่ 4 , 3 , 2 แล้วจึงใช้ตัวฟอสเฟต แต่ถ้าใช้กระตุ้นการเจริญเติบโตและขยายรากก็ใช้แค่ 1 หรือ 2 ช้อนแกง ค่อยๆใส่แบบบางๆ ใส่น้อยๆ รองก้นหลุมหรือหว่านกระจายรอบทรงพุ่ม 

มนตรี  บุญจรัส

ชมรมเกษตรปอลดสารพิษ www.thaigreenagro.com

Line Official: https://lin.ee/3M1NXzf
ช่อง Youtube: https://bit.ly/3o1LAhK
เพจ Facebook: Thai Green Agro
Call Center: 084-5554205-9
ฝ่ายวิชาการ : 02-9861680-2
ไอดีไลน์: tga001-tga004
เว็บไซต์: www.thaigreenagro.com
Lazada: https://bit.ly/2XkPgUr

×