ยอดเน่าดำ กิ่งแห้งดำในพริก บางรายเสียหายทั้งแปลง โดยมากที่พบมักเกิดขึ้นหลังฝนตกใหม่ช่วงที่มีอากาศร้อน ซึ่งอาการของโรคนี้จะระบาดสร้างความเสียหายให้พริกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆทุกปี โดยเฉพาะช่วงรอยต่อฤดูฝน–ฤดูร้อน นอกจากพริกแล้วยังสามารถพบเจออาการดังกล่าวใน มันฝรั่ง มะเขือ ถั่วฝักยาว ถั่วแขก ถั่วพุ่ม ถั่วลันเตา ตลอดจนผักบุ้ง ซึ่งส่วนใหญ่พบที่ยอดอ่อน บริเวณที่ถูกทำลายจะฉ่ำน้ำจากนั้นค่อยๆแห้งดำลุกลามลงตามกิ่ง ทำให้กิ่งแห้งหักพับไป ผลก็เช่นกัน…จะช้ำเน่า ร่วงหล่น มีกลุ่มสปอร์สีเทาดำขึ้นตามผลหรือยอดมองเห็นชัดเจน บางพื้นที่เรียก “ราขนแมว” เนื่องจากมีขนคล้ายขนแมว ส่วนปลายของขนจะมีตุ่มสีดำบรรจุสปอร์ เมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะๆสปอร์ก็จะแตกปลิวไปสู่ต้นอื่นก่อให้เกิดการระบาด
การป้องกันให้เกษตรกรหมั่นสังเกตในแปลงหลังฝนหยุดตกใหม่ๆ ช่วง 2-3 วันแรก หากพบว่ายอดพริกเริ่มช้ำให้รีบตัดแต่งออกก่อนที่เชื้อราจะสร้างสปอร์ หากระบาดจนมีการสปอร์ขึ้นแล้วให้รีบถอนออกจากแปลงให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ เพื่อลดแหล่งแพร่กระจายของเชื้อ จากนั้นให้ฉีดพ่นอินดิวเซอร์ (ไตรโคเดอร์ม่า)ให้ชุ่มโชกทั้งบนใบ ใต้ใบ ตลอดจนบนดินทั่วทั้งแปลง ติดต่อกัน 2-3ครั้งโดยเว้นระยะห่าง 3-4วัน/ครั้ง เมื่อต้นพริกเริ่มฟื้นตัว แตกใบอ่อน ก็ให้ฉีดพ่นด้วยอาหารจานด่วน (โพแทสเซียมฮิวเมท 10 กรัม, ยูเรีย (46-0-0) 20 กรัม, ไข่ไก่สด 1 ฟอง, น้ำเปล่า 20 ลิตร (ตีให้เข้ากัน)) สลับหรือร่วมกับซิลิโคเทรซและไคโตซานMT สำหรับเกษตรกรท่านใดที่หมักฮอร์โมนไข่ใช้อยู่แล้ว ก็สามารถนำมาฉีดพ่นแทนก็ได้
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่