0

Your Cart

No products in the cart.
THAIGREENAGRO | ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
[agrikon_wc_ajax_search]

จัดการปัญหาผลอ่อนทุเรียนหลุดร่วง

ในช่วงของฤดูฝนจะเป็นช่วงที่เป็นปัญหาของชาวสวนทุเรียน คือ ทุเรียนใบไหม้ หรือ ผลอ่อนร่วงเกิดมาจากการที่มีปริมาณไนโตรเจนสูงหลังจากที่ฝนตกต่อเนื่องซึ่งไนโตรเจนนั้นไม่ได้มาจากน้ำฝนโดยตรงแต่จะมาจากการที่น้ำนำเอาไนโตรเจนในอากาศให้อยู่ในรูปธาตุไนโตรเจนที่พืชนั้นสามารถนำไปใช้ได้ส่งผลให้เกิดการแตกใบอ่อนในทุเรียนจึงทำให้ผลอ่อนทุเรียนนั้นหลุดร่วงซึ่งการที่ผลอ่อนทุเรียนหลุดร่วงนั้นเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น ด้านสิ่งแวดล้อม การดูแลรักษา การเกิดโรคในพืช ในด้านของสิ่งแวดล้อมนั้นจะมาจากสภาพอากาศที่มีการเปลี่ยนแปลงรุนแรงคือการที่มีฝนตกอย่างต่อเนื่อง ลมแรง หรือ อุณหภูมิที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วส่งผลให้ต้นทุเรียนนั้นเกิดความเครียดทางสรีรวิทยาทำให้ผลอ่อนของทุเรียนร่วงและเกิดอาการใบไหม้ หรืออีกกรณีเกิดจากการที่ฝนตกหนักอาจทำให้ดินบริเวณนั้นมีความเค็มสะสมซึ่งจะส่งผลต่อการดูซึมสารอาหารของรากโดยตรงหรือ เกิดจากการที่มีแสงแดดจัดก็สามารถทำให้ทุเรียนเกิดอาการใบไหม้ก็ได้เช่นกัน การขาดขาดธาตุอาหารของพืชนั้นก็มีส่วนเนื่องจากการขาดธาตุแคลเซียมโบรอนและโพแทสเซียมที่ช่วยในเรื่องของการพัฒนาโรงสร้างของเซลล์พืช การพัฒนาเกสรและผลอ่อนการควบคุมการคายน้ำและการเคลื่อนย้ายสารอาหารก็จะส่งผลต่อการหลุดร่วงของผลอ่อนทุเรียนและทุเรียนใบไหม้ได้การจัดการน้ำที่ไม่เหมาะสมการให้น้ำที่มากหรือน้อยเกินไปจะส่งผลต่อต้นทุเรียนโดยตรง หากให้น้ำน้อยจะทำให้ผลอ่อนทุเรียนเกิดความเครียด ขาดความชุ่มชื้นและผลอ่อนทุเรียนจะหลุดร่วงหากให้น้ำที่มากเกินไปก็ทำให้ต้นทุเรียนเกิดโรครากเน่าโคนเน่าก็จะส่งผลให้ผลอ่อนทุเรียนหลุดร่วง โรคและแมลงที่เป็นศัตรูพืช เช่นโรครากเน่า โคนเน่าที่เกิดจากเชื้อราจะส่งผลให้ระบบรากนั้นเสียหายต้นทุเรียนนำสารอาหารไปลำเลียงไม่เพียงพอโรคแอนแทรคโนส ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคใบไหม้ทำให้ใบและผลมีจุดสีน้ำตาลและเกิดอาการไหม้และผลอ่อนทุเรียนจะหลุดร่วงแมลงที่เป็นศัตรูพืชได้แก่ เพลี้ยไฟ แมลงวันทอง ในการดูแลรักษานั้นในด้านสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงรุนแรงนั้นสามารถแก้ไขได้โดยติดตั้งม่านบังลมรอบแปลงปลูกการปลูกพืชคลุมดินหรือพืชแซมเช่น กล้วย ข้าวโพด ในด้านการขาดธาตุอาหารแนะนำให้เสริมแคลเซียมโบรอน โพแทสเซียม ที่เป็นสาเหตุหลักในการหลุดร่วงของผลอ่อนในด้สนการจัดการน้ำที่ไม่เหมาะสมแนะนำให้รดน้ำสม่ำเสมอ รักษาความชื้นภายในแปลง ปรับปรุงระบบระบายน้ำ และการป้องโรคพืชและแมลง ในการกำจัดเชื้อราที่เกิดทางดินเช่น โรครากเน่า โคนเน่า สามารถใช้ไตรโคเดอร์ม่า(อินดิวเซอร์) เชื้อราที่เกิดทางใบเช่น โรคใบไหม้ สามารถใช้ไบโอเซนเซอร์ กำจัดและป้องกันเพลี้ยไฟ ไรแดง แมลงปีกอ่อนสามารถใช้บูเวเรีย โดยแต่ละสามารถใช้ในอัตรา 50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ผสมให้เข้ากันฉีดพ่นให้ทั่วลำต้นและใบและควรฉีดในช่วงเช้าที่มีแดดอ่อนหรือช่วงเย็นเนื่องจากเชื้อจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นยิ่งขึ้น หากสนใจข้อมูลเพิ่มเติมหรือต้องการปรึกษาปัญหาด้านการเกษตรปลอดสารพิษ ติดต่อสอบถามได้ที่ https://thaigreenagro.com/

บทความโดย      นางสาวธารหทัย จารุเกษตรพร

×