0

Your Cart

No products in the cart.
THAIGREENAGRO | ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
[agrikon_wc_ajax_search]

จุลินทรีย์ไม่ใช่ปุ๋ย ใช้ให้ถูกวิธี

วันนี้เราก็จะคุยถึงเรื่องของจุลินทรีย์ จุลินทรีย์หลายคนเวลามาหมักขยายกากน้ำตาล หมักขยายกับแป้งหมัก ขยายหมักกับอาหารนมบ้างอะไรบ้าง แล้วก็ไปฉีดเลย หลายคนที่โทรมาว่าฉีดแล้วทำไมมันไม่งอกไม่งามไม่เจริญเติบโต วันนี้เดี๋ยวเราจะมาคุยกันนะครับ

                คำว่าจุลินทรีย์ ความจริงแล้วก็มีตั้งแต่เชื้อรา แบคทีเรีย ไวรัส ไมโตรพลาสมา อีกเยอะแยะมากมาย แต่ที่เราจะมาพูดคุยกันวันนี้ก็จะเป็นจุลินทรีย์ที่ส่วนใหญ่แล้วเราเอามาหมักกับกากน้ำตาล เราเอาจุลินทรีย์หน่อกล้วย จุลินทรีย์อีเอ็ม จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง จุลินทรีย์จาก พด จากกรมพัฒนาที่ดิน จุลินทรีย์บีที บีเอส พลายแก้ว จุลินทรีย์อินดิวเซอร์อะไรต่างๆ เวลาจะเอามาหมักขยายพวกนี้เขาก็จะมีคุณสมบัติเป็นสิ่งมีชีวิตตัวเล็กๆทำหน้าที่แตกต่างกันไป แต่คนที่มักจะเข้าใจผิดก็คือสมัยก่อนเอาอีเอ็มมาหมัก เอาจุลินทรีย์หน่อกล้วย จุลินทรีย์ไอเอ็มโอ ไอเอ็มโอของ ดร.อานัฐ ตันโช ที่เอาเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาจากทางเกาหลีหรือญี่ปุ่น ขออภัยถ้าจำผิดพลาดไป คือเก็บจุลินทรีย์จากป่า จากตอซัง พอเอาหมักกับกากน้ำตาล คนเห็นมันเป็นสีเข้มๆ ดำๆ และก็เอาไปผสมน้ำฉีด เอาไปผสมน้ำล้างห้องน้ำ ขัดส้วม ใช้ในคอกเป็ด เล้าไก่ เรียกว่าเป็นอเนกประสงค์ แต่ทางรายการของเรา หรือทางไทยกรีนอะโกรหรือทางชมรมเกษตรปลอดสารพิษเราก็จะบอกอยู่ตลอดว่าถ้ามีความเชี่ยวชาญอาจจะทำได้จริงคือมีความรู้มีข้อมูลเพราะว่าการใช้จุลินทรีย์ไปทำความสะอาด ถ้าเป็นคนสูงอายุหน่อยอาจจะรับได้ แต่ถ้าเป็นหนุ่มสาว ผมว่าก็อาจจะไม่ชินกับกลิ่นที่หมักกับกากน้ำตาล มันก็จะมีกลิ่นพิเศษ เหมือนกลิ่นมูลวัว มูลควาย หรือกลิ่นดิน เวลาเขาจะไปล้างขนส่งอายุเขาก็บอกว่ามันหอม มันดี บางคนก็เอาไปทาตัวอะไรต่างๆ จนหมัก BM หมัก BE มีชื่อ BE อีก สมัยก่อน BE คือ ไบโอแทค ไบโอในสมัยนั้นก็น่าจะมาจากไบโอโลจิคอล เอคแทคแปลว่าการสกัดหรือการขยาย ก็เรียกได้ว่าใช้ได้แบบอเนกประสงค์ อันนี้พูดย้อนไปเมื่อ 20 กว่าปีที่แล้ว จนคิดว่าตัวนี้มันเป็นน้ำยาอเนกประสงค์ หรือน้ำยาชีวภาพ หรือว่าเป็นปุ๋ย ต้องเข้าใจนะว่าจุลินทรีย์ที่ถ้าเราจะเอามาใช้จับกลิ่นได้ ไม่ใช่มีปัญหา เอาไปหมักปุ๋ยชีวภาพ ปุ๋ยอินทรีย์ได้ แต่ถ้าเอาไปเลี้ยงสัตว์น้ำอาจจะมีปัญหา เอาไปล้างห้องน้ำทำให้ส้วมไม่เหม็นก็ช่วยย่อยได้เพราะจุลินทรีย์กลุ่มอีเอ็ม หน่อกล้วยเขาเป็นจุลินทรีย์พวก เขาเรียกว่าแอนด์แอลโรบิคด้วย คือมีจุลินทรีย์ที่ไม่ใช้ออกซิเจนและก็ทั้งที่ใช้ออกซิเจน แต่ที่ห่วงก็คือว่า ถ้าเพื่อนๆเอาจุลินทรีย์หน่อกล้วย อีเอ็ม จุลินทรีย์ขี้ควาย จุลินทรีย์ขุยไผ่ BE ไอเอ็มโอ จุลินทรีย์ พด มาหมักขยายและก็ไปฉีดบำรุง ไปใส่โคนต้น ไปฉีดใบ คิดว่ามันเป็นปุ๋ยชีวภาพ อ้าวปุ๋ยชีวภาพมันมีสิ่งมีชีวิต ไม่ใช่ครับ มันต้องเอาจุลินทรีย์ที่พูดมาทั้งหมดบวกกับอินทรียวัตถุก่อน บวกกับเปลือกกล้วย เปลือกฝรั่ง บวกกับมังคุด ลองกอง ข้าวสุก ข้าวสวย ก้างปลาทู เศษไม้ใบหญ้า แล้วก็ต้องทิ้งใช้ระยะเวลาสักพักหนึ่ง จุลินทรีย์เขาเรียกว่าเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ทำให้อินทรียวัตถุกลายเป็นปุ๋ยเร็วขึ้น แต่ถ้าเราหมักจุลินทรีย์แล้วเอาไปฉีดเลย มันจะไม่เจริญเติบโตเพราะเขาไม่ใช่ปุ๋ย หรือท่านปลูก นึกถึงภาพ จุลินทรีย์พวกนี้ถ้าเอาต้นไม่ใส่ไว้ในทราย ทรายคือเป็นวัสดุปลูกที่แทบจะไม่มีแร่ธาตุสารอาหาร ไม่มีความอุดมสมบูรณ์เลย เอาง่ายๆว่าเหมือนเป็นตัวเกาะยึดธรรมดา เอาทรายใส่กระถางปลูก เอาต้นไม้ปักและเราก็รดด้วยจุลินทรีย์ ก็แน่นอนมันจะไม่โต หรือโตก็โตแบบไม่สมบูรณ์ ที่โตได้อาจจะมีอาหารจากโมลาสหรือกากน้ำตาล แต่ถ้าเป็นจุลินทรีย์เพรียวมันแย่งกินอาหารหรือย่อยไม่เหลือให้พืช มันก็ไม่โต พืชที่ปลูกในทรายแล้วรดด้วยจุลินทรีย์อีเอ็ม จุลินทรีย์สังเคราะห์ จุลินทรีย์ขี้ควาย จุลินทรีย์หน่อกล้วย จุลินทรีย์ขุยไผ่ จุลินทรีย์ป่าเปิดใหม่ มันจะโตก็โตแบบผอมแห้งแรงน้อยโตเหมือนเวลาเราปลูกผักตามที่เราเรียนวิทยาศาสตร์ ที่ปลูกถั่ว อีกอันให้มีแสง อีกอันหนึ่งไม่มีแสง มันก็จะโตแบบผอมๆ เพราะว่าจุลินทรีย์ไม่ใช่ปุ๋ย เพื่อนๆต้องเข้าใจและก็จุลินทรีย์ที่มีที่หน้าที่ของมันที่พูดส่วนใหญ่ก็คือเอามาทำเป็ฯเพื่อที่จะเอามาย่อยสลายเป็นปุ๋ย แต่จุลินทรีย์ก็ยังมีแยกเป็นเหมือนพวกไก่ ไก่อย่างเดียวไม่ใช่แปลว่าทำหน้าที่ได้ทุกเรื่อง ไก่พันธุ์ไข่ก็มีหน้าที่ออกไข่ได้ดีกว่าไก่เนื้อ ไก่เนื้อก็มีหน้าที่สร้างโปรตีนได้สูงกว่าไก่ไข่ ไข่ชนก็ทั้งอาจจะออกไข่ก็ไม่เก่ง เนื้อก็ไม่นุ่มเหมือนไก่เนื้อ เอาไก่ไข่ ไก่เนื้อมาชนก็ไม่ได้ ไก่ป่า ไก่แจ้ก็อีกเรื่องหนึ่งเป็นเรื่องสวยงาม จุลินทรีย์ก็เป็นชนิดที่มันกินหนอนโดยตรง พวกบาซิลลัสทูริงเยนซิส หรือไบโอแทค จุลินทรีย์ที่กินโรครากเน่าโคนเน่า ใบจุด ใบด่าง ใบดำ โรคแคงเกอร์ในมะนาว โรคแอนแทรคโนสในพริกที่เป็นกุ้งแห้ง โรคเน่าคอดินอะไรต่างๆเยอะแยะมากมาย โรคราสนิมอันนี้ก็ต้องอาศัยพวกไตรโคเดอร์มา อาศัยพวกบาซิลลัสซับทิลิส หรือพวกบีเอส เป็นต้น ส่วนจุลินทรีย์อีเอ็ม จุลินทรีย์ขุยไผ่ จุลินทรีย์ขี้ควาย พด BE IMO จุลินทรีย์พวกนี้จะเน้นย่อยพวกแป้ง ย่อยพวกน้ำตาลคาร์โบไฮเดรตเล็กๆน้อยๆ แต่ตัวเขาไม่ใช่ปุ๋ย ไปปลูกในดินที่แห้งแล้ง ดินภาคอีสาน ขาดแคลนความอุดมสมบูรณ์ จะฉีดแล้วจะบอกว่าฉันเป็นคออินทรีย์ไม่ใช้เคมี ผลผลิตของเพื่อนๆพี่ๆก็จะหาย หายหมด คือถ้ามีหนี้มีสินอยู่เจ๊ง ต้องเอาจุลินทรีย์พวกนี้ไปร่วมกับตอซังฟางข้าว ร่วมกับอินทรียวัตถุ เปลือกมะม่วง เปลือกมังคุด เปลือกทุเรียน ข้าวสวย ข้าวสุก เศษผักบุ้ง ตำลึง เอามาหมักก่อน ส่วนใหญ่ก็จะใช้อัตรา 3 ต่อ 1 แต่ถ้าเป็นแฟนคลับ เป็น FC ของไทยกรีนอะโกรบอกไปแล้วจุลินทรีย์ที่ย่อยได้ดีที่สุดในประเทศไทย ก็จะไม่มีอะไรเกินจุลินทรีย์ขี้ควาย เพราะจุลินทรีย์ขี้ควายมาจากกระเพาะพวกสัตว์ที่มีกระเพาะ 4 ห้อง พวกสัตว์มีประเพาะ 4 ห้อง หรือสัตว์เคี้ยวเอื้อง เขาจะมีกระเพาะหรือห้องของกระเพาะแบบพิเศษ คือเป็นห้องที่ สัตว์เคี้ยวเอื้องเขาจะไม่สามารถย่อยสลายอาหารได้ด้วยตัวของเขาเอง เขาจะต้องไหว้วาน ฝากจุลินทรีย์ในห้องอื่นๆหรือในธรรมชาติเขาก็ต้องจัดสรรมา ก็เอาจุลินทรีย์ที่ย่อยหญ้า ย่อยฟาง ก็คือย่อยพวกเซลลูโลส ลิกนิน เฮมิเซลลูโลส ที่ดีที่สุดมาให้เขา ถ้าธรรมชาติไม่จัดสรรมา สัตว์พวกนี้ก็จะตาย พวกวัวควาย แพะ แกะ เก้ง กระจง จิ้งโจ้ ยีราฟ อูฐ ใครหาขี้วัว ขี้ควาย ไม่ได้ก็จะเอามูลของจิงโจ้หรือยีราฟก็ได้ สมัยนี้ก็อาจจะอยู่ใกล้สวนสัตว์ อาจจะได้ เจอโควิดเข้าไปก็จะยากนิดหนึ่ง ในสัตว์เคี้ยวเอื้องเขาจะมีกระเพาะ เขาเรียกว่าผ้าขี้ริ้วหรือรูเมนส์ และก็ไปตัวเลทิคุรัมหรือเรียกว่ารังผึ้งนี่คือกระเพาะห้องที่ 2 ผ้าขี้ริ้ง รังผึ้ง คอที่กินเครื่องในวัว เครื่องในควาย พวกนี้ก็จะรู้ว่ามันรสชาติอร่อยใช้ได้ อาจจะไม่ได้มองในเชิงของด้านการเกษตร ส่วนช่องที่ 3 คือโพมาซัม หรือ สามสิบกลีบ ทั้งผ้าขี้ริ้ว รังผึ้ง สามสิบกลีบ เขาจะมีบริวาร มีจุลินทรีย์ที่ทำหน้าที่ย่อยสลายจากชิ้นใหญ่ มาชิ้นเล็ก ชิ้นน้อย และเอาส่วนที่สำเร็จรูป หรือเกือบจะสำเร็จรูปส่งไปยังตัวอะโบมาซัมคือกระเพาะจริง 3 กระเพาะถ้านั่นไม่หมดเขาก็จะขยอกออกไป เคี้ยวเอื้อง สัตว์ที่เป็นสี่กระเพาะไม่ใช่หมา ไม่ใช่หมู ไม่ใช่กา ไม่ใช่ไก่ ต้องเป็นวัว ควาย แพะ แกะ เก้ง กระจง จิงโจ้ ยีราฟ อูฐ ลองสังเกตดูสิบางคนเขาก็ใช้มูลพวกนี้เอาไปเพาะเห็ดฟางในสมัยก่อน สมัยนี้ก็มีเห็ดก็เจริญเติบโตงอกงาม สมัยก่อนเขาใช้ม้าด้วย แล้วก็จะมีเห็ดขี้ม้าปนเข้ามาในเห็ดฟาง วิทยาศาสตร์ที่ยังไม่ก้าวหน้า เห็ดขี้ม้า เห็ดถั่ว สมัยก่อนคนโบราณก็ความรู้ก็ไม่มี มันหายาก เวลาเพาะเห็ดฟางแล้วมันมีเห็ดขี้ม้า เห็ดถั่ว ก็จะต้องทำลายเรียกว่าวัชเห็ดต้องทิ้ง แล้ววิทยาศาสตร์ก็พัฒนาขึ้นๆ เห็ดโคลนก็คนยังเพาะเองไม่ได้มีเห็ดยานางิ เห็ดญี่ปุ่น หรือบางคนเรียกเห็ดโคลนน้อย นักวิชาการก็เริ่มแนะนำว่าเห็ดถั่ว ที่เกิดขึ้นในเห็ดฟางหรือเห็ดขี้ม้ากินได้ คนก็มาเปลี่ยนชื่อเป็นเห็ดโคลนน้อย เห็ดยานางิคือเห็ดโคลนญี่ปุ่น พอเปลี่ยนเป็นเห็ดโคลนน้อยขายดี จนเดี๋ยวนี้ฟาร์มทุกฟาร์มเพาะเห็ดโคลนน้อยแทนเห็ดฟาง ที่นอกเรื่องไม่ใช่อะไรแค่อยากบอกว่าวทยาศาสตร์บางทีมันก็เปลี่ยนไปได้เรื่อยๆเหมือนกัน เมื่อก่อนบอกโลกแบนก็มาเป็นกลม เมื่อก่อนบอกว่าอะตอมเล็กที่สุด ก็มีโปรตอน นิวตรอนอีก เพราะฉะนั้นเราก็คิดและพิสูจน์ด้วยตัวเองเหมือนหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลงในสัจธรรม และก็ต้องคิดในหลายๆเรื่องว่าทุกอย่างมันอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงได้ ตอนนี้เขากำหนดว่า 16 ธาตุอาหารของพืช เป็นพืชที่สำคัญจำเป็น ธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม ไม่รวมซิลิกอน กับ ไคโตซาน แต่ถ้าเพื่อนๆไปดูซิลิก้าหรือซิลิกอน มีเยอะแยะในทุกพืชเลย เอาพืชอะไรมาตรวจก็จะเจอซิลิก้า ซิลิกอน เพราะฉะนั้นอย่าพึ่งไปทุ่มหรือเชื่อเรื่องหนึ่งเรื่องใด จนสุดโต่งไม่ฟังใครเลย ต้องทำตัวเราให้เป็นเกษตรกรหัวก้าวหน้า หัวสมัยก่อน ไม่เป็นน้ำชาล้มถ้วย ไม่เป็นน้ำที่เต็มแก้ว แล้วก็จะค่อยๆเรียนรู้จุลินทรีย์พวกนี้เอาไปต่อยอด พัฒนาต่อยอดจากไทยกรีนอะโกรไปชมรม เพื่อนๆเข้ามาดูทำการเกษตรก็จะได้มีตัวช่วย แม้ว่ามันไม่มีอะไร 100 % แต่ตัวช่วยลดต้นทุนเรื่องดิน เรื่องปุ๋ย เรื่องน้ำ เรื่องอะไรต่างๆ ช่วยได้แน่ๆ       

 

มนตรี  บุญจรัส

 

ชมรมเกษตรปอลดสารพิษ www.thaigreenagro.com

×