0

Your Cart

No products in the cart.
THAIGREENAGRO | ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
[agrikon_wc_ajax_search]

ความแตกต่างของภูไมท์กับภูไมท์ซัลเฟตในการเกษตร

วันนี้เราจะมาคุยกันถึงเรื่องภูไมท์กับภูไมท์ซัลเฟต ซึ่งก็ยังมีเกษตรกรยังงงว่ามันคืออะไร บางทีเลือกภูไมท์อย่างเดียว เลือกภูไมท์ซัลเฟตมันมีกี่ชนิด มันแตกต่างกันอย่างไร เดี๋ยวเราก็จะมาคุยกันในช่วงรายการในเรื่องของหินแร่ภูเขาไฟ ภูไมท์มีการใช้กันอย่างแพร่หลายและก็กว้างขวาง และก็คนยุคใหม่ที่พึ่งจะลด ละ เลี่ยง เลิก การใช้สารพิษก็มีการนำเอาภูไมท์ ไปสร้างภูมิคุ้มกันให้กับพืชโดยอาจจะร่วมกับตัวไคโตซานที่สกัดหรือหมักได้มาจากกระดองปู แกนปลาหมึก ใช้ทั้งในการปลูกข้าว ปลูกผัก เพาะเห็ด ปลูกทุเรียน ลองกอง มังคุด ลำไย ก็ใช้กันมาเรียกกันมาติดปากเป็นภูไมท์ แต่เกษตรกรที่เป็นแฟนคลับกันมาจริงๆ บางทีพูดบอกว่าภูไมท์แต่ซื้อภูไมท์ซัลเฟตไปใช้ ก็เรียกภูไมท์ ทำให้พอแนะนำเพื่อน เพื่อนก็บอกไปซื้อภูไมท์ แต่จริงๆแล้วเป็นภูไมท์ซัลเฟตหรือเปล่า ก็ต้องบอกว่าที่ไม่ว่าเราจะเรียกภูไมท์หรือภูไมท์ซัลเฟต ความจริงชื่อก็คล้ายๆกัน ไม่เหมือนกันเสียทีเดียว ความแตกต่างแรกคือภูไมท์เป็น 2 คำสั้นๆ ตัวนี้ใช้ในเรื่องของการที่ผสมปุ๋ยให้เป็นปุ๋ยละลายช้าและเอาไว้ใช้เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับเซลล์พืช เน้นในเรื่องของการป้องกันโรคแมลง รา ไร ที่จะเข้ามาทำลาย ภูไมท์ ภูไมท์ซัลเฟต หรือจะเป็นพวกสเม็คไทต์ ไคลน็อพติโลไลท์ ม้อนท์โมริลโลไนส์ ขยายความให้ทีเดียวเลยนะครับ คนที่รู้จักกลุ่มภูเขาไฟจะได้รู้จักว่าพวกนี้เป็นกลุ่มหินแร่ภูเขาไฟ แต่ภูไมท์กับภูไมท์ซัลเฟตเป็นหินแร่ภูเขาไฟของประเทศไทยเรา เราไปสัมปทานจากเหนือ โดยสัมปทานบัตรต้องขออนุญาต ยุคนี้ก็ต้องขออนุญาตทหาร เพราะเป็นยุคที่ คสช เขาปฏิวัติมา ก่อนหน้านี้ก็สัมปทานกับรัฐบาลเป็นภูเขาไฟของประเทศไทยอยู่ที่จังหวัดลพบุรี ชื่อเทือกเขาพนมฉัตร ภูไมท์เป็นหินภูเขาไฟไทยที่แม้ว่าค่า C.E.C  หรือค่าความสามารถในการจับตรึงหรือแลกเปลี่ยนประจุจะน้อยกว่าพวกไคลน็อพติโลไลท์ พวกชบาไซด์ ฟิลิปไซด์ที่เป็นของเมืองนอกอะไรต่างๆ แต่อายุประมาณ 22 ล้านปีของเขามันทำให้เนื้อ เทคเจอร์ของเขา กายภาพของเขา มันกลมกล่อม มันเต็มไปด้วย เทสอิโลเมน หรือธาตุอาหารที่พร้อมต่อการละลาย ทำไมต้องพูด 22 ล้านปี ก็ถ้ามันใหม่กว่านี้ ไม่กี่ล้านปีกับเป็นพันๆ หมื่นๆล้านปีมันก็กลายเป็นดินไปเสียหมด ใหม่เกินไปมันก็เป็นหิน อันนี้ก็มีงานวิจัยสามารถไปศึกษาอ่านดูได้ งานวิจัยของกองธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณี ว่าไปศึกษาค้นคว้าหาอ่านเกี่ยวกับเรื่องเนื้อแร่ภูเขาไฟตรงเทือกเขาพนมฉัตรก็สามารถที่จะดูได้ซึ่งคุณปัญญาสุริยะฉายกับคุณวิโรจน์ถ้าจำไม่ผิดเป็นผู้ที่ค้นคว้าวิจัยในเรื่องนี้อยู่ คือ C.E.C เขาจะอยู่ประมาณ 80-90 meq ต่อ 100 กรัม แต่ถ้าเป็นไคลน็อพติโลไลท์ C.E.C. จะ 200 ถึง 220 meq คือ คือเปรียบเทียบต่อ 100 กรัม C.E.C. สูงๆ คือตัวที่สามารถอุ้มน้ำ อุ้มปุ๋ย จับตรึงน้ำ จับตรึงปุ๋ย เก็บเป็นตู้เย็นแล้วค่อยๆรอให้รากพืชมาดูดกินไปทีละน้อยเป็นสโลลิลิตรโฟติไลเซอร์ ภูไมท์มีแค่ 80 ก็ยังอุ้มได้ ถ้าไปบกกับดินที่มีฮิวมัส มีฮิวมิก มีอินทรียวัตถุเพียงพอ แต่จุดเด่นเขามีซิลิก้า ทุกตัวหินแร่ภูเขาไฟไม่ว่าจะเป็นในหรือต่างประเทศจะมีซิลิก้าอยู่ประมาณ 70% ที่ละลายได้ คือไม่ใช่ซิลิก้าที่เป็นโครงสร้างเคมี Sio2 ไม่ใช่ไปเอาจากหิน ดิน ทราย กรวดที่ไหนก็ได้ เพราะทรายก็คือซิลิก้าต้องเป็นสโลเบิลซิลิก้า หรือดิสโซลซิลิก้าที่ละลายน้ำได้สรุปก็คือถ้าใช้หินแร่ภูเขาไฟก็มีซิลิก้าที่ละลาย พืชสามารถดูดกินนำไปใช้สะสมเป็นผลึก ควอช ในใบเลี้ยงเดี่ยว ในโอปอร์ ในพืชใบเลี้ยงคู่ ทำให้เซลล์มันแข็งแรง เราจึงเอาภูไมท์มา ภูไมท์เป็นหินแร่ภูเขาไฟเพรียวๆ 100% มีซิลิก้า 70% ที่ใช้งานและก็บวกเหล็ก ทองแดง แมงกานีส สังกะสี โบรอน โมริบดินัม นิกเกิล ทองแดง คลอรีน ไทเทเนียมต่างๆ พอไปใช้ร่วมกับปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกและก็มันเป็นเพรียวซีโอไลท์ หรือเพรียวหินแร่ภูเขาไฟ ซิลิก้าก็จะแข็งและจับตรึงปุ๋ย เวลาเขาจะใช้ปุ๋ยเป็นปุ๋ยละลายช้าเขาจะใช้ตัวภูไมท์หรือถ้าเรียกภูไมท์ยังงง ก็ต้องเรียกว่าภูไมท์ถุงสีขาว ส่วนภูไมท์ซัลเฟตความจริงแล้วเขามี 2 สี ภูไมท์ซัลเฟตถุงสีเหลืองใช้ได้กับทุกสภาพดิน ไม่ว่าคุณจะเป็นดินเปรี้ยว ดินด่าง ดินกรด ดินทราย ดินเหนียว ลูกรังหรือดินอะไรก็ตามทำไมมันใช้ได้กับทุกดินก็มันไม่ได้ไปปรับ pH หรือเรื่องของกรดและด่างของดิน เราใช้ภูไมท์ซัลเฟตเพื่อบำรุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์พร้อมต่อการเจริญเติบโต ของต้นกล้า ต้นพันธุ์ กิ่งตอน เมล็ด ทุกอย่างที่อยากจะปลูกแล้วให้มันมีอาหารสะสม ลาวาภูเขาไฟเมื่อมันเย็นตัวแข็ง ตัวนี้มันเดือดจนไหลไปแล้ว รูปนี้อยู่ที่อัลเซอร์ไบจาล เขาจะใช้ลาวาพวกนี้เอาไปบด แห้งแข็งมันจะเกิดรูพรุนมหาศาลเหมือนรังผึ้งเป็นรูปวงแหวน 8 เหลี่ยม เป็นซ้อนเป็นเลเยอร์ เป็นชั้นๆ เหมือนรังผึ้งทำให้อุ้มน้ำอุ้มปุ๋ยดูดซับเกาะประจุต่างๆที่แลกเปลี่ยน ส่วนใหญ่แล้วถ้าเป็นของเมืองนอกจะเป็นกระจุลบก็จะจับตรึงแลกเปลี่ยนประจุบวก จึงเรียกว่าค่า C.E.C. เราก็จะเอาลาวาพวกนี้มาปรับ ประยุกต์ใช้ ทีนี้ในหินแร่ภูเขาไฟธรรมดา บางทีแร่ธาตุที่มีความสำคัญหลักๆอย่างเช่นฟอสฟอรัสกับพวกโพแทสเซียมอาจจะน้อย เราจึงคิดพัฒนาสูตรใหม่หรือเรียกว่าฟอมูเรตใหม่ตามภาษาวิชาการก็คือเอา Buy product จากปุ๋ยแห่งชาติเมื่อก่อนจะมีบริษัทปุ๋ยแห่งชาติที่ชื่อว่าฟอสโฟยิปซัม ฟอสโฟยิปซัมเป็นเหมือนยิปซัมสังเคราะห์แล้ว คือเขาจะเอากรดฟอสโฟลิกแอซิดมาทำปฏิกิริยากับพวกฟอสเฟต เพื่อให้ได้ปุ๋ยฟอสฟอรัสตัวกลาง ไปทำเป็นปุ๋ยเคมี ก็คือจะต้องสกัดจากแร่ธรรมชาติเหมือนกัน ก็จะได้ Buy product ออกมาเป็นฟอสโฟยิปซัม จะแตกต่างจากยิปซัมซัลเฟต แคลเซียมซัลเฟตธรรมดา เอาฟอสโฟยิปซัม 50% และก็เอาภูไมท์ 50% มารวมกันเป็นภูไมท์ซัลเฟต ทำให้มีความโดดเด่นเรื่องฟอสฟอรัส ธาตุหลัก แต่ไม่มีไนโตรเจนเหมือนเดิมแต่ฟอสฟอรัสจะมากขึ้น แคลเซียม โพแทสเซียม เหล็ก ทองแดง แมงกานีสก็จะเน้นในเรื่องทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์เรื่องสารอาหารพร้อมต่อการเจริญเติบโตและตัวฟอสโฟยิปซัมยังมีคุณสมบัติพิเศษที่จะช่วยทำให้ดินนั้นโปร่งฟูและร่วนซุยถ้าถามว่าจะใช้อะไรดีระหว่างภูไมท์กับภูไมท์ซัลเฟต เมื่อกี้ตอบไปแล้วว่าถ้าเราต้องการจะปลูกพืชให้มีการเจริญเติบโตที่ดี ก็ต้องยืนพื้นไปที่ภูไมท์ซัลเฟตถุงสีเหลือง ส่วนภูไมท์ซัลเฟตถุงสีแดงเขาเอาไว้แก้ดินด่างอย่างเดียว สีเหลืองใช้ได้ทุกพืช ทุกสภาพดิน เพื่อให้มันเจริญเติบโตงอกงาม ดินโปร่ง ฟู ร่วนซุย แต่ถ้ามีปัญหาข้าว ยกตัวอย่างข้าวจะได้เข้าใจง่าย สมมุติว่าใช้ภูไมท์ซัลเฟตรองพื้นตอนเตรียมเทือก 20-40 กิโลกรัม ต่อไร่ คือ 1-2 กระสอบต่อไร่ ใช้ไปแล้วปรากฏว่าดินตรงนั้นเราหมักตอซังฟางข้าว ใช้ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก เยอะ พืชมันอวบอ้วนอ่อนแอเฝือใบงามใบแสดงว่าปุ๋ยไนโตรเจนมันมากกว่าภูไมท์เรา ภูไมท์ซัลเฟต ตรงนี้แหละเมื่อก่อนเขาจะใช้ภูไมท์ถุงสีขาวไปหว่าน เพราะเป็นหินภูเขาไฟเพรียวๆ เอาไปหว่านเพื่อดูดซับจับตัวไนโตรเจนส่วนเกิน แล้วเมื่อกี้บอกไปแล้วว่าภูไมท์ถุงขาวซิลิก้ามันเยอะ แต่ถุงเหลืองมันถูกเอาไป 50% แล้วก็ใส่ฟอสโฟยิปซัมไป 50% ภูไมท์ถุงขาวมีซิลิก้าเยอะใส่ไปเมื่อกี้มันอวบอ้วนอ่อนแอก็ต้องใส่ถุงสีขาวเข้าไปจับตรึงปุ๋ยยูเรียไนโตรเจน ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก ค่อยๆลดมันลงมา และซิลิก้าที่มากก็ทำให้ข้าวใบแข็งตั้งชูสู้แสงได้ดี สรุปก็คือภูไมท์กับภูไมท์ซัลเฟตสีเหลืองแตกต่าง ภูไมท์เอาไว้จับผสมปุ๋ย 1 ลูกต่อปุ๋ยเคมี 2 ลูก เพื่อเน้นการทำให้ปุ๋ยเป็นปุ๋ยละลายช้า มีซิลิก้าที่สูงกว่าภูไมท์ซัลเฟตถุงสีเหลืองเอาไว้ช่วยต้นพืชที่อวบอ้วนอ่อนแอ ตรงไหนที่เจอเฝือใบงามใบ บ้าใบ อวบอ้วน อ่อนแอให้เอาภูไมท์สีขาวไปพรม ส่วนภูไมท์ซัลเฟตถุงสีเหลืองใช้รองพื้นในทุกกรณี จะรองก้นหลุมปลูกมะระ ฟักแฟง แตงกวา บวบ ลองกอง มังคุด ทุเรียนอะไรใช้ภูไมท์ซัลเฟตถุงสีเหลืองรองพื้น ปลูกกับดินทุกชนิดเพื่อให้รากเดินดี ไม่ขัดสมาธิ ดินไม่แข็งและก็เติมเต็มสารอาหารความอุดมสมบูรณ์ และทั้ง 2 ตัวนี้ไม่มีไนโตรเจน ต้องใช้ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก ก็จะทำให้การทำเกษตรอินทรีย์เกษตรปลอดสารพิษเราก็ต้นทุนจะลดน้อยถอยลง ลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีได้ เพราะว่ามาจากแร่ธรรมชาติมีอาหารมากเพียงพอก็ฝากไว้เท่านี้

มนตรี  บุญจรัส

ชมรมเกษตรปอลดสารพิษ www.thaigreenagro.com

×